วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2024
หน้าแรกHighlight“เงินบาทแข็ง” เงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ชะลอตัวลงตามคาด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาทแข็ง” เงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ชะลอตัวลงตามคาด

ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 34.62 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า” หลังรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ที่ชะลอลงต่อเนื่องตามคาดฉุดดอลลาร์สหรัฐอ่อน จับตารายงายอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานสหรัฐฯ -ส่งออกของไทย พร้อมเตรียมรับมือความผันผวนในช่วงปริมาณธุรกรรมในตลาดการเงินเบาบางลง

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.62 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย” จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 34.64 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาทผันผวนพอสมควร (แกว่งตัวในกรอบ 34.46-34.68 บาทต่อดอลลาร์) ตามทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์และโฟลว์ธุรกรรมทองคำ

โดยมีจังหวะเงินบาทแข็งค่าหลุดแนวรับสำคัญ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ หลังเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง ขณะเดียวกันราคาทองคำก็ปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้าน ตามรายงานอัตราเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ที่ชะลอลงต่อเนื่องตามคาด อย่างไรก็ดี เงินบาทได้พลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง หลังรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ โดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) ออกมาสูงกว่าคาด หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น พร้อมบอนด์ยีลด์ 10 ปีสหรัฐฯ กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง พร้อมกับการปรับตัวลงของราคาทองคำ

สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงปลายสัปดาห์จากรายงาน GDP ไตรมาส 3 สหรัฐฯที่ต่ำกว่าคาด และอัตราเงินเฟ้อ PCE ที่ชะลอลงต่อเนื่อง

ในสัปดาห์นี้ ควรจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาทิ ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) และรายงานยอดการส่งออก นำเข้าของไทย พร้อมเตรียมรับมือความผันผวนในช่วงปริมาณธุรกรรมในตลาดการเงินเบาบางลง

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

▪ สหรัฐฯ – สัปดาห์นี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญฝั่งสหรัฐฯ อาจมีไม่มาก ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจให้ความสนใจกับรายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด หรือ ยังสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่สดใส ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยเฟดลงบ้าง ซึ่งอาจทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นได้

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปี, 5 ปี และ 7 ปี เพื่อประเมินความต้องการถือครองพันธบัตรของผู้เล่นในตลาด โดยหากความต้องการบอนด์สหรัฐฯ กลับน้อยกว่าคาด ซึ่งอาจสะท้อนจากอัตรา Bid to Coverage Ratio (BCR) ที่ลดลงจากรอบการประมูลครั้งก่อน หรือ BCR < 2x ก็อาจทำให้บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นได้บ้าง ทั้งนี้ ตลาดการเงินสหรัฐฯ อาจเริ่มเข้าสู่ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลทั้ง คริสต์มาสและปีใหม่ ทำให้ปริมาณธุรกรรมในตลาดการเงินอาจลดลง ทว่าความผันผวนในตลาดก็อาจสูงได้ในช่วงดังกล่าว โดยเฉพาะในฝั่งตลาดค่าเงิน ที่มักจะผันผวนสูงในช่วงปลายปี

▪ เอเชีย – ตลาดคาดว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะยังคงได้รับอานิสงส์จากการขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายของผู้คน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว สะท้อนจากยอดค้าปลีก (Retail Sales) ที่จะขยายตัวราว +0.5%m/m ส่วนในฝั่งเวียดนาม นักวิเคราะห์มองว่า เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้กว่า +5.9%y/y ในไตรมาสที่ 4 สอดคล้องกับการขยายตัวต่อเนื่องของการบริโภคที่ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวที่ดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยว สะท้อนจากยอดค้าปลีกในเดือนธันวาคมที่จะโตกว่า +10%y/y นอกจากนี้ เศรษฐกิจโดยรวมยังได้แรงหนุนจากการขยายตัวกว่า +7.9%y/y ของยอดการส่งออกเช่นกัน

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2024 ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามอาจขยายตัวราว +5.8%y/y เร่งตัวขึ้นจากปี 2023 ที่อาจขยายตัวราว +5%y/y ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่มีความน่าสนใจในปี 2024 และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ บรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (Manufacturing & Services PMIs) ของจีน ในเดือนธันวาคม

ซึ่งจะช่วยประเมินแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนได้ โดยนักวิเคราะห์ต่างคาดว่า ดัชนี PMI ภาคการบริการของจีนอาจอยู่ที่ระดับ 50.3 จุด สะท้อนภาพการขยายตัวต่อเนื่องของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการบริการ ขณะที่ ภาคการผลิตอาจยังคงหดตัวอยู่ สอดคล้องกับดัชนี PMI ภาคการผลิตที่ระดับต่ำกว่า 50 จุด

▪ ไทย – นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ต่างประเมินว่า การส่งออกของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่อง หนุนโดยการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร รวมถึงสินค้ากลุ่ม Semiconductor ที่ฟื้นตัวตามวัฏจักรของ Semiconductor ซึ่งกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้ง ทำให้โดยรวมยอดการส่งออกเดือนพฤศจิกายนอาจขยายตัวได้ +5%y/y ส่วนยอดการนำเข้าก็อาจขยายตัวราว +3%y/y

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท อาจเคลื่อนไหว Sideway ไม่ห่างจากระดับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นเป้าเงินบาทสิ้นปีของเรา ไปมากนัก แต่ยังคงต้องจับตาทิศทางราคาทองคำ หลังโฟลว์ธุรกรรมทองคำยังคงส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทได้พอสมควรในช่วงนี้ อนึ่ง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจยังเป็นฝั่งขายสุทธิได้ แต่แรงขายสินทรัพย์ไทยอาจชะลอลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าพอสมควร

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น มีโอกาสแข็งค่าขึ้นบ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงออกมาดีกว่าคาดหรือบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นหลังการประมูล อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี แม้ว่าปริมาณธุรกรรมในตลาดการเงินจะน้อยลงชัดเจน ทว่าควรระวังความผันผวนในช่วงดังกล่าว โดยในอดีตที่ผ่านมา ค่าเงินบาทก็อาจแกว่งตัวในกรอบที่กว้างได้ โดยเฉพาะในช่วงวันทำการสุดท้ายของปี มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 34.35-34.85 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.50-34.70 บาทต่อดอลลาร์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img