วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 16, 2024
หน้าแรกHighlight''ธุรกิจโรงแรม-ที่พัก''คึกคักยอดจดทะเบียนพุ่ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”ธุรกิจโรงแรม-ที่พัก”คึกคักยอดจดทะเบียนพุ่ง

พาณิชย์เผยธุรกิจโรงแรม-ที่พักฟื้น หลังเปิดประเทศมีนิติบุคคลตั้งบริษัทใหม่จำนวน 546 ราย หลังรายได้รวมทะยานถึง 1.03 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.07 เท่า การขาดทุนลดลง 60.47%

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ธุรกิจโรงแรมและที่พักเริ่มมีสัญญาณ การฟื้นตัวหลังเปิดประเทศ เห็นได้จากอัตราการเติบโตของธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.- ก.ค.) มีนิติบุคคลตั้งใหม่จำนวน 546 ราย เพิ่มขึ้นถึง 184 ราย หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น 51%

ทั้งนี้พบว่าบริษัทขนาดเล็กที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน ครองตลาด 95.04% สะท้อนศักยภาพธุรกิจของคนตัวเล็กที่มีพลัง 3 ปัจจัยสำคัญที่บ่งชี้ว่าธุรกิจโรงแรมฯ กลับมาบูม ได้แก่

1.จำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของธุรกิจและการคลี่คลายของโควิด-19

2.การออกกฎหมายที่สามารถนำอาคาร ห้องแถว โฮมสเตย์มาให้บริการได้

3.งบการเงินชี้ธุรกิจมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น และขาดทุนลดลงจากปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจโรงแรมและที่พักเป็นโอกาสทองของเศรษฐกิจไทย มองเห็นสัญญาณผู้ประกอบธุรกิจเร่งสร้างตัว ปรับมาตรฐานการให้บริการที่สอดรับสากล พร้อมนำเทคโน โลยีมาช่วยสร้างตลาดและให้บริการที่สะดวกสบาย

สำหรับธุรกิจโรงแรมและที่พักในประเทศไทยที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลมีจำนวน 12,826 ราย คิดเป็น 1.45% ของธุรกิจทั้งหมด มีมูลค่าทุน 608,777 ล้านบาท คิดเป็น 2.86% ของธุรกิจทั้งหมด หรือ 21.47 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจรูปแบบบริษัทจำกัดจำนวน 11,359 รายคิดเป็น 88.56% มูลค่าทุนจำนวน 574,720 ล้านบาท

ส่วนข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (S) มากถึง 12,190 ราย คิดเป็น 95.04% นอกนั้นเป็นธุรกิจขนาดกลาง (M) จำนวน 514 ราย คิดเป็น 4.01% และธุรกิจขนาดใหญ่ (L) จำนวน 122 ราย คิดเป็น 0.95% จากตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและโอกาสของธุรกิจรายย่อยที่สามารถพลิกฟื้นวิกฤตธุรกิจโรงแรมและที่พักให้กลับมาเติบโตได้

นอกจากนี้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางในประเทศมากขึ้นมีผู้เข้าพักสูงถึง 71 ล้านคน รวมถึงโรงแรมและที่พักในพื้นที่ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวสูงสุดคือ กรุงเทพฯ จำนวน 15 ล้านคน เพิ่มขึ้น 120.9% และพื้นที่ในภาคใต้ จำนวน 13 ล้านคน เพิ่มขึ้น 97.7% จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2565 ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศกว่า 12.9 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ลึกไปถึง ‘ข้อมูลงบการเงิน’ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ระบุได้ว่าธุรกิจโรงแรมฯ สามารถปรับตัวเดินต่อได้เพราะรายได้รวมในปีงบการเงิน 2565 มีจำนวนเพิ่มขึ้น 103,491 ล้านบาท คิดเป็น 1.07 เท่าจากปีก่อนหน้า และเมื่อพิจารณาถึงกำไรขาดทุน พบว่า ยังมีการขาดทุนจำนวน 24,162 ล้านบาท

ซึ่งเป็นปัจจัยปกติที่มีผลจากการเผชิญวิกฤตในช่วงที่ผ่านมา แต่ประเด็นสำคัญคือ การขาดทุนที่ลดลงกว่า 60.47% จากปีก่อนหน้าเป็นสัญญาณที่ดีบ่งบอกถึงการเติบโตของธุรกิจโรงแรมและที่พักในประเทศไทย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img