วันอังคาร, พฤษภาคม 21, 2024
หน้าแรกNEWSสธ.ชี้’’คนท้อง’’หากติดเชื้อโควิด เสี่ยงสูงเล็งบังคับ WFH 100 %
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สธ.ชี้’’คนท้อง’’หากติดเชื้อโควิด เสี่ยงสูงเล็งบังคับ WFH 100 %

เครือข่ายภาคประชาชนบุกสธ. ยื่น 4 ข้อเรียกร้องดูแลหญิงตั้งครรภ์ ให้พ้นโควิด หลังพบเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้ออันตรายเสียชีวิตสูง ขณะที่“สธ.”ชงออกข้อบังคับคนท้อง WFH 100 %

เมื่อวันที่ 27 ส.ค.64  ที่กระทรวงสาธารณสุข  เครือข่ายภาคประชาชน นำโดยนายชูวิทย์ จันทรส เลขาธิการมูลนิธิเด็ก เยาวชนและครอบครัว นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล นายศิวารินท์  จันทสิทธิ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานย่านรังสิตและใกล้เคียง เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เพื่อขอให้กระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการเร่งด่วน ป้องกันและแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด-19 พร้อมทั้งแสดงกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “ขอวัคซีนให้คนท้อง-อย่าเทอย่าทิ้งเรา” โดยมีนพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรับมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหารกรมต่างๆ รับมอบฯ

นางสาวจรีย์ กล่าวว่า เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ได้รับความเดือดร้อนจากการระบาดของโควิด -19 ทั้งการติดเชื้อ การรักษาเครือข่ายฯ บางรายติดโควิดกำลังจะคลอดก็ถูกรพ.ปฏิเสธ โดยระบุว่าเกินศักยภาพ บางรายถูกเรียกเก็บค่ารักษา รวมถึงในการทำงานนั้นสถานประกอบการยังดูแลทำงานที่ต้องพบคนหมู่มาก ดังนั้นจึงขอเสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้ 1.ขอให้กำกับดูแลรพ.ที่รับฝากครรภ์ ไม่ควรปฏิเสธการทำคลอด-รักษาหญิงตั้งครรภ์ที่ติดโควิด-19 หากเกินศักยภาพที่รพ.จะดูแลรักษาได้ ต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแล ประสานต่อ ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยและครอบครัวไปหาสถานพยาบาลเอง 2. ให้เร่งฉีดวัคซีนให้หญิงครรภ์อายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปให้มีความครอบคลุมมากขึ้นเนื่องจากพบว่าปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนไม่ถึง 3% ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตในหญิงตั้งครรภ์สูงถึง 2.5% 

3. กรณีหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด-19 เสียชีวิต หรือลูกเสียชีวิต หรือเสียชีวิตทั้งแม่ทั้งลูก รพ.ต้องจัดให้นักสังคมสังเคราะห์ประเมิน และวิเคราะห์รายกรณี เพื่อประสานการช่วยเหลือ เยียวยาสภาพจิตใจครอบครัว ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น และ 4. กระทรวงสาธารณสุขต้องเชื่อมต่อกับโรงงานต่างๆ ให้บริษัทฯ มีการตรวจคัดกรองเชิงรุกให้กับคนงานต่อเนื่องเพื่อแยกผู้ติดเชื้อฯ ออกมารักษาตามระบบป้องกันการแพร่กระจายสู่ผู้อื่น สนับสนุนให้แต่ละสถานประกอบการมี Factory isolation ที่มีมาตรฐาน โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลในการดูแลผู้ติดเชื้อ มีระบบการประสานส่งต่อคนงานที่มีอาการเริ่มรุนแรง รวมเชื่อมโยงการทำ Home  isolation ที่ถูกต้อง

นพ.โสภณ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขรับข้อเรียกร้องและเห็นด้วยทั้ง 4 ข้อ เพราะกระทรวงสาธารณสุขก็มีการประชุมเมื่อวันที่ 26 ส.ค. ก็มีการยกปัญหาการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในช่วงสถานการณ์โควิด เพราะมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าปกติถึง 2.5 เท่า และไม่ใช่แค่ชีวิตเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ จึงต้องช่วยกันดูแลดังนั้นหากป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ฝากท้องที่ไหนต้องคลอดที่นั่น หากเกินศักยภาพจะต้องดูแล ส่งต่อ สำหรับการรักษาจะใช้ยาเรมดิซีเวีย ซึ่งจะมีการกำชับให้มากขึ้นเพราะไม่อยากให้เกิดการสูญเสีย ทั้งนี้ ดีที่สุดคือการป้องกันโดยการฉีดวัคซีน ซึ่งขณะนี่หญิงตั้งครรภ์สามารถฉีดได้ที่คลีนิคต่างๆ ด้วย ส่วนเรื่องการทำงานนั้นได้มีการทำบับเบิลแอนด์ซีล อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมอนามัยได้จัดแนวทางการทำงานของหญิงตั้งครรภ์ เสนอต่อที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (ศปก.สธ.) พิจารณาออกข้อบังคับให้หญิงตั้งครรภ์ทำงานที่บ้าน (work from home) 100% จากเดิมที่เป็นเพียงมาตรการขอความร่วมมือเท่านั้น

“แต่ปัญหาคือตอนนี้อีกตั้งครรภ์มีความกลัวการฉีดวัคซีน จึงอยากจะฝากเครือข่ายฯ ให้ช่วยสื่อสารว่าวัคซีนที่จัดให้กับหญิงตั้งครรภ์นั้นมีความปลอดภัยและคุ้มค่าที่จะเข้ามารับการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังเสนอให้ทำงานที่บ้านต่อกระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งก็รับเรื่องแล้วแต่ว่าจะมีการกำหนดให้มีการปฏิบัติจริงได้อย่างไร” นพ.โสภณ กล่าว 

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ตามกฎหมายกำหนดให้โรคโควิด -19 เป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉิน สถานพยาบาลต้องให้การรักษา ปฏิเสธไม่ได้ หากเกินศักยภาพต้องดูแลประสานส่งต่อ ทั้งนี้หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุก 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ยังห้ามเรียกเก็บเงินค่ารักษาด้วย จากนี้จะมีการกำชับสถานพยาบาลเรื่องนี้มากขึ้น.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img