วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2024
หน้าแรกNEWSนายกฯสั่งดูแลน้ำมันปาล์มขวดแพง ระบุเป็นตามกลไกตลาดโลก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นายกฯสั่งดูแลน้ำมันปาล์มขวดแพง ระบุเป็นตามกลไกตลาดโลก

“ประยุทธ์”สั่งดูแลราคาน้ำมันปาล์มขวดหลังแพงขึ้นถึงขวดละ60กว่าบาท ชี้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก เชื่อจะดีขึ้นเพราะปรับตัวระยะสั้น

เมื่อวันที่ 10 พ.ย. นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้ เป็นไปตามกลไกตลาดโลก เนื่องจากผลผลิตปาล์มของอินโดนีเซียและมาเลเซียซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรายสำคัญออกสู่ตลอดน้อยลงมากกว่า 5% อันเป็นผลจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนายกรัฐมนตรี ได้ติดตามสถานการณ์และกำชับให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เร่งบรรเทาความเดือดร้อนของผู้บริโภค

ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์รายงานว่าได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการโรงสกัดตรึงราคาน้ำมันปาล์มดิบให้มากที่สุด และจากการสำรวจราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดในห้างค้าปลีกค้าส่งอยู่ที่ 50-53 บาท/ขวด แต่จะเป็นการปรับตัวในระยะสั้นตามภาวการณ์ของตลาดโลก และในช่วงปลายปีจะมีปริมาณน้ำมันถั่วเหลืองเข้ามาทดแทนน้ำมันปาล์มมากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับประชาชน

 อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ผลผลิตปาล์มในตลาดโลกที่ลดลงนั้นกลับส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกน้ำมันปาล์มดิบได้มากขึ้น และราคาผลปาล์มของไทยปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉลี่ยตั้งแต่เดือน ม.ค.-พ.ย 64 อยู่ที่ 6.76 บาท/กก. ขณะที่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเกษตรกรที่ผลิตปาล์มคุณภาพดีสามารถขายได้ในราคา 10 บาท/กก. ถือว่าสูงสุดในรอบ 10 ปี จากเดิมเมื่อปีที่แล้วขายได้เฉลี่ย 4.78 บาท/กก. หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 41% ทำให้ชาวสวนปาล์มได้รับประโยชน์อย่างมาก

 ส่วนกรณีที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ประกาศจะปรับราคาสุกรมีชีวิต เป็น 84 บาท/กก. ก่อนหน้านี้นั้น จากการติดตามสถานการณ์ของกระทรวงพาณิชย์พบว่าราคาซื้อขายและส่งมอบยังอยู่ที่ไม่เกิน 80 บาท/กก. ตามที่ทางกระทรวงขอความร่วมมือไว้ ส่วนราคาจำหน่ายปลีกหมูเนื้อแดงไม่ตัดแต่งอยู่ที่ 135-140 บาท/กก. ราคาจำหน่ายปลีกหมูเนื้อแดงตัดแต่งอยู่ที่ 145-150 บาท/กก. ซึ่งเป็นราคาเดียวกับปีก่อน ขณะที่หมูเนื้อแดงชำแหละในห้างค้าปลีกค้าส่ง พบว่าราคายังอยู่ที่ 119-122 บาท/กก.

นายธนกร กล่าวว่า แม้ว่าปีนี้ผลผลิตสุกรจะลดลงจากปีก่อน แต่ปริมาณเนื้อสุกรชำแหละในสต๊อกยังมีอยู่พอสมควร และเชื่อว่าจะเพียงพอกับความต้องการ โดยกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิด และจะประสานกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรนำเนื้อสุกรชำแหละเข้าไปเสริมในตลาด หรือจัดจำหน่ายหมูธงฟ้าราคาประหยัดให้กับผู้บริโภค หากช่วงใดที่ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดไม่เพียงพอ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img