วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2024
หน้าแรกHighlight"เงินบาทแข็ง" หลังดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์ร่วง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาทแข็ง” หลังดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์ร่วง

เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 35.67 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น” หลังดอลลาร์อ่อน-บอนด์ยีลด์รวง-ทองคำรีบาวด์ นักลงทุนรอผลประชุมเฟด 20 ก.ย.นี้

นายพูน  พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า  ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.67 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น”จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 35.72 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 35.65-35.76 บาทต่อดอลลาร์) ตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ (ซึ่งได้แรงหนุนจากการย่อตัวลงของทั้งบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจทยอยขายทำกำไรสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) บ้าง ก่อนรับรู้ผลการประชุม FOMC ในสัปดาห์นี้

ผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในภาวะ wait and see เพื่อรอลุ้นผลการประชุม FOMC ของเฟดในวันที่ 20 ก.ย.นี้ แม้ว่าผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่จะมองว่า เฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้และเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบันไปจนถึงช่วงเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ บรรยากาศในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังถูกกดดันจากความกังวลว่า การพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เริ่มเผชิญปัญหาอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิด Government Shutdown ได้ ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาดเพียง +0.07%

ส่วนในฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี stoxx600 พลิกกลับมาปรับตัวลงกว่า -1.13% กดดันโดยการปรับตัวลงของหุ้นเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจยุโรป หากทั้ง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อ

ขณะที่ตลาดบอนด์ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจเริ่มทยอยเข้าซื้อบอนด์ 10 ปี สหรัฐฯ มากขึ้น (รวมถึงบอนด์ 10 ปี ในประเทศอื่นๆ) ท่ามกลางมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่ประเมินว่า วัฎจักรการขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางอาจใกล้ถึงจุดสิ้นสุดลง ซึ่งมุมมองดังกล่าวได้ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงสู่ระดับ 4.30% อีกครั้ง อย่างไรก็ดี บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจยังคงแกว่งตัว sideway และถ้าหากจะลุ้นให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จะกลับมาปรับตัวลดลงได้ชัดเจน อาจต้องรอจับตา Dot Plot ใหม่ของเฟดในการประชุมเฟดสัปดาห์นี้

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ตามแรงขายทำกำไรสถานะ Long USD ก่อนที่ผู้เล่นในตลาดจะรับรู้ผลการประชุมเฟด นอกจากนี้ การย่อตัวลงบ้างของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ก็มีส่วนกดดันให้เงินดอลลาร์ย่อตัวลงบ้าง ทำให้โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ปรับตัวลงใกล้ระดับ 105 จุด (กรอบ 105-105.4 จุด)

ส่วนราคาทองคำ การย่อตัวลงบ้างของทั้งบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ และเงินดอลลาร์ ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค.) สามารถทยอยปรับตัวขึ้นจากโซน 1,945 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สู่ระดับ 1,955 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ได้อีกครั้ง ซึ่งมองว่า ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจทยอยขายทำกำไรทองคำและโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็อาจช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทได้

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของยูโรโซน ว่าจะมีความแตกต่างจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้าหรือไม่ โดยหากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ของยูโรโซน ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 5.3% ก็อาจสะท้อนว่า ECB ยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยได้ ถ้าจำเป็น ทั้งนี้มองว่า ECB อาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยแล้ว เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทยอยชะลอตัวลงกลับสู่เป้าหมายได้ในที่สุด

ขณะที่แนวโน้มของค่าเงินบาทมองว่า ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่รีบปรับสถานะถือครองก่อนจะรับรู้ผลการประชุม FOMC ทำให้ เงินบาทมีโอกาสแกว่งตัว sideway ในกรอบ อย่างไรก็ดี ปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่ายังคงมีอยู่ โดยเฉพาะแรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งสวนทางกับคาดการณ์ของเราที่มองว่า นักลงทุนต่างชาติจะทยอยกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยมากขึ้น หลังรับรู้ผลการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของไทย

ทั้งนี้เงินบาทก็อาจไม่ได้อ่อนค่าไปมาก ในช่วงก่อนรับรู้ผลการประชุม FOMC โดยผู้เล่นในตลาดบางส่วนที่ถือสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) ก็อาจรอจังหวะขายทำกำไรออกมาบ้าง ทำให้เราประเมินแนวต้านเงินบาทอาจยังไม่เกินโซน 35.80 บาทต่อดอลลาร์ และเนื่องจากเราประเมินว่า เงินบาทอาจยังไม่สามารถกลับมาแข็งค่าได้ชัดเจน จนกว่าจะรับรู้ผลการประชุม FOMC ทำให้มองว่า หากเงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง ก็อาจติดอยู่แถวโซนแนวรับ 35.50-35.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

อนึ่ง ในช่วงนี้ เรามองว่า ทุกสินทรัพย์ยังอยู่ในช่วงเผชิญความผันผวนสูง จากทั้งความไม่แน่นอนของทิศทางนโยบายการเงิน ความกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.60-35.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img