วันอังคาร, มิถุนายน 18, 2024
หน้าแรกHighlight“เพื่อไทย”ย้ำยังดัน“เศรษฐา”ชิงนายกฯ มั่นใจได้เสียงสมาชิกรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เพื่อไทย”ย้ำยังดัน“เศรษฐา”ชิงนายกฯ มั่นใจได้เสียงสมาชิกรัฐสภาเกินกึ่งหนึ่ง

‘เพื่อไทย’ ย้ำดัน ‘เศรษฐา’ ชิงนายกฯ มั่นใจเสียงหนุนเกินกึ่งหนึ่ง ส่วนตำแหน่งในครม.จะคุยหลังได้นายกฯ

เมื่อวันที่ 14 ส.ค.66 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กลาาวถึงความคืบหน้าในการรวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลว่า ขณะนี้เรามั่นใจว่าเสียงที่จะสนับสนุนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค พท. เกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาแล้ว และเสียงของสว. ที่เราได้รับสัญญาณจากหลายๆ ฝ่าย ก็เห็นว่าส่วนมากก็ได้แสดงท่าทีที่จะโหวตสนับสนุนแคนดิเดตของพรรค พท. ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เราขอขอบคุณ

เมื่อถามว่า สรุปแล้วพรรคของ 2 ลุงเราจะมีการไปเทียบเชิญมาร่วมรัฐบาลด้วยหรือไม่ นายประเสริฐ กล่าวว่า ขณะนี้หากพรรคใดที่จะมาร่วมสนับสนุนแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค พท. เราก็ไม่ได้ปิดโอกาสเหมือนที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่นายไผ่ ลิกค์ สส.กำแพงเพชร ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะสนับสนุนแคนดิเดตพรรค พท. แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ยังพอมีเวลาอยู่ อีกระยะ ทั้งนี้ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ก็ยังไม่ได้มีการนัดวันประชุมเพื่อโหวตนายกฯ

เมื่อถามถึงกระแสข่าวที่มีบางฝ่ายมองว่าควรดันน.ส.แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี แทนนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี นายประเสริฐ กล่าวว่า จริงๆ เราได้มีการพูดคุยกันแล้วว่า จะเป็นนายเศรษฐา และพรรคก็พูดหลายครั้งแล้วว่า เป็นชื่อนายเศรษฐา ฉะนั้นคิดว่าไม่มีการเปลี่ยนอะไรแล้ว

เมื่อถามว่า มีสว. อยากให้นายเศรษฐาเข้าไปชี้แจงเรื่องต่างๆ ในสภาฯ ด้วยตนเอง มีโอกาส ที่จะให้นายเศรษฐาเข้าไปชี้แจงด้วยตนเองหรือไม่ นายประเสริฐ กล่าวว่า เรื่องการชี้แจงหากดูตามข้อบังคับ การประชุมรัฐสภาหรือเรื่องของการโหวตแคนดิเดตนายกฯที่เป็นคนนอกนั้น ข้อบังคับไม่ได้กำหนดให้ผู้ถูกเสนอชื่อต้องเข้าไปในห้องประชุม ฉะนั้น เรื่องนี้ทางประธานรัฐสภาก็ยังไม่ได้ว่าอะไรเลย เราจะฟังทางประธานรัฐสภาเป็นหลัก แต่หากยึดข้อบังคับเป็นหลักปกติแคนดิเดตนายกฯที่ไม่ได้เป็นสส. ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปในสภาฯ

เมื่อถึงความคืบหน้าในการจัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรี นายประเสริฐ กล่าวว่า ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน ขอตั้งนายกฯให้ได้ก่อน ส่วนกรณีที่มีการมองว่าต้องคุยกันเรื่องตำแหน่งให้ชัดเจนก่อนที่จะมีการโหวตนายกฯนั้น ตนเข้าใจว่าเป็นอย่างไร แต่การจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนี้เป็นสถานการณ์พิเศษ ซึ่งเมื่อเราตั้งนายกฯเรียบร้อยแล้ว เรื่องต่างๆ จะมีการพูดคุยกันด้วยดี สำหรับกรณีที่พรรคเก่าจำเป็นต้องคุมกระทรวงเดิมหรือไม่นั้น เป็นเพียงแค่แนวคิด ส่วนการปฎิบัติตนขอยังไม่แสดงความคิดเห็น.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img