วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2024
หน้าแรกHighlight“สธ.”ยันฉีดวัคซีน 2 เข็ม ป้องกัน“โอมิครอน”ไม่ได้ แนะเร่งฉีดเข็ม 3
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.”ยันฉีดวัคซีน 2 เข็ม ป้องกัน“โอมิครอน”ไม่ได้ แนะเร่งฉีดเข็ม 3

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยผลตรวจภูมิจากวัคซีน 2 เข็ม ทุกสูตรกันโอมิครอนไม่ได้ แนะปชช.รีบฉีดเข็ม 3  

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แถลงว่า  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันจากวัคซีนในการป้องกันเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน โดยเก็บตัวอย่างเลือดหรือซีรั่มของผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว 8 สูตรที่ใช้ฉีดในไทย คือ 1. ซิโนแวค + แอสตร้าเซนเนก้า 2. แอสตร้าฯ + แอสตร้าฯ 3. ไฟเซอร์ 2 เข็ม 4. ซิโนแวค + ไฟเซอร์ 5.แอสตร้าฯ + ไฟเซอร์ ไม่ได้ทดสอบสูตรซิโนแวค 2 เข็ม เพราะเราเปลี่ยนสูตรมาเป็นสูตรไขว้แล้ว 6. การฉีดเข็มกระตุ้น ซิโนแวค 2 เข็ม + แอสตร้าฯ 7. ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม + ไฟเซอร์ และ 8. ฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม +ไฟเซอร์ โดยมีการเก็บตัวอย่างเลือดหลังรับวัคซีนแล้ว 2 สัปดาห์ ถือเป็นระดับที่มีภูมิคุ้มกันมากพอที่จะต่อสู้เชื้อโรคต่างๆ ได้ จากนั้นนำมาปั่นแยกน้ำเลือดออกมา แล้วนำลงไปในจานทดลองที่มีเชื้อของไวรัสโอมิครอน โดยเจือจางเป็นเท่าๆ 1 ต่อ 2 ต่อ 4 ต่อ 6 ไล่ไปเรื่อย ๆ เจือจางจนเหลือค่าไวรัสครึ่งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นระดับสุดท้ายที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ 

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ผลพบว่าภูมิคุ่มกันในเลือดเราที่เคยต่อสู้กับเดลต้าได้ค่อนข้างดี แต่เมื่อเจอกับโอมิครอนแล้วลดลงทุกสูตร อดคล้องกับข้อสันนิษฐานว่าการกลายพันธุ์ของโอมิครอนน่าจะหลบวัคซีนได้ หลายๆ ประเทศทดสอบก็ได้ผลใกล้เคียงกัน สำหรับผลจากคนที่ฉีดวัคซีน 2 เข็ม กับกลุมที่ฉีด 3 เข็ม เพื่อดูค่าไตเติลนั้น ซึ่งในส่วนของเชื้อโควิดนั้นยังไม่ทราบว่าค่าไตเติลจะต้องมี 1 ต่อเท่าไหร่ แต่ตามหลักเชื้อโรคทั่วไปจะต้องอยู่ที่ 1 ต่อ 10 ก็จะป้องกันโรคได้ ดังนั้นเมื่อผลอกมาพบว่าคนที่ฉีดวัคซีน 2 เข็มไม่ว่าจะเป็นสูตรใดก็ตามพบค่าไตเติลขึ้นมาปริ่มๆ ไม่ได้สูงมากนัก กันโอมิครอนได้ไม่มาก โดยไฟเซอร์ 2 เข็ม ขึ้นมา 19.17 แอสตร้าฯ 2 เข็ม ขึ้นมา 23.81 สูตรซิโนแวค + แอสตร้าฯ ขึ้นมา 12 สูตรซิโนแวค + ไฟเซอร์ขึ้นมา 21 และสูตร แอสตร้าฯ+ไฟเซอร์ ขึ้นมา 21 ส่วนกรณีผู้ที่ฉีดวัควีน 3 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยแอสตร้าฯ สูตรซิโนแวค 2 เข็ม ตามด้วยไฟเซอร์ หรือสูตรแอสตร้าฯ 2 เข็ม ตามด้วยไฟเซอร์ ภูมิฯ ขึ้นมาค่อนข้างดี ตั้งแต่ 71-200 เศษๆ 

อันนี้คือตัวเลขภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ แต่กลไกการต่อสู้กับเชื้อโรคนั้นไม่ได้มีแค่ภูมิในน้ำเลือดเท่านั้น แต่ยังมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่จดจำไวรัสได้ก็จะออกมาช่วยกันจัดการ เพียงแต่อันนี้เราวัดภูมิในน้ำเลือดที่จะไปลบล้างฤทธิ์ของไวรัส เมื่อเทียบการจัดการเชื้อเดลตา กับโอมิครอนนั้นลดลงไป อย่างเช่น สูตรซิโนแวค+แอสตร้าฯ เดิมเคยจัดการกับเดลต้าได้ 201 พอเป็นโอมิครอนเหลือเพียง 12 เท่ากับว่าหายไป 17 เท่า ลดลงค่อนข้างเยอะ

ดังนั้นจึงต้องมีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อให้ภูมิคุ้มกันมากพอที่จะลดการแพร่เชื้อและลดการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสูตรไหนก็ตาม ส่วนสูตรไหนจะอยู่ไหนก็ต้องติดตามต่อไป ส่วนกรณีโอมิครอนกำลังรวบรวมข้อมูลปัจจุบันอยู่และตอนนี้กำลังจะเก็บตัวอย่างคนฉีดสูตรไขว้ซิโนแวค+แอสตร้าฯ+แสตร้าฯ หรือไฟเซอร์ 

อธิบดีกรมวิทย์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อโอมิครอนสะสมเกือบ 1 หมื่นราย และให้กรมการแพทย์ติดตามว่าในจำนวนนี้รักษาหายกี่ราย อาการหนัก ปอดอักเสบกี่ราย เสียชีวิตกี่รายเพื่อดูสถานการณ์ความรุนแรงของเชื้อ ซึ่งขณะนี้พบผู้เสียชีวิตจากโอมิครอน 2 ราย โดยทั้ง 2 รายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ระบบภูมิต้านทานร่างกายปกติไม่ค่อยดีอยู่แล้ว  ส่วนคนที่เรียกร้องว่าจะไม่ฉีดนั้นตนขอยืนยันว่าวัคซีนช่วยป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

ดังนั้นก็ต้องถามสังคมว่าอยู่ด้วยกันในสังคม จะปล่อยให้คนฉีดหรือไม่ฉีดตามใจชอบ ก็จะเป็นปัญหาต่อสังคมโดยรวม ถ้าอยู่คนเดียวก้ไม่เป็นไร แต่ถ้าทำกิจกรรมร่วมกัน  ถ้าเผยแพร่มาก รอรักษาอย่างเดียว ก็ไม่ดี เพราะอาจเกิดการกลายพันธุ์ได้ เราไม่อยากเห็นพันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ขณะนี้แนวโน้มว่าจะเป็นโรคประจำถิ่น เพราะสายพันธุ์ไม่รุนแรง แต่ก็ต้องติดตามอีกสักระยะ สิ่งหนึ่งที่พบตรงกันในทีมวิชาการ คือ วัคซีนที่หวังจะฉีดปีละครั้งกรณีโควิด 19  ป้องกันไม่ได้นานขนาดนั้น ป้องกัน 1 ปีได้หรือไม่ก็ยังไม่ใช่ ยกเว้นว่าจะเป็นโรคประจำถิ่นก็อาจจะไม่ต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นบ่อยๆ อาจปีละครั้ง แต่นั่นต้องเป็นโรคประจำถิ่นที่ไม่ได้ป่วยมากขนาดนี้ ซึ่งขณะนี้ทั่วโลกยังป่วยมากอยู่.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img