วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2024
หน้าแรกNEWS“พี่ศรี”ชี้ทรัพย์สินที่พส.ได้มาขณะอยู่ในสมณเพศ ต้องตกเป็นของวัดเมื่อสึก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“พี่ศรี”ชี้ทรัพย์สินที่พส.ได้มาขณะอยู่ในสมณเพศ ต้องตกเป็นของวัดเมื่อสึก

“ศรีสุวรรณ”ชี้ทรัพย์สินที่พส.ได้มาขณะที่อยู่ในสมณเพศ ต้องตกเป็นของวัดเมื่อลาสิกขา ยกเว้นจำหน่ายจ่ายโอนไปก่อนสละสมณเพศ

จากกรณี พระมหาไพรวัลย์ พระดังจากวัดสร้อยทอง ได้เตรียมลาสิกขาบทออกจากสมณเพศ นั้น

เมื่อวันที่ 1 พ.ย.นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้โพสต์ข้อความระบุว่า ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาระหว่างเป็นพระภิกษุนั้น เป็นทรัพย์สินที่ศรัทธาญาติโยม ได้ถวายไว้แก่พระภิกษุ ในฐานะผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา ทรัพย์สินเหล่านั้น มิได้ถวายเป็นของส่วนตัวของพระภิกษุนั้น แต่ได้ถวายแด่พระภิกษุในฐานะเป็นตัวแทนพระพุทธศาสนา  ดังนั้น จึงถือว่าทรัพย์สินเหล่านั้นมิใช่ของพระภิกษุ แต่เป็นของวัด เมื่อพระภิกษุรูปนั้นมรณภาพลงไป ทรัพย์สินเหล่านั้นจึงตกเป็นของวัด ญาติพี่น้องจะเอาไปไม่ได้ ยกเว้นไว้แต่ทรัพย์สินนั้น ที่ได้มาก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และมีการจำหน่ายทรัพย์สินระหว่างยังมีชีวิตอยู่หรือทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๒๓” ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาอยู่ในสมณเพศนั้น

เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม “ และได้บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๖๒๔ “ ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้ “

เมื่อวิเคราะห์ตามมาตรา ๑๖๒๓ แล้ว ในเบื้องต้นอาจทำให้เข้าใจผิดได้ว่า ทรัพย์สินที่พระภิกษุได้มาในระหว่างอยู่ในสมณพศเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุรูปนั้น ฉะนั้น ท่านจึงสามารถจำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรมก็ได้ แต่หากพิจารณาถึงที่มาและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติให้ถ่องแท้แล้ว จะเห็นว่าหาเป็นดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้นไม่ กล่าวคือ มาตรา ๑๖๒๓ นี้มีที่มาจากกฎหมายลักษณะมรดก บทที่ ๓๖ ซึ่งตราไว้ว่า

 “มาตราหนึ่ง ภิกษุจุติจากอาตมภาพและคฤหัสถ์จะปันเอาทรัพย์มรดกนั้นมิได้เหตุว่าเขาเจตนาทำบุญให้แก่เจ้าภิกษุเป็นของอยู่ในอารามท่านแล้ว ถ้าเจ้าภิกษุอุทิศไว้ให้ทานแก่คฤหัสถ์ ๆ จึ่งรับทานท่านได้ “

ข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๖๒๓ว่า “ทรัพย์สินของพระภิกษุจะตกเป็นของวัดต่อเมื่อท่านมิได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิต หรือโดยพินัยกรรม ข้อนี้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ซึ่งผู้ทรงศีลเป็นพระภิกษุจะพึงบำเพ็ญจาคะ ทำบุญให้ทานแก่คนอื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติยกเว้นไว้ให้ท่านจำหน่ายทรัพย์สินได้ ทั้งในระหว่างชีวิตและโดยพินัยกรรม ทรัพย์ใดที่ท่านได้จำหน่ายไปแล้วเช่นนี้ ย่อมไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ประเพณีในทางปฏิบัติของพระภิกษุที่เคร่งในพระธรรมวินัย เมื่อได้จตุปัจจัยมาเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด ท่านมักจะจับสลากแจกจ่ายไปในบรรดาสามเณรและศิษย์วัด ไม่เก็บสะสมไว้ แม้ท่านจะทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์เมื่อท่านมรณภาพ ก็อยู่ในหลักการของการบำเพ็ญจาคะอยู่นั่นเอง ทางวัดจะโต้แย้งเอาเป็นสมบัติของวัดไม่ได้”   

เมื่อพิจารณาดูถึงที่มาของมาตรา ๑๖๒๓ ประกอบกับวัตถุประสงค์แล้วจะเห็นว่าทรัพย์สินที่มีผู้ให้แก่พระภิกษุในขณะอยู่ในสมณเพศนั้นกฎหมายถือว่าเป็นของที่ให้เพื่อทำบุญในพระพุทธศาสนา ไม่ได้ให้แก่พระภิกษุเป็นการส่วนตัว เพราะถ้าไม่ใช่เป็นพระภิกษุ ก็จะไม่มีคนทำบุญให้ หรือดังที่มีผู้ตั้งคำถามว่า“ถ้าไม่บวชจะได้มาหรือ”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img