วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2024
หน้าแรกHighlight“กทพ.”เดินหน้าจ้างที่ปรึกษา 30 ล้าน ศึกษาเส้นทาง“ทางด่วน N1” ใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กทพ.”เดินหน้าจ้างที่ปรึกษา 30 ล้าน ศึกษาเส้นทาง“ทางด่วน N1” ใหม่

กทพ.” จ้างที่ปรึกษาทบทวนแนวเส้นทางสร้างทางด่วน N1 หลังเจรจากับมหาวิทยาลัยเกษตรฯไม่ลงตัวคาดใช้งบ 30 ล้าน ระยะเวลา 1 ปี

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่าขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการประกวดราคาคัดเลือกว่าจ้างที่ปรึกษาทบทวนการศึกษาความเหมาะสม ด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงินและผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ส่วนทดแทนตอน N1 วงเงินงบประมาณ 30 ล้าน

โดยคาดว่าจะได้ตัวที่ปรึกษาและเริ่มการศึกษาในเดือน มี.ค.65 มีระยะเวลาศึกษาประมาณ 1 ปีสาเหตุที่ต้องศึกษาทบทวน เนื่องจากการศึกษาความเหมาะสมโครงการเดิมที่ออกแบบเป็นทางยกระดับต่อจากทางด่วน N2 ไปตามแนวถนนงามวงศ์วานผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาแนวทางที่ 2 โดยปรับแนวเส้นทางผ่านไปทางบางบัว แล้วจึงตัดมาขนานกับดอนเมืองโทลล์เวย์และไปเชื่อม
กับทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ซึ่งมีปัญหาอุปสรรค และการเจรจากับมหาวิทยาลัยเกษตรฯ ยังไม่ได้ข้อยุติ

อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้จะเป็นการทบทวนทั้งแนวเส้นทาง ด้านวิศวกรรมเศรษฐกิจ การเงินพร้อมออกแบบ รวมถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยนำผลการศึกษาเดิมที่มี 2 ทางเลือกเดิมมาทำการประเมินความเสี่ยงข้อดี ข้อเสีย รวมไปถึงศึกษาหาทางเลือกใหม่ๆ เพิ่มเติมหากมีเพื่อให้มีข้อมูลที่ชัดเจนประกอบการพิจารณาต่อไป

สำหรับข้อมูลการศึกษาจะมีทั้งการออกแบบ วิเคราะห์ความเหมาะสม ประเมินค่าลงทุน พร้อมหาแนวทางแก้ปัญหา
ลดผลกระทบอย่างรอบด้านด้วย เช่น แนวเส้นทางยกระดับบนถนนงามวงศ์วานผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรฯ หากปรับแบบ ก่อสร้างเป็นอุโมงค์ จะมีค่าก่อสร้างเท่าไร หรือหากมีแนวทางเลือกอื่น รูปแบบ ค่าลงทุน เป็นอย่างไรการก่อสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดินตามแนวถนนงามวงศ์วานนั้น ในด้านเทคนิคก่อสร้างไม่มีปัญหา

ส่วนค่าลงทุนที่มองว่าค่อนข้างสูงนั้น หากมองมิติผลประโยชน์ด้านโครงข่ายในแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ที่สมบูรณ์ ส่งผลต่อภาพรวมของการจราจรอนาคตในระยะยาวอาจต้องมาประเมินการลงทุน 30-40 ปี จะมีความคุ้มค่าเพิ่มขึ้นหรือไม่

โดยโครงการก่อสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ในส่วนของตอน N2 และ E-W Corridor จากแยกเกษตร-นวมินทร์ เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก ระยะทาง 10.5 กม. วงเงินลงทุนกว่า 1.4 หมื่นล้านบาทนั้น ซึ่งรายงาน EIA ผ่านการอนุมัติแล้วอยู่ในขั้นตอนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะดำเนินการประมูลก่อสร้าง หากตอน N1 มีความชัดเจน เพื่อเร่งเบิกจ่ายกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFF) ให้เป็นไปตามเป้าหมาย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img