วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกEXCLUSIVEการใช้ LNG ในเอเชียจะขยายตัวถึง 75% ของ“แหล่งพลังงานก๊าซใหม่”ในปี 2583
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

การใช้ LNG ในเอเชียจะขยายตัวถึง 75% ของ“แหล่งพลังงานก๊าซใหม่”ในปี 2583

ทิศทางอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในปีพ.ศ.2567 จากการเปิดเผยของบริษัท เชลล์ จำกัด (มหาชน) ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่สำคัญของตลาด LNG ทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 50% ภายในปีพ.ศ.2583 จากปัจจัยหนุนหลายประการ โดยเฉพาะการเปลี่ยนมาใช้ LNG แทนถ่านหินของอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการใช้พลังงาน

LNG มีบทบาทสำคัญในการเสริมพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเฉพาะในประเทศที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนสูง การมี LNG เป็นส่วนเสริมในการผลิตพลังงานในช่วงที่พลังงานหมุนเวียนขาดความต่อเนื่อง ช่วยให้สามารถรักษาความยืดหยุ่นในระยะสั้น และความมั่นคงในระยะยาวของอุปทานได้ บริษัท เชลล์ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมพลังงานระดับโลก ได้ร่วมแบ่งปันมุมมองและข้อมูลอัพเดต Shell’s LNG Outlook 2024 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความต้องการและความสำคัญของ LNG ที่มีผลต่อความมั่นคงทางพลังงาน การช่วยลดการปล่อยคาร์บอน รวมถึงการคาดการณ์แนวโน้มและโอกาสเติบโตของ LNG ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในงาน FUTURE LNG ASIA : Accelerating Innovation to Drive Asia’s Energy Transition เมื่อไม่นานมานี้

เจฟเฟอร์สัน เอ็ดเวิร์ดส

เจฟเฟอร์สัน เอ็ดเวิร์ดส รองประธานกรรมการอาวุโส Global Market Analytics, Shell LNG Marketing and Trading กล่าวย้ำถึงความสำคัญของ LNG ในภูมิภาคเอเชียว่า แม้ LNG จะคิดเป็นสัดส่วนเพียง 14% ของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ใช้ทั่วโลกในปัจจุบัน แต่ก็มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน และช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไปพร้อมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติภายในประเทศของหลายประเทศเริ่มลดลง ทำให้มีการคาดการณ์ว่า LNG จะคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 75% ของแหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติใหม่ทั้งหมดของเอเชียไปจนถึงพ.ศ. 2583 และจะแซงหน้าการผลิตก๊าซในประเทศในเอเชียในฐานะแหล่งพลังงานหลักของเอเชียที่ใหญ่ที่สุดในปีพ.ศ.2573″

“การที่ LNG ได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากประเทศในแถบเอเชียมีการลงทุนด้านพลังงานลมและแสงอาทิตย์จำนวนมากจนนำไปสู่สัดส่วนของการผลิตไฟฟ้าแบบผันแปรที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องอาศัยการผลิตไฟฟ้าที่มีความมั่นคงเพื่อสร้างความเสถียรให้กับโครงข่ายไฟฟ้า เมื่อพิจารณาจากการปล่อยคาร์บอนเป็นจำนวนมากจากการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินทั่วเอเชีย จึงทำให้ LNG เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของกระบวนการการผลิตไฟฟ้า” เอ็ดเวิร์ดส กล่าว

จากรายงาน LNG Outlook 2024 ของเชลล์ระบุว่า ในปีพ.ศ.2566 ที่ผ่านมา การค้า LNG ทั่วโลกมีปริมาณสูงถึง 404 ล้านตัน และเป็นการเพิ่มขึ้นจากปีพ.ศ.2565 ที่มีปริมาณ 397 ล้านตัน การเพิ่มขึ้นนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าตลาดกำลังขยายตัว แต่ก็ต้องเผชิญกับความตึงตัวของอุปทาน ที่ส่งผลต่อระดับราคาและความผันผวนของราคาที่ยังคงสูง เมื่อเทียบกับในอดีต โดยจีนมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนความต้องการ LNG ในทศวรรษนี้ เห็นได้จากความพยายามของอุตสาหกรรมจีนที่พยายามลดการปล่อยคาร์บอน โดยเปลี่ยนจากการใช้ถ่านหินมาเป็นก๊าซ

นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติทางท่อจากรัสเซียไปยังยุโรปได้ลดลงอย่างมากในปีพ.ศ.2565 ส่งผลให้ยุโรปต้องพึ่งพา LNG เป็นหลักในการรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งการสร้างสถานีแปรสภาพก๊าซธรรมชาติเหลวแห่งใหม่ช่วยให้ยุโรปมีแหล่งอุปทานที่หลากหลายมากขึ้น

การเติบโตของตลาด LNG ทั่วโลกนับเป็นสัญญาณที่ดีของการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมพลังงาน ที่เน้นย้ำถึงบทบาทด้านการลดการปล่อยคาร์บอนและการใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img