วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2024
หน้าแรกHighlight“กนง.”จ่อขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินไหลออก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“กนง.”จ่อขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินไหลออก

นักเศรษฐศาสตร์เผยเฟดขึ้นดอกเบี้ยไม่เซอร์ไพรส์ตลาด ระวัง! เศรษฐกิจสหรัฐฯเสี่ยงถดถอย ชี้แนวโน้มเงินบาทอ่อนหลุด 37 บาทต่อดอลลาร์  คาดกนง.ขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินไหลออก

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้า นักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงิน เกียรตินาคินภัทร (KKP) เปิดเผยว่า การขึ้นดอกเบี้ย ของธนาคารกลางสหรัฐที่ 0.75% ถือว่าไม่เซอร์ไพรส์ เพราะก่อนหน้านี้ตลาดคาดการณ์อยู่แล้วว่า เฟดมีโอกาสขึ้นระดับนี้ ถึง75% ขณะที่มี โอกาสขึ้นระดับ 1% มีราว 25%

ทั้งนี้หากดูการคาดการณ์ของตลาดคาดว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด อาจขึ้นไปเรื่อยๆ ถึงระดับ 3% แล้วเฟดอาจต้องหยุดการขึ้นดอกเบี้ยเพราะ จากเดิมตลาดมองว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยไปถึงระดับ 4% จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวมากขึ้น ดังนั้นเฟดอาจไม่ขึ้นดอกเบี้ยต่อ

สำหรับประเด็นที่น่ากังกลมากในวันนี้คือเศรษฐกิจสหรัฐเพราะสหรัฐเป็นประเทศเดียวที่ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจประเทศ อื่นๆไม่แข็งแกร่ง ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งตรงนี้ทำให้เกิดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นการที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย จะลากให้ประเทศอื่นๆเร่งขึ้นดอกเบี้ยตามไปด้วย เพื่อลดส่วนต่างดอกเบี้ยดังกล่าว       

สำหรับดอกเบี้ยของไทยนั้น คาดว่าคณะกรรมการ นโยบบายการเงิน(กนง.) จะขึ้นดอกเบี้ยในวันที่ 10ส.ค.นี้ที่ 0.50% มีความเป็นไปได้ ซึ่งแน่นอนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่มากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นผลทำให้เงินทุนไหลออก และโยกสินทรัพย์ไปถือดอลลาร์มากขึ้น ซึ่งถือเป็น เรื่องปกติ เพราะนอกจากความเสี่ยงแล้ว นักลงทุนก็ต้องหาผลตอบแทนมากขึ้น

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า การที่เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ถือว่าเป็นไปตามคาด ซึ่งจะยิ่งสนับสนุนสถานการณ์เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าไปที่ระดับ 37 บาทต่อดอลลาร์แน่นอน ซึ่งคิดเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 17 ปี นับตั้งแต่ ก.ย. 2549 เพราะประเมินว่า เงินดอลลาร์ ยังแข็งค่าได้ต่อเนื่อง เพราะหากดูตั้งแต่ต้นปี ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแล้ว 11% ขณะที่เงินบาทอ่อนค่าแล้ว 9.4% 

ทั้งนี้ไม่เพียงเจอแรงกดดันจากดอลลาร์แข็งค่าเท่านั้น แต่ซ้ำยังเจอความกังวลว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจเจอภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่อาจถดถอยตามไปด้วย ดังนั้นจากความกังวงดังกล่าว อาจทำให้นักลงทุนหันไปถือครองดอลลาร์เพิ่ม  ดังนั้นการที่เงินบาทจะมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง ก็มีโอกาสเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม หากเฟดขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.75% ทำให้ดอกเบี้ยของเฟดสิ้นปีแตะ 2.5%  และหากดอกเบี้ยไทยปรับขึ้น  0.25% ในการประชุม 3 ครั้งปีนี้ คาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะไทยสิ้นปีจะขึ้นมาอยู่ที่ 1.25%  ซึ่งก็ถือว่ายังมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหากเทียบกับสหรัฐค่อนข้างมาก

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   กล่าวว่า ปัจจุบันเงินเฟ้อสหรัฐผ่านจุดพีคไปแล้วที่ 9.1% ในก.ค.ที่ผ่านมา จากทิศทางราคาน้ำมันที่เริ่ม ลดลง ดังนั้นคาดว่าก.ย.ถึงไตรมาส 4 เฟดน่าจะ ชะลอการขึ้นดอกเบี้ยลง เหลือ 0.50% และ 0.25% ในการประชุมสองรอบสุดท้ายของปีนี้ 

ทั้งนี้มองว่า เฟดจะหันกลับมาลดดอกเบี้ยในกลางปีหน้าเป็นต้นไป เพราะเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวมากขึ้น และทำให้เงินดอลลาร์มีความน่าสนใจน้อยลง และอาจอ่อนค่าได้หากเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ขณะที่ เงินบาทอาจกลับมาแข็งค่าได้ในปลายปี จากการกลับมาฟื้นตัวเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวที่กลับมามาก หนุนให้เงินบาทอยู่ในทิศทางแข็งค่าได้ ที่ระดับ 34.50 บาท ต่อดอลลาร์ 

อย่างไรก็ตามที่ยังน่าป็นห่วงคือยุโรปจะเกิดปัญหาหรือไม่ จากการขัดแย้ง กับรัสเซียในการส่งก๊าซธรรมชาติ  และประเทอื่นๆที่ใช้สกุลเงินยูโรจะมีปัญหาหรือปล่าว  หากธนาคารกลางยุโรป( ECB)  มีปัญหาหนี้สาธารณะกลับมาอีกรอบ ทำให้ความสนใจเงินยูโรลดลง หนีไม่พ้น คนอาจกังวลจนต้องกลับมาถือดอลลาร์เพิ่ม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img