วันพุธ, มิถุนายน 26, 2024
หน้าแรกHighlight“เรืองไกร”ร่อนหนังสือถึง“เศรษฐา” เตือนปมกู้ 5 แสนล้านแจกดิจิทัลชอบหรือไม่?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เรืองไกร”ร่อนหนังสือถึง“เศรษฐา” เตือนปมกู้ 5 แสนล้านแจกดิจิทัลชอบหรือไม่?

“เรืองไกล”ร่อนหนังสือถึง “เศรษฐา” เตือนปมกู้ 5 แสนล้านแจก ว่าจะเข้าข่ายฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หรือไม่

เมื่อวันที่ 12 พ.ย.66 นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยถึงกรณีที่นายกฯเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงข่าวเมื่อวันที่ 10 พ.ย. เกี่ยวกับการจะออก พ.ร.บ.กู้เงินมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในวงเงิน 5 แสนล้านบาทว่า  การที่นายเศรษฐา พูดถึงเพียงมาตรา 53 เท่านั้น ไม่น่าจะครบถ้วนถูกต้อง เพราะการจะออกกฎหมายกู้เงินดังกล่าว ซึ่งเป็นกฎหมายการเงิน ที่มีทั้งข้อกฎหมายและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเกี่ยวข้องอีกมาก ตนเห็นว่า เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อเงินแผ่นดินที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา จึงต้องทำหนังสือเตือนถึงนายเศรษฐาเพื่อให้ทราบถึงข้อกฎหมายและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปตรวจสอบการจะตราพระราชบัญญัติกู้เงิน ดังกล่าว มาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนั้น ว่าจะเข้าข่ายฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หรือไม่ คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในฐานะผู้ลงมติในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ หรือไม่  ดังนี้

ข้อ 1 เมื่อวันที่ 10 พ.ย.  เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาลได้ลงข่าวหัวข้อ “เศรษฐา” เดินหน้า Digital Wallet อัดฉีดเงินเข้ากระเป๋าประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ พร้อมแจงที่มาของงบฯ ย้ำชัด ไม่ทำให้เกิดเงินเฟ้อ

ข้อ 2 การที่นายเศรษฐา กล่าวว่า “… ซึ่งตนมั่นใจว่า จะได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภา และเป็นไปตามมาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561  …” นั้น จึงต้องไปดูพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 53 ให้เข้าใจโดยถ่องแท้ ซึ่งบัญญัติว่า “มาตรา 53 การกู้เงินของรัฐบาลนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ให้กระทรวงการคลังกระทำได้ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายที่ตราขึ้นเป็นการเฉพาะและเฉพาะกรณีที่มีความจําเป็นที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติ ของประเทศ โดยไม่อาจตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน กฎหมายที่ตราขึ้นตามวรรคหนึ่ง ต้องระบุวัตถุประสงค์ของการกู้เงิน ระยะเวลาในการกู้เงิน แผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ วงเงินที่อนุญาตให้ใช้จ่ายเงินกู้ และหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ การดำเนินแผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้นั้น  เงินที่ได้รับจากการกู้เงินตามวรรคหนึ่ง ให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาไว้เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ เบิกไปใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการตามที่กฎหมายกำหนดได้โดยไม่ต้องนําส่งคลัง เว้นแต่จะมีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”

ข้อ 3 เนื่องจากมาตรา 53 ดังกล่าว อยู่ในส่วนที่ 4 การก่อหนี้และการบริหารหนี้ ซึ่งมีตั้งแต่มาตรา 49 ถึงมาตรา 60 โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้องกับมาตรา 53 เกี่ยวข้องด้วย คือ มาตรา 52 มาตรา 54 มาตรา 57 มาตรา 58 มาตรา 59 ซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องทราบดีอยู่แล้ว

ข้อ 4 โดยที่มาตรา 52 บัญญัติว่า “มาตรา 52 การกู้เงินของรัฐบาล และการค้ำประกันการชําระหนี้ของหน่วยงานของรัฐ โดยรัฐบาล ให้ปฏิบัติตามที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะโดยเคร่งครัด การก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 49 รัฐบาลจะค้ำประกันการชําระหนี้นั้นไม่ได้”

ข้อ 5 ดังนั้น การจะออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นการกู้เงินของรัฐบาล จึงต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะโดยเคร่งครัด กรณีจึงควรไปพิจารณาพ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ด้วย โดยเฉพาะมาตรา 20 และมาตรา 22 ที่บัญญัติว่า“มาตรา 20 ให้กระทรวงการคลังกู้เงินได้เฉพาะเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด 

ข้อ 6 การจะออกพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาทดังกล่าว จึงควรตกอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ มาตรา 20 (2) และยังต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในมาตราต่างอีกด้วย เช่น มาตรา 62 รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด มาตรา 133 การร่างพ.ร.บ. ต่อสภา ต้องผ่านความเห็นชอบจาก ครม. สส.ไม่น้อยกว่า 20 คน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อ ในกรณีร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเงินจะเสนอต้องได้รับคำรับรองของนายกฯ มาตรา 134 ที่เป็นรายละเอียดของร่าง พ.ร.บ.การเงิน และมาตรา 140 การใช้จ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายงบประมาณรายจ่าย มาตรา 164 การบริหารราชการแผ่นดิน ครม.ต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ เป็นต้น 

ข้อ 7 ดังนั้น การจะออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงิน ที่จะต้องเห็นชอบร่วมกันในคณะรัฐมนตรี จึงไม่อาจพิจารณาเฉพาะจากมาตรา 53 แห่งพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ตามที่นายเศรษฐาแถลงข่าวเท่านั้น แต่ยังต้องอยู่ในบังคับภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและบทบัญญัติของกฎหมายในมาตราที่เกี่ยวข้องด้วย หากคณะรัฐมนตรีมีการฝ่าฝืน ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน

นายเรืองไกร กล่าวว่า กรณีตามหนังสือวันนี้ เป็นเรื่องข้อกฎหมายแทบทั้งสิ้น ที่ควรเตือนก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อเงินแผ่นดินซึ่งมีวงเงินสูงถึง 5 แสนล้านบาท กรณีนี้ จึงจำเป็นต้องส่งหนังสือเตือนถึงนายเศรษฐาเพื่อขอให้ตรวจสอบการจะตราพ.ร.บ.กู้เงิน มาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตนั้น ว่าจะเข้าข่ายฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย หรือไม่ ครม.จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในฐานะผู้ลงมติในการเสนอร่าง พ.ร.บ. หรือไม่  

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img