วันอังคาร, มิถุนายน 18, 2024
หน้าแรกNEWSการเมือง"จาตุรนต์"ชี้Home isolationไม่สวยหรูอย่างที่คิด แนะสร้างศูนย์พักคอย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“จาตุรนต์”ชี้Home isolationไม่สวยหรูอย่างที่คิด แนะสร้างศูนย์พักคอย

“จาตุรนต์”ระบุHome isolation ไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด แนะควรสร้างศูนย์พักคอยให้ชุมชนช่วยดูแล ชี้ช่วยแก้สาธารณสุขล่ม

เมื่อวันที่ 9 ส.ค.นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์ข้อความระบุว่า จากรักษาตัวที่บ้าน (home isolation) ถึงศูนย์พักพิงในชุมชน (community isolation)โลกแห่งความเป็นจริงไม่สวยหรูอย่างที่พูดกัน.ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทีมแพทย์อาสาและผู้สนใจทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และได้ร่วมหารือกับผู้นำท้องถิ่นและผู้ทำงานกู้ภัยบางคนในเรื่องการรับมือกับโควิด19 ได้ข้อมูลที่น่าสนใจเมื่อประมวลเข้ากับการติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งจากทางราชการและจากภาคประชาชนทำให้ได้ข้อคิดที่น่าจะเป็นประโยชน์–

ผู้นำท้องถิ่นบางคนล่าว่า มีผู้ติดเชื้อที่เข้าระบบ home isolation แล้วก็ได้รับการดูแลดีพอสมควร มีคนคอยสอบถามอาการและติดต่อทางโรงพยาบาลให้ ที่ป่วยแล้วหายก็มีอีกคนหนึ่งเล่าว่าบางบ้านมีผู้ติดเชื้อรักษาตัวอยู่ที่บ้าน แต่เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ไม่เปิดเผยข้อมูลให้คนอื่นรู้ กว่าจะรู้ก็ติดกันไปอีกหลายคนมีรายหนึ่งติดเชื้ออยู่บ้านมาหลายวัน ต่อมาไปโรงพยาบาลรักษาจนอาการดีขึ้น โรงพยาบาลให้กลับบ้านมารักษาตัวต่อที่บ้าน อยู่มาได้อีกไม่กี่วันอาการก็หนักขึ้น ต้องไปโรงพยาบาลอีกแล้วในเวลาสั้นๆ ก็เสียชีวิตผู้นำท้องถิ่นรายนี้ยังสะท้อนว่า คนต่างจังหวัดบ้านเล็กๆ เสียส่วนใหญ่ มีบางบ้านอาจจะแยกกันอยู่คนละชั้น

แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องอยู่ด้วยกัน ติดกันง่าย ฟังดูก็คล้ายชุมชนจำนวนมากในกรุงเทพฯบางคนติดเชื้ออยู่บ้านมาระยะหนึ่ง พออาการหนักขึ้นต้องการรักษาที่โรงพยาบาล ได้รับแจ้งว่าต้องเริ่มนับหนึ่งเข้าระบบใหม่หมด กว่าจะตรวจกว่าจะรู้ผล และกว่าจะได้รับการรักษาเสียเวลาไปหลายวันผู้นำท้องถิ่นอีกคนสะท้อนว่า ในละแวกนั้นมีประชากรแฝงมาก ไม่รู้ใครเป็นใคร เป็นแรงงานข้ามชาติก็ไม่มีใครดูแล ติดเชื้อรักษาตัวอยู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่นจึงไม่รู้สภาพปัญหาอีกปัญหาหนึ่งที่สะท้อนก็คือ กว่าผู้ติดเชื้อจะได้ยา ต้องรอนานมาก เจ้าหน้าที่มักพูดคล้ายๆ กันว่าต้องมีอาการมากๆ ก่อนจึงจะได้ยา

ผู้นำท้องถิ่นคนหนึ่งบอกว่า มีหลานอยู่ในกรุงเทพฯ รักษาตัวอยู่บ้าน ไอเป็นเลือดแล้ว ไม่รู้จะไปรักษาตัวที่ไหน ก็ประสานทุกช่องทางจนในที่สุดก็ได้โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในวันต่อมาเมื่อหนักมากแล้วหัวหน้าหน่วยกู้ภัยในกรุงเทพฯ เล่าว่า พบผู้เสียชีวิตในบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจ การให้ผู้ติดเชื้ออยู่บ้านทำให้บางบ้านติดเชื้อกันทั้งบ้าน 10 กว่าคน 20 กว่าคนก็มีคุณหมออาสาเล่าให้ฟังว่าในแต่ละวันก็ใช้โทรศัพท์ดูแลคนไข้โควิดอยู่หลายคน ที่อาการไม่หนักก็พอช่วยไปได้ บางรายหนักแล้ว แต่ไม่สามารถช่วยให้เข้าระบบได้ ที่เจอปัญหาคือคนไข้ติดต่อ 1330 ไปแล้ว รอหลายวันไม่มีการติดต่อกลับฟังแล้วก็รู้สึกว่า home isolation ไม่ได้สวยหรูอย่างที่พูดๆ กัน ที่มีแนวคิดกันว่าการรักษาตัวที่บ้านจะช่วยลดภาระของระบบสาธารณสุข เอาเข้าจริงๆ อาจจะไม่เป็นอย่างนั้น ที่สำคัญนอกจากเข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุขแล้ว ยังมีปัญหาการติดเชื้อในบ้าน ซึ่งกำลังเป็นแหล่งแพร่เชื้อ ติดเชื้ออันดับต้นๆ ด้วย

ยิ่งมีการตรวจน้อยผู้ติดเชื้อจำนวนมากก็แพร่เชื้ออยู่ในบ้าน—Community isolation แนวทางดี ที่ยังขาดการมีส่วนร่วม—เท่าที่หารือกันหลายๆ ฝ่าย เห็นคล้ายๆ กันว่าการสร้างที่พักคอยหรือศูนย์พักพิงในชุมชน น่าจะเป็นทางออกที่ช่วยดูแลผู้ติดเชื้อและป้องกันการแพร่ระบาดได้ดีกว่า home isolation ซึ่งผู้นำท้องถิ่น (คงจะเป็นบางจังหวัด) ก็ได้รับแจ้งคำสั่งแนวทางในการใช้งบประมาณของท้องถิ่นจากทางจังหวัดแล้วแต่ฟังจากผู้นำหลายๆ คนก็จะพบว่า ท้องถิ่นมีความพร้อมแตกต่างกันมาก ทั้งในเรื่องรายได้และงบประมาณของแต่ละท้องถิ่นต่างกัน ความเข้าใจของผู้เกี่ยวข้องที่จะสนับสนุนร่วมมือก็ต่างกันบางท้องถิ่นหลายตำบลที่มีความพร้อมการสร้างศูนย์พักคอยหรือศูนย์พักพิงก็คืบหน้าไป

แต่โดยรวมๆ แล้วยังไม่ค่อยมีการสร้างความเข้าใจให้เห็นความจำเป็นในการส่งเสริมให้ชุมชนช่วยดูแลกันเอง วัดหลายวัดสร้างที่พักพิงขึ้น แต่บางวัดก็กลัวคนจะไม่มาทำบุญ ไปขอใช้โรงเรียน ผู้ปกครองกลัวลูกจะติดเชื้อก็ไม่อยากให้ใช้โรงเรียน ผู้นำชุมชน เช่น กลุ่มสตรี แม่บ้าน แพทย์แผนโบราณหรือชมรมสมุนไพร ยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วม บางพื้นที่บอกว่าแม้แต่ อสม. ก็ไม่ถูกเรียกใช้งาน การสร้างศูนย์พักพิงจึงก้าวหน้าไปไม่เร็วนัก ไม่เพียงพอที่จะรับผู้ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องการการกักตัวที่มีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างที่มีการหารือกันอยู่ ผู้ร่วมประชุมคนหนึ่งก็ส่งข้อความมาให้ดูกันเป็นข้อกำหนด 10 กว่าข้อในการสร้างศูนย์พักคอย หลายคนฟังแล้วก็รู้สึกว่าทางราชการมีแต่ห้ามโน่นห้ามนี่ ไม่มีความคิดจะส่งเสริมจริงจัง–

-ลด home isolation เพิ่ม community isolation

ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายเท่าที่รับฟัง แลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นพบว่า ยังมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการกักตัวหรือรักษาตัวที่บ้านไม่มาก ทำให้ระบบสาธารณสุขอาจจะไม่สามารถเห็นปัญหาได้ชัดเจนจากสภาพสังคมที่บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของคนส่วนใหญ่ไม่เอื้ออำนวย home isolation ก็อาจกลายเป็นการถูกทอดทิ้งอยู่ที่บ้าน ติดกันไปติดกันมาทั้งบ้านและเข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข ยิ่งประเทศไทยมีการตรวจหาผู้ติดเชื้อน้อยมากอย่างที่เป็นอยู่ โอกาสที่จะมีการแพร่เชื้ออยู่ในบ้าน จึงยิ่งมีมากทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ผู้ที่กักตัวหรือรักษาตัวที่บ้านที่ได้รับการดูแลก็ดีไป แต่อาจจะมีอีกจำนวนมากที่ต้องเจอกับปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข กว่าจะมาถึงระบบสาธารณสุขก็ป่วยหนักเสียแล้ว แทนที่ home isolation จะช่วยลดความต้องการใช้เตียงหรือห้องกลายเป็นเพิ่มความต้องการมากขึ้นเสียอีกการส่งเสริมให้มีการดูแลรักษาในชุมชน สร้างที่พักคอยหรือศูนย์พักพิงเป็นทิศทางที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาระบบสาธารณสุขล่มได้ดีวิธีหนึ่ง

แต่แนวทางนี้จะเกิดผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความเข้าใจร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายในชุมชน หากรัฐบาลและระบบราชการยังไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ยังคิดแต่จะออกคำสั่ง ข้อห้ามกฎระเบียบ โดยไม่เห็นคุณค่าของการร่วมมือจากชุมชนและประชาชนแล้ว บทบาทของชุมชนก็อาจไม่เกิดขึ้นทั้งๆ ที่มีศักยภาพ การจะทำให้ชุมชนมีบทบาท ซึ่งกำลังเป็นเงื่อนไขสำคัญในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิดจะเกิดขึ้นได้ก็คงต้องอาศัยการทำความเข้าใจกันเองของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ข้าราชการ บุคลากรทางสาธารณสุข ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำตามธรรมชาติ อสม. อาสาสมัครต่างๆ และประชาชนผู้ที่เป็นทุกข์เป็นร้อนทั้งหลาย ช่วยกันผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันขึ้น โดยไม่ต้องรอรัฐบาลที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะเข้าใจเรื่องนี้เสียที

ขอบคุณเพจ จาตุรนต์ ฉายแสง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img