วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2024
หน้าแรกHighlightรัฐบาลดันสร้าง“ศูนย์ธุรกิจ EEC” สร้างงาน2แสนคน-มูลค่า1.2ล้านล้านบาท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รัฐบาลดันสร้าง“ศูนย์ธุรกิจ EEC” สร้างงาน2แสนคน-มูลค่า1.2ล้านล้านบาท

“ทิพานัน” ย้ำ “พล.อ.ประยุทธ์” สร้างศูนย์ธุรกิจ EEC–เมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะสำเร็จ ชี้ปี 2566 เปิดให้เอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ เชื่อสร้างงาน 200,000 คน ดันมูลค่าจ้างงาน 1.2 ล้านล้านบาท

เมื่อวันที่ 8 ต.ค.65 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีนโยบายในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และการเงินระดับภูมิภาคในพื้นที่ EEC โดยมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ 22 มีนาคม 2565) ได้อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เข้าใช้ประโยชน์ที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จำนวน 14,619 ไร่ ในพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ดำเนินโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ เป็น “ศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค” เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต โดยธรรมชาติ มนุษย์ และเทคโนโลยีอยู่ร่วมกันมุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) เป็นพื้นที่แห่งนวัตกรรมและคุณภาพชีวิตระดับสากลของประเทศไทยและจะเป็นเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1 ใน 10 ของโลกในปี 2580 โดยคาดว่าสามารถสร้างงานทางตรง 200,000 คน มูลค่าการจ้างงาน 1.2 ล้านล้านบาทภายในปี 2575

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า รัฐบาลโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกแบบวางโครงการดังกล่าวไว้ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ทั้ง 7 ด้าน คือ 1.Smart Economy (เศรษฐกิจอัจฉริยะ) 2.Smart Living (การดำรงชีวิตอัจฉริยะ) 3.Smart People (พลเมืองอัจฉริยะ) 4.Smart Governance (การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ) 5.Smart Energy (พลังงานอัจฉริยะ) 6.Smart Environment (สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ)

7.Smart Mobility (การสัญจรอัจฉริยะ) แบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งานและใช้ประโยชน์ออกเป็น 2 โซนคือ โซนที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม 70% กับโซนสีเขียว 30% หน่วยงานราชการในพื้นที่ สำนักงานใหญ่ของภาคเอกชน ศูนย์กลางการเงิน ศูนย์การแพทย์แม่นยำ ศูนย์วิจัยนานาชาติ ศูนย์ธุรกิจอนาคตซึ่งเกี่ยวข้องกับ EEC เป็นต้นแบบสำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ของไทยทั่วประเทศ โดยตั้งอยู่บนทำเลที่ยอดเยี่ยมจากสนามบินอู่ตะเภา เพียง 15 กิโลเมตร จากพัทยา 10 กิโลเมตร และจากกรุงเทพมหานคร 160 กิโลเมตร

น.ส.ทิพานัน กล่าวว่า ปัจจุบันปี 2565 อยู่ระหว่างการจัดเตรียมพื้นที่ และภายในปี 2566 เปิดให้เอกชนเข้าพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ส่วนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคจะเปิดให้เข้ามาพัฒนาในปี 2567 เพื่อรองรับประชากรได้ 300,000 คน และประมาณการว่าจะมีประชากรเข้ามาอาศัยเพิ่มมากกว่า 1.5 ล้านคนในอนาคต คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ( GDP) ได้กว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจะนำมาสู่การสร้างรายได้ และการจ้างงาน ถือเป็นการวางรากฐานให้เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดและยั่งยืน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img