วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 13, 2024
หน้าแรกHighlight“ธนกร''ย้ำไม่เห็นด้วยยกโทษคนหมิ่นสถาบัน เป็นการเหยียบย่ำหัวใจคนไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ธนกร”ย้ำไม่เห็นด้วยยกโทษคนหมิ่นสถาบัน เป็นการเหยียบย่ำหัวใจคนไทย

“ธนกร“ ค้าน “ปิยบุตร” ชี้ แค่ปลายเหตุนิรโทษฯคนผิดม.112 ย้ำไม่เห็นด้วยยกโทษคนหมิ่นสถาบัน เป็นการเหยียบย่ำหัวใจคนไทยมากไป จี้ แก้ไขตรงจุดต้นเหตุ คนบิดเบือนใส่ข้อมูลเท็จ-เบื้องหลังเยาวชนดีกว่า ลั่น ต้องไม่ดึงสถาบันฯ มาเกี่ยวข้องการเมือง

เมื่อวันที่ 17 พ.ค.67 นายธนกร วังบุญคงชนะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สส.แบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายปิยะบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจและรัฐบาลตรากฎหมายนิรโทษกรรม โดยรวมคดีผู้กระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าด้วย หลังเกิดเหตุ “บุ้ง ทะลุวัง“ เสียชีวิตในเรือนจำ โดยอ้างว่าคดีนี้มีแรงจูงใจจากการเมือง ว่า ส่วนตัว ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว “บุ้ง” ด้วย เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แต่ตนก็ไม่เห็นด้วยกับทั้งการแก้ไขมาตรา 112 รวมถึงการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดในคดีมาตรา112 ดังกล่าว เพราะถือเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และย้ำมาโดยตลอด ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงขอคัดค้านหากมีผู้เสนอให้รวมคดีนี้ เป็นคดีการเมือง เพราะมาตราดังกล่าวถือเป็นความมั่นคงของชาติที่ต้องมีไว้ปกป้องประมุขแห่งรัฐ ซึ่งผู้ใดจะละเมิดมิได้ ซึ่งควรมุ่งไปแก้ไขที่ต้นเหตุ คือผู้ที่ให้ข้อมูลบิดเบือน และอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวมากกว่า หากไม่มีผู้ใหญ่กลุ่มนี้ คอยยุยง ส่งเสริมให้ข้อมูลผิดๆ คงไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น

เมื่อถามว่า กลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวต้องการให้มีการแก้กฎหมายเกี่ยวกับการประกันตัวนั้น นายธนกร กล่าวว่า กฎหมายให้สิทธิขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องหาตามกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งในกรณีของ “บุ้ง” นั้น ต้องแยกส่วน เรื่องศาลถอนประกันกับการประกาศอดอาหาร เป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งการถอนประกัน ตนเชื่อว่า ศาลมีการวินิจฉัยที่รอบคอบพิจารณาจากหลักฐานและพฤติการณ์การกระทำความผิดซ้ำหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นดุลยพินิจของศาล ตนไม่ขอก้าวล่วง

ทั้งนี้ตนเห็นด้วยที่ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมมีคดีที่มาจากแรงจูงใจทางการเมือง มีข้อสรุปออกมาค่อนข้างชัดเจนแล้ว ว่า เรื่องการกระทำความผิดตามป.อาญาม.112 นั้น ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย การจะนิรโทษกรรม ควรเป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง ทั้งที่เป็นแกนนำและมวลชนที่ร่วมชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน หากเป็นคดีที่ไม่ร้ายแรง ก็เข้าข่ายได้รับการนิรโทษกรรมได้

“คนที่พูดกล่าวหา ให้ร้ายดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำผิดมาตรา112 แบบซ้ำซาก หากมีการเหมารวมยกเข่งนิรโทษกรรมให้คนเหล่านี้ ถือเป็นการ เหยียบย่ำหัวใจคนไทยมากเกินไป เพราะกฎหมายนี้ มีไว้ปกป้องประมุขของประเทศไม่ให้ถูกละเมิด เชื่อว่า ถ้านิรโทษฯให้ไม่มีใครรับได้แน่นอน” นายธนกร กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img