วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2024
หน้าแรกHighlightแจง“ร้านค้า”ถอนเงินสดรอบแรกไม่ได้ ป้องกันทุจริต-ถอนได้ต้องอยู่ระบบVAT
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แจง“ร้านค้า”ถอนเงินสดรอบแรกไม่ได้ ป้องกันทุจริต-ถอนได้ต้องอยู่ระบบVAT

“คลัง” ออกโรงแจงถอนเงินสดร้านค้ารอบแรกไม่ได้ เหตุป้องกันทุจริต ย้ำร้านค้าที่ถอนเงินสดได้ต้องอยู่ในระบบภาษีแวต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาตรา 40 (8) หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคัง เปิดเผยว่า การตั้งเงื่อนไขการใช้จ่ายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ต มีส่วนสำคัญที่แตกต่างจากโครงการอื่น คือการล็อกเงินในระบบในการใข้จ่ายครั้งแรกของประชาชนกับร้านค้า ซึ่งร้านค้าจะไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ทันที โดยมุ่งหวังประโยชน์ 2 ข้อ คือ

1.การันตีได้ว่าเม็ดเงิน 500,000 ล้านบาท จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจทั้งหมด ผ่านร้านค้าขนาดเล็กในระดับอำเภอ (878 อำเภอ)

2.ลดโอกาสและแรงจูงใจของร้านค้าในการแลกเปลี่ยนเป็นเงินสด    

“การล็อกเงินในการใช้จ่ายรอบแรกก็จะเป็นการการันตีว่าตัวทวีคูณทางการคลัง (Multiplier Effect) อย่างน้อยที่สุดจะได้ 1 เท่า รวมทั้งลดโอกาสและแรงจูงใจที่ร้านค้าจะแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดให้ก็จะน้อยลง เพราะร้านค้าเองก็ไม่ได้รับเงินสดทันที”

นายลวรณ กล่าวต่อว่า การออกแบบระบบไม่ให้ร้านค้าสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดทันทีเป็นการปิดช่องโหว่ ซึ่งยอมรับว่าอาจไม่จูงใจร้านค้าขนาดเล็ก แต่เสียอย่างก็ต้องแลกกัน โดยโครงการดิจิทัลวอลเล็ตต้องการให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นจะทุจริตง่ายๆ ไม่ได้แล้ว และเงิน 500,000 ล้านบาทก็จะลงไปที่ร้านค้าขนาดเล็กทั้งหมด

ขณะที่ในรอบที่สองเป็นการใช้จ่ายระหว่างร้านค้ากับร้านค้า โดยไม่มีการกำหนดเงื่อนไขเชิงพื้นที่และขนาดร้านค้า โดยร้านค้าที่จะสามารถถอนเป็นเงินสดได้นั้นต้องเป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษี ประกอบด้วย 

1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) ผู้มีรายได้จากการประกอบธุรกิจเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี 

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร 

3.ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT) 

นายลวรณ กล่าวว่า แนวทางการพัฒนาระบบของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต จะต้องมีความฉลาดและมีการตรวจสอบซ้ำ รวมทั้งสามารถบ่งชี้เบาะแสที่ผิดปกติได้ หากมียอดการใช้จ่ายสูงผิดปกติ นอกจากนี้ยังต้องมีการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ในระดับท้องถิ่นด้วย ซึ่งรัฐบาลเองก็มีบทเรียนจากการทำโครงการที่ผ่านมา

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังได้เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายฯ ในการตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบและการกระทำที่อาจเข้าข่ายผิดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ ซึ่งมีรองผู้บังคับการตำรวจแห่งชาติ หรือผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานคณะอนุกรรมการ ซึ่งจะรับผิดชอบตรวจสอบ วินิจฉัย การเรียกเงินคืน ร้องทุกข์ กล่าวโทษ การดำเนินคดีกระทำความผิดที่เข้าเงื่อนไขได้ทันที 

“การตั้งคณะอนุกรรมการด้านการตรวจสอบฯ จะทำให้มีการตรวจสอบและรับมือกับการกระทำความผิดต่อเงื่อนไขโครงการ และสามารถดำเนินคดีได้อย่างรวดเร็ว เพื่ออุดช่องว่างของการดำเนินโครงการ

ทั้งนี้ ความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับโครงการ ดิจิทัล วอลเล็ต ตอนหนึ่งระบุว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบควรกำหนดกลไกลดความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริต ในขั้นตอนต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะประเด็นที่ปัญหาพึงคาดหมายได้ตั้งแต่เริ่มแรก เช่น

(1) แนวทางการตรวจสอบรายได้และทรัพย์สินของผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด

(2) การป้องกันการลงทะเบียนเป็นร้านค้าปลอม

(3) การกำหนดประเภทและขนาดของร้านค้าเพื่อรองรับ เงื่อนไขการใช้จ่าย

(4) ประเภทสินค้าต้องห้ามและมาตรการป้องกันในการห้ามไมให้มีการซื้อสินค้าดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพ

(5) การตรวจสอบว่ามีการซื้อขายสินค้าจริง และป้องกันไม่ให้มีการขายลดสิทธิ์ (discount) เป็นต้น

ด้วยเหตุผลและข้อสังเกตข้างต้น ธปท. จึงมีความเห็นว่า การพิจารณากรอบหลักการและรายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งเป็นโครงการที่มีรายละเอียดการดำเนินการซับซ้อน ใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาระการคลังของประเทศในระยะยาว และมีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริตในขั้นตอนต่าง ๆ ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง (Due Care) และมีกระบวนการที่ถูกต้องรัดกุม (Due Process) อย่างเต็มที่

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img