วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 16, 2024
หน้าแรกHighlight“สคค.”หั่นเป้าจีดีพีไทยโตเพียง 2.7%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สคค.”หั่นเป้าจีดีพีไทยโตเพียง 2.7%

สศค.หั่นจีดีพีโตเพียง 2.7% หลังส่งออกไทยเดี้ยงติดลบ 1.8% การบริโภคหดตัว 3.4% ขณะที่รายได้ท่องเที่ยวต่ำกว่าที่คาดการณ์จากเดิม 29.5 ล้านคนมาอยู่ที่ 27.7 ล้านคน

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สศค.ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 66 โดยลดการขยายตัวเหลือ 2.7% จากเดิมคาดจะเติบโต 3.5% ต่อปี โดยเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มองว่าจีพีดีไทยจะโต 2.8% โดยสาเหตุที่คลังปรับลดประมาณการณ์ เนื่องจากการส่งออกซึ่งเป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยติดลบ 1.8% นอกจากนี้การบริโภคภาครัฐคาดว่าจะหดตัวที่ 3.4% ในขณะที่การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะทรงตัวในระดับเดียวกับปีก่อนหน้า หลังได้รับผลกระทบจากกระบวนการจัดทำงบประมาณ รายจ่ายประจำปี 67 ที่ล่าช้า

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในไทยน้อยกว่าคาด โดยตลอดปี 66 มองว่าชาวต่างชาติจะเข้าไทยเพียง 27.7 ล้านคน คิดเป็นรายได้ 1.18 ล้านล้านบาท ลดจากเดิมที่จะเข้ามา 29.5 ล้านคน รายได้อยู่ที่ 1.25 ล้านล้านบาท เนื่องจากเศรษฐกิจจีนที่มีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งมีผลต่อตัวเลขนักท่องเที่ยวของจีนซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายของไทยให้เดินทางลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม มองว่าเงินเฟ้อจะขยายตัวในกรอบ 1.5% เนื่องจากแรงกดดันจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานลดลง ประกอบกับมีมาตรการบรรเทาค่าครองชีพประชาชนของภาครัฐ ทำให้คาดว่าเงินเฟ้อจะกลับสู่กรอบเป้าหมายได้ที่ 1-3%

ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 67 คาดว่าเศรษฐกิจจะเร่งตัวขึ้นมาที่ 3.2% ต่อปี ช่วงคาดการณ์ 2.2-4.2% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ภาคการส่งออก และภาคการท่องเที่ยว โดยจะมีชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาในประเทศ 34.5 ล้านคน ขยายตัวที่ 24.6% ต่อปี ส่งผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ เกิดการจ้างงานและเพิ่มรายได้ประชาชน โดยคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 3.1% ขณะที่การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามอุปสงค์ในตลาดโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า โดยจะขยายตัว 4.4% ต่อปี ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ทำให้การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.5% ต่อปี

อย่างไรก็ดี การประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 67 ในครั้งนี้ ยังไม่ได้รวมผลกระทบของมาตรการโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท  สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่  ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์โลกในภูมิภาคต่าง ๆ  ความผันผวนของตลาดการเงินโลก สถานการณ์เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่อาจทำให้เกิดภัยแล้งในปี 67

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img