วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2024
หน้าแรกHighlight“บอร์ดค่าจ้าง”ไฟเขียวเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทั้ง77จังหวัด-ภูเก็ตเยอะสุดได้370บาท
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“บอร์ดค่าจ้าง”ไฟเขียวเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ทั้ง77จังหวัด-ภูเก็ตเยอะสุดได้370บาท

ทั่วไทยเฮ “บอร์ดค่าจ้าง” ไฟเขียวเพิ่มค่าจังขั้นต่ำทั้ง 77 จว. ภูเก็ตเยอะสุด ได้ 370 บาท “ปลัดไพโรจน์” แจงเหตุปรับให้ภูเก็ตทั้งที่ไม่ได้เสนอคตัวเลขมา เหตุเพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยว ไม่หวั่นไร้พื้นที่ค่าจ้าง 400 บาท ชี้มติไตรภาคีถือเป็นที่สิ้นสุด

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.66 ที่กระทรวงแรงงาน ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (กรรมการไตรภาคี) เพื่อพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2566 โดย นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุม โดยเริ่มการประชุมตั้งแต่เวลา 10.00-15.00 น.

เบื้องต้นข้อมูลจากที่ประชุมพบว่ามี 5 จังหวัดไม่ได้เสนอขอปรับค่าจ้างขั้นต่ำเข้ามา หนึ่งในนั้นคือ จ.ภูเก็ต อย่างไรก็ตาม การจากหารือเป็นเวลากว่า 5 ชั่วโมง จึงได้ข้อสรุป โดยนายไพโรจน์ แถลงผลการประชุมพิจารณาค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2566 ว่า ที่ประชุมมีมติให้ปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำทั้ง 77 จังหวัด ในอัตราเพิ่มขึ้น 2-16 บาท ซึ่งค่าจ้างค่าขั้นที่เพิ่มมากที่สุดคือ จ.ภูเก็ต คือ 370 เพิ่มขึ้นจาก 354 บาท หรือเพิ่มขึ้น 16 บาท และต่ำที่สุดคือ 330 บาท ใน 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา จากเดิม 328 บาท ทั้งนี้ จะมีการเสนอผลการประชุมวันนี้ไปยังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 12 ธ.ค. และจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.67

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 แบ่งออกเป็น 17 อัตรา ดังนี้

1.กลุ่มที่เพิ่มเป็น 370 บาทต่อวัน มี 1 จังหวัดคือ ภูเก็ต

2.ปรับเพิ่มเป็น 363 บาท มี 6 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ

3.ปรับเพิ่มเป็น 361 บาท มี 2 จังหวัดคือชลบุรี และระยอง

4.ปรับเพิ่มเป็น 352 บาท มี 1 จังหวัดคือนครราชสีมา

5.ปรับเพิ่มเป็น 351 บาท มี 1 จังหวัด คือสมุทรสงคราม

6.ปรับเพิ่มเป็น 350 บาท มี 6 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ขอนแก่น และเชียงใหม่

7.ปรับเพิ่มเป็น 349 บาท มี 1 จังหวัดคือลพบุรี

8.ปรับเพิ่มเป็น 348 บาท มี 3 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี นครนายก และหนองคาย

9.ปรับเพิ่มเป็น 347 บาท มี 2 จังหวัดคือกระบี่และตราด

10.ปรับเพิ่มเป็น 345 บาทมี 15 จังหวัด ประกอบด้วย กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี สงขลา พังงา จันทบุรี สระแก้ว นครพนม มุกดาหาร สกลนคร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี เชียงราย ตาก และพิษณุโลก

11.ปรับเพิ่มเป็น 344 บาท มี 3 จังหวัด คือเพชรบุรี ชุมพร และสุรินทร์

12.ปรับเพิ่มเป็น 343 บาท มี 3 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร ลำพูน และนครสวรรค์

13.ปรับเพิ่มเป็น 342 บาท มี 5 จังหวัดคือ นครศรีธรรมราช บึงกาฬ กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และ เพชรบูรณ์

14.ปรับเพิ่มเป็น 341 บาท มี 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี พัทลุง ชัยภูมิ และอ่างทอง

15.ปรับเพิ่มเป็น 340 บาท มี 16 จังหวัด ประกอบด้วยระนอง สตูล เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี มหาสารคาม ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ แม่ฮ่องสอน ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี และราชบุรี

16.ปรับเพิ่มเป็น 338 บาท มี 4 จังหวัด ประกอบด้วย ตรัง น่าน พะเยา แพร่

17.ปรับเพิ่มเป็น 330 บาท มี 3 จังหวัด คือ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

เมื่อถามถึงกรณี จ.ภูเก็ต ที่ได้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำสูงที่สุดเป็น 370 บาท ทั้งๆ ที่ไม่ได้เสนอตัวเลขเข้าที่ประชุมดัง นั้นที่ประชุมมีเหตุผลในการพิจารณาอย่างไรบ้าง นายไพโรจน์ กล่าวว่า จ.ภูเก็ต เป็นจังหวัดพิเศษ เนื่องจากมีภาคเกษตรกรรมน้อยมาก แต่มีแหล่งท่องเที่ยวเยอะที่สุด และมีอัตราการจ้างงานสูง บางธุรกิจมีการจ้างมากกว่า 400 บาทต่อวัน และอีกสาเหตุหนึ่งก็เรื่องค่าครองชีพในพื้นที่ ดังนั้น ค่าจ้าง 370 บาทต่อวัน เราคิดว่าเป็นตัวเลขที่เหมาะสม

เมื่อถามถึงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ อัตรา 400 บาท ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ นายไพโรจน์ กล่าวว่า เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นการพิจารณาในระยะถัดไป ก็คือปีถัดไป ซึ่งก็จะพยายามปรับให้ขึ้นเป็นไปตามอัตราที่กำหนดไว้คือ 400 บาท แต่ต้องทำความเข้าใจว่าการปรับค่าแรงขั้นต่ำนั้นเป็นการพิจารณาร่วมกันใน 3 ภาคี ที่ต่างก็มีเหตุผลเห็นสมควร

เมื่อถามว่า หากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง สั่งให้ทบทวนเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ จะต้องทำอย่างไร นายไพโรจน์ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ถือว่าเป็นที่สิ้นสุดแล้ว แต่หากจะมีการปรับค่าจ้างใหม่ ก็ต้องมีการพิจารณาในปีหน้า

เมื่อถามว่า ในกฎหมายไม่ได้มีการกำหนดว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำทำได้เพียงปีละครั้ง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการปรับเพิ่มอีกครั้งในปีหน้า ไพโรจน์กล่าวว่า ก็อาจจะเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามมติในที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้างด้วย ซึ่งหากจะมีการปรับเพิ่มอีกครั้งในรอบปี ทางอนุกรรมการพิจารณาค่าจ้างจังหวัด จะต้องพิจารณาหลักการและเหตุผล เพราะเราไม่สามารถขึ้นโดยคณะกรรมการค่าจ้างเพียงอย่างเดียว

เมื่อถามว่า ในการประชุมครั้งนี้มีปัญหาการปรับตัวเลขมากที่สุดในภูมิภาคใด นายไพโรจน์กล่าวว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่วันนี้ก็ถือว่าเป็นการประชุมที่เสร็จเร็วกว่ากำหนด แม้ว่าจะมีการขอเวลานอกออกไปประชุมก่อนกลับมาร่วมพิจารณาในที่ประชุม เพื่อความรอมชอมและความเห็นอกเห็นใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img