วันจันทร์, มิถุนายน 17, 2024
หน้าแรกNEWS"บิ๊กป้อม"ยันไทยพร้อมร่วมประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง กำชับทุกหน่วยร่วมแก้ปัญหาน้ำ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“บิ๊กป้อม”ยันไทยพร้อมร่วมประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง กำชับทุกหน่วยร่วมแก้ปัญหาน้ำ

“บิ๊กป้อม”ยืนยันทยพร้อมร่วมประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 เตรียมคลอดมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 กำชับทุกหน่วยร่วมแก้ปัญหาน้ำทุกมิติ

เมื่อเวลา 9.30 น. วันที่ 2 มี.ค.66 ที่มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ครั้งที่ 1/2566 และประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 1/2566 โดยมีนายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมทรัพยากรน้ำ กรมประมง เป็นต้น เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยครั้งแรกของปีนี้ เพื่อให้คณะกรรมการรับทราบความก้าวหน้าของงานที่สำคัญของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง โดยเฉพาะการประชุม

สุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ในวันที่ 5 เมษายน 2566 ณ เมืองเวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งจะมีสาระสำคัญ คือ การประกาศปฏิญญาเวียงจันทน์ ค.ศ. 2023 ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายของประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ในการมุ่งเน้นการดำเนินงานตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 

พล.อ.ประวิตร กล่าวอีกว่า ทั้งนี้มีแนวคิดหลักในการเสริมสร้างนวัตกรรมและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประเทศคู่เจรจา หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาและหุ้นส่วนอื่นๆ เพื่อความมั่นคงด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง โดยปฏิญญาเวียงจันทน์จะเป็นนโยบายสำหรับการดำเนินการของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงต่อไป โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบและเห็นชอบตามที่ สทนช. เสนอในหลักการของร่างปฏิญญาฯ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมกันนี้ ได้ให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการเพื่อสนับสนุนการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ต่อไป

จากนั้นในเวลา 10.45 น. รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าสำหรับฤดูฝนที่จะมาถึงนี้ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบ (ร่าง) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 จำนวน 12 มาตรการ ซึ่ง สทนช. ได้นำผลจากการถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูฝน ปี 65 มาปรับปรุงให้เกิดความครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และให้เสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พิจารณาโดยเร็วต่อไป 

พล.อ.ประวิตร มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับมาตรการอย่างเคร่งครัด พร้อมกันนี้ ได้รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 65/66 ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ประกอบกับการลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำในทุกภูมิภาคของประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่า ทุกหน่วยงานได้ดำเนินการตามมาตรการที่วางไว้อย่างเคร่งครัดและร่วมมือกันปฏิบัติงานกันอย่างเต็มที่ ส่งผลให้สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม บรรเทาปัญหาความเดือนร้อนให้ประชาชนเป็นอย่างมาก 

พล.อ.ประวิตร กำชับให้หน่วยงานติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงต้องมีการวางแผนและเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำในทุกมิติ ทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วมและคุณภาพน้ำ ไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน

ด้านเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบันแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ ที่ประชุมจึงเห็นชอบให้เสนอ กนช. พิจารณาแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ปี 66 ของลุ่มน้ำ ประกอบด้วย 1) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 2) แผนปฏิบัติการของหน่วยงานภายใต้มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 66 3) แผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของหน่วยงาน และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูฝน ปี 66 ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำพิจารณาใช้เป็นแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม ปี 66 ใช้ไปพลางก่อน 

“นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ที่ประชุมได้มอบหมายให้หน่วยงานเตรียมโครงการให้สามารถดำเนินการได้ทันที เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลางเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว”เลขาธิการ สทนช. กล่าว.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img