วันอังคาร, พฤษภาคม 21, 2024
หน้าแรกHighlight“ปชป.”จี้ภาคปชช.ตอบ4ข้อให้เคลียร์ เจตนา“แก้รธน.”-หวั่นขยายปมขัดแย้ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปชป.”จี้ภาคปชช.ตอบ4ข้อให้เคลียร์ เจตนา“แก้รธน.”-หวั่นขยายปมขัดแย้ง

“ปชป.” จี้ภาคปชช. 4 ข้อเจตนาแก้รธน.ต้องตอบให้ชัด ส่อขัดแย้งรธน. หวั่นขยายปมขัดแย้ง

วันที่ 16 พ.ย.64 ที่รัฐสภา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปพรรค แถลงว่าการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนว่า พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนในการนำเสนอกฎหมาย ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เคยผ่านมาทั้งระบบเผด็จการรัฐสภา หรือระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ ดังนั้นการเสนอกฎหมายในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสาระบัญญัติที่เสนอโดยตรงและเกี่ยวข้องกับระบบความคิดทางการเมืองที่สำคัญของบ้านเมือง ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้ให้ตน และนายสาธิต วงศ์หนองเตย นายกนก วงษ์ตระหง่าน และนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นผู้อภิปราย

นายชินวรณ์ กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าหากจะถอดสลักทางการเมืองและสร้างเสถียรภาพทางการเมืองได้จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น แต่การเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับของประชาชนพรรคประชาธิปัตย์จำเป็นที่จะต้องตั้งคำถามต่อผู้ริเริ่มเสนอกฎหมายถึงหลักในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งหากยังมีคำถามเหล่านี้อยู่ในสังคมก็จะมีปัญหากับความขัดแย้งต่อไป จึงมีคำถามว่า 4 ประการคือ1.หลักการในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่เราใช้มา ที่เราเรียกว่าหลักการในระบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หากเรายังมีคำถามเหล่านี้อยู่ในสังคม ก็จะมีความขัดแย้งตามมา 2.การยกเลิกส.ว. ให้มีสภาเดียว ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยในไทย มีเพียงแต่ในระบอบเผด็จการเท่านั้น 3.การจัดตั้งผู้ตรวจการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการศาลยุติธรรม และผู้ตรวจการในองค์กรอิสระ การจะตั้งขึ้นมาใหม่จะขัดหรือแย้งต่อ 3 อำนาจอธิปไตยที่มีอยู่หรือไม่ 4.ที่มาขององค์กรอิสระ หากมีการเปลี่ยนแปลงโดยให้นักการเมืองเข้าไปเป็นผู้ตรวจ หรือไปสรรหา หากวันหนึ่งพรรคการเมืองมีเสียงข้างมากเป็นเผด็จการรัฐสภาจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร

“การยกเลิกคำสั่งของผู้ทำรัฐประหาร ซึ่งแน่นอนที่สุดไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เมื่อรัฐประหารกลายเป็นอำนาจรัฐฏาธิปัตย์ คำสั่งยอมมีฐานะเป็นกฎหมาย จึงอยากถามกระบวนการยกเลิกจะทำอย่างไร และสุดท้าย ผู้เสนอร่างทราบดีว่าตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ต้องใช้เสียงสว. 1 ใน 3 หรือ 83 เสียง ในการให้ความเห็นชอบในวาระหนึ่งรับหลักการ หากไม่ถึงร่างต้องตกไป แต่การเสนอยกเลิกส.ว. เป็นการตีเข้าโดยตรง จึงอยากถามว่าผู้เสนอมีความต้องการอะไร จึงเสนอลักษณะนี้ ทั้งนี้ ประชาธิปัตย์ในฐานะที่มีประสบการณ์ในการแก้ไขจะขอฟังคำชี้แจง เพื่อประกอบการตัดสินใจต่อไป” นายชินวรณ์ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img