วันจันทร์, มิถุนายน 17, 2024
หน้าแรกHighlightอุตุฯเตือนส.ค.-ต.ค.เกิดฝนตกหนักสุดขั้ว กรมชลฯสั่งรับมือเข้ม-ไม่เหมือนปี54แน่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อุตุฯเตือนส.ค.-ต.ค.เกิดฝนตกหนักสุดขั้ว กรมชลฯสั่งรับมือเข้ม-ไม่เหมือนปี54แน่

“กรมอุตุฯ” ฟันธงพายุเข้าไทย 2 ลูก รวมทั้งมีมรสุมจากอ่าวไทย-อันดามัน ช่วงเดือนส.ค.-ต.ค. เตือนอาจเกิดฝนตกหนักแบบสุดขั้ว เหมือนหลายประเทศในเวลานี้ ด้าน “อธิบดีกรมชลฯ” สั่งทุกสำนักชลประทานเตรียมพร้อมรับมืออย่างเข้มงวด เพื่อลดผลกระทบประชาชน ยืนยันไม่เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 54 แน่

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.67 ที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน สามเสน นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยน.ส.กรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และนายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน รวมแถลงข่าว “สรุปการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/67 พร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2567” ผ่านระบบ VDO Conference และ Facebook Live กรมชลประทาน

นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สั่งการให้สำนักงานชลประทาน 1-17 เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝนที่กำลังจะเกิดขึ้นอบย่างเข้มงวด อย่าชะลาใจ เพราะขณะนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนจาก “เอลนีโญ” เป็น “ลานีญ่า” แล้ว ซึ่งจะมีฝนตกมาก ตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จนถึงตุลาคม แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นจะไม่เกิดน้ำท่วมเหมืนเช่นปี 2554 เพราะปัจจุบันมีเครื่องหมายมือที่ทันสมัย ในการคาดการณ์ประเมินน้ำฝนที่จะไหลลงสู่ลำน้ำ และสามารถควบคุมการระบายได้ รวมทั้งได้ปรับปรุงสถานีสูบน้ำต่างๆ ทั้งฝั่งตะวันตก และตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้สามารถระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยได้อย่างรวดเร็ว และนอกจากนี้ยังมีพื้นที่แก้มลิงไว้ตัดยอดน้ำที่ทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก กว่า 2.5 แสนไร่ และพื้นที่ลุ่มต่ำ 10 ทุ่งเจ้าพระยา ซึ่งทั้ง 2 พื้นที่นี้สามารถตัดยอดน้ำได้มากว่า 1,500 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งมากกว่าการเก็บน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เท่ากับว่าเรามีเขื่อนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเขื่อน

นายชูชาติ กล่าวต่อว่า อีกทั้งยังได้กำชับสำนักงานชลประทานทุกแห่ง ซ่อมแซมอาคารชลประทาน กำจัดสิ่งกีดขวาง กำหนดจุดพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ 1,267 จุด ให้นำเครื่องไม้เครื่องมือไปติดตั้ง เพื่อบรรเทาอุทกภัยได้ทันท่วงที และให้เตรียมพร้อมเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ 5,382 หน่วยไว้ทั่วประเทศแล้ว ทั้งยังสั่งให้พร่องน้ำในเขื่อนต่างๆ ไว้เตรียมรองรับน้ำฝน เช่น เขื่อนแม่งัด จ.เชียงใหม่ ที่ขณะนี้มีปริมาณน้ำสูงถึง 80-90% ก็ให้เร่งพร่องน้ำ ซึ่งน้ำก็ไม่ได้ไปไหนจะไหลไปลงเขื่อนภูมิพล จ.ตาก และเขื่อนขนาดใหญ่ 35 แห่งทั่วประเทศ และเขื่อนขนาดกลาง จะสามารถรับน้ำฝน 3.5 หมื่นล้าน ลบ.ม.

“ปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการณ์ว่าจะมีพายุเข้าไทย 1-2 ลูก ซึ่งขอยืนยันให้ประชาชนมั่นใจว่า ไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเหมือนปี 2554 โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง และกรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังได้คาดการณ์ปริมาณน้ำเพื่อสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง ปี 2567/68 ใช้สำหรับการเพาะปลูกนาปี 17 ล้านไร่ และนาปรัง 8 ล้านไร่” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

ด้านน.ส.กรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ปรากฏการณ์ขณะนี้ได้เข้าสู่ลานีญ่าแล้ว จะทำให้ปริมาณฝนเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 20% หากแยกเป็นรายภาค ได้แก่ ภาคอีสาน 22% ภาคกลาง 39% ภาคใต้ 16% และปริมาณฝนจะตกมากช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม และสิงหาคม-ตุลาคม ฝนจะตกชุก ซึ่งอาจจะเกิดปรากฏการณ์ฝนตกหนักสุดขั้ว ซึ่งเกิดขึ้นมาในหลายๆ ประเทศแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมพร้อมรับมือ เพราะมีแนวโน้มหลายพื้นที่จะเกิดฝนตกแบบสุดขั้ว ในระหว่างพายุเคลื่อนเข้าไทย 1-2 ลูก ช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม เพราะประเทศไทยไม่ได้มีฝนมากจากพายุอย่างเดียว ยังมีฝนจากลมมรสุมจากอ่าวไทย และอันดามัน รวมทั้งล่องฝน และความกดอากาศต่ำ ที่จะเป็นปัจจัยทำให้เกิดฝนตกแบบสุดขั้วได้ ซึ่งการประเมินลักษณะสภาพอากาศที่เกิดขึ้น ทางกรมอุตุฯ สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าถึง 15 วัน ที่จะสามารถแจ้งเตือนประชาชนได้

ขณะที่นายเดช เล็กวิชัย รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ภาพรวมของสถานการณ์น้ำในแหล่งเก็บน้ำทั่วประเทศมี 4.1 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าปี 2566 จำนวน 3% ที่มีอยู่ 4.4 ล้าน ลบ.ม. และคาดการณ์ว่า ปริมาณฝนในปีนี้จะใกล้เคียงกับปี 2553 ซึ่งทางรัฐบาล และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้เห็นชอบให้กรมชลประทานเตรียมพร้อม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ประเมินสถานการณ์น้ำล่วงหน้า สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนอย่างทันเหตุการณ์ และยังได้วางมาตรการจักการน้ำฤดูฝน เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอใช้ไปจนถึงฤดูแล้ง ปี 2567/68 รวมถึงวางแผนป้องกันอุทกภัย เพื่อลดผลกระทบ และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชนให้ได้มากที่สุด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img