วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2024
หน้าแรกHighlight“สศช.”หนุน“ลดดอกเบี้ย” เพิ่มสภาพคล่อง“ครัวเรือน-เอสเอ็มอี”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สศช.”หนุน“ลดดอกเบี้ย” เพิ่มสภาพคล่อง“ครัวเรือน-เอสเอ็มอี”

“ดนุชา” ห่วงการบริโภคในช่วงครึ่งปีหลังทรุด หลังหนี้ครัวเรือนพุ่ง แม้ว่ารัฐจะเร่งเบิกจ่ายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้นโยบายการเงิน-การคลังต้องสอดประสานหนุดลดดอกเบี้ยลดภาระต้นทุนประชาชน-เอสเอ็มอี

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในช่วงครึ่งปีหลังแม้ว่าจะมีงบลงทุนออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจ แต่ก็ต้องจับตาสัญญาณเศรษฐกิจหลาย ๆ ตัวที่ชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะการบริโภคที่ลดลง การซื้อสินค้าคงทนของประชาชนที่ลดลง ซึ่งสาเหตุที่สำคัญก็คือเรื่องของหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยในส่วนนี้ก็ต้องยอมรับว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบคือประชาชน และเอสเอ็มอี ซึ่งบางส่วนเริ่มมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ขณะที่เศรษฐกิจไทยนั้นเผชิญกับปัจจัยที่กดดันทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้ตามที่มีการคาดหวัง

สำหรับ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่างประเทศยังไม่แน่นอน ส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศตรงนี้ต้องเอาข้อมูลมากางดูให้ชัดเจน ถึงข้อดีข้อเสีย สิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ ให้เข้าใจว่าทำอย่างไรให้เดินหน้าไปด้วยกันได้

นอกจากนี้เห็นว่านโยบายการเงินและการคลังของประเทศต้องไปในทิศทางเดียวกัน  ฝั่งหนึ่งเป็นเรื่องการพัฒนาให้เติบโตอีกฝั่งหนึ่งเป็นเรื่องเสถียรภาพ  ซึ่งบางช่วงเวลาต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเสถียรภาพ บางช่วงเวลาต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการเติบโต การพัฒนาเศรษฐกิจ โดยปัจจุบันที่สำคัญคือการที่ทั้งสองส่วนต้องมีการหารือกัน ส่วนกรณีที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง จะไปคุยกับ ธปท.ในรายละเอียดกันก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะต้องมีการพูดคุยกัน เพื่อให้การทำงานในช่วงถัดไป มีความสอดคล้องกันมากขึ้น

ทั้งนี้ที่ผ่านมานโยบายการคลังเดินหน้าไปในหลายมาตรการแล้ว นโยบายการเงินมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ครัวเรือน และเอสเอ็มอีที่มีหนี้ในระดับสูงก็จะสามารถลดภารระในส่วนนี้ได้มากขึ้น  กลุ่มนี้ต้องการเงินลงทุนตอนนี้ไม่ใช่ธุรกิจขนาดใหญ่ แต่เป็นเอสเอ็มอีกับครัวเรือน โดยที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ก็ช่วยมาในระดับหนึ่งแล้ว แต่หากว่าทางนโยบายในภาพใหญ่ทำให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้นก็จะทำให้มีสภาพคล่องทางเศรษฐกิจของครัวเรือนและเอสเอ็มอีมีมากขึ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img