วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2024
หน้าแรกHighlight“โควิด-19”ยังไม่ได้สูญหายไปไหน??? กางตัวเลขผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ในเอเชีย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“โควิด-19”ยังไม่ได้สูญหายไปไหน??? กางตัวเลขผู้ติดเชื้อระลอกใหม่ในเอเชีย

“หมอเฉลิมชัย” สะกิดเตือน “โควิด-19” ยังไม่ได้หายไปไหน ยังแฝงตัวในสังคม-ชุมชน ก่อโรคในคนเป็นระยะๆ เปิดตัวเลขคนติดโควิดระลอกใหม่ในเอเชีย แนะระมัดระวังการใช้ชีวิต ใส่หน้ากาก-รับวัคซีนเข็มกระตุ้น

เมื่อวันที่ 16 เม.ย.66 นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย ระบุว่า…โควิดระลอกใหม่กำลังก่อตัวขึ้นแล้วในทวีปเอเชีย 30% เกิดจากการติดเชื้อซ้ำ

นับจากโควิด-19 ได้เกิดการระบาดไปทั่วโลก เป็นเวลาต่อเนื่องกัน 3 ปี มีผู้ติดเชื้อนับร้อยล้านคน และเสียชีวิตมากกว่า 6 ล้านคนนั้น

หลังจากที่ไวรัสได้กลายพันธุ์จากความรุนแรงมาก มาเป็นความรุนแรงน้อย คือ Omicron ในปัจจุบัน ร่วมกับการมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและสามารถฉีดได้ครอบคลุมคนส่วนใหญ่ของโลก จึงทำให้โควิด-19 มีการแพร่ระบาดที่ลดลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในปี 2566

อย่างไรก็ตาม ไวรัสก่อโรคโควิด-19 ยังไม่ได้สูญหายไปจากโลกนี้ ยังคงแฝงตัวอยู่ในสังคมชุมชน และก่อโรคในมนุษย์เป็นระยะ

ในเดือนเมษายน 2566 สถานการณ์ล่าสุดในทวีปเอเชียพบว่า หลากหลายประเทศได้เกิดเวฟหรือระลอกใหม่ของโควิดแล้ว

สิงคโปร์ มีเคสเพิ่มขึ้นจากวันละ 1400 ราย เป็น 4000 ราย หรือเพิ่มขึ้น 2-4 เท่า

อินเดีย พบว่ามีผู้ติดเชื้อสูงสุดถึงวันละ 10,150 ราย สูงที่สุดนับตั้งแต่สิงหาคมปี 2565

อินโดนีเซีย พบ 987 รายต่อวัน สูงสุดในรอบ 4 เดือน

ส่วนเวียดนาม ก็เพิ่มเป็น 639 รายต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า

ในขณะที่ประเทศไทย ยังถือว่าค่อนข้างดี พบผู้ติดเชื้อแบบพีซีอาร์ 168 รายต่อสัปดาห์ หรือ 24 รายต่อวัน (ไม่นับผู้ที่ติดเชื้อแบบเอทีเค) รวมมีผู้ติดเชื้อสะสม 5048 รายในปีนี้ เสียชีวิต 2 รายต่อสัปดาห์ คิดเป็น 271 ราย ในปี 2566 มีผู้ป่วยปอดอักเสบครองเตียงอยู่ 19 เตียง และจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 14 เตียง

คนเมือง / cr : กสิกรไทย

ข้อมูลจากสิงคโปร์พบว่า ในจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น เป็นผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วมากถึง 30% รวมทั้งผู้ที่เคยฉีดวัคซีนเข็มสุดท้าย แต่ทิ้งระยะมานานแล้ว

กล่าวโดยสรุป

1) โควิด-19 ยังคงมีอยู่ในโลกมนุษย์

2) เชื้อไวรัส Omicron ยังคงเป็นไวรัสสายพันธุ์หลัก ที่ก่อโรคไม่รุนแรงมากนัก

3) การติดเชื้อโดยธรรมชาติ หรือการฉีดวัคซีนนั้น เมื่อเวลาผ่านไป ภูมิคุ้มกันจะลดลงเป็นลำดับ สามารถติดเชื้อซ้ำใหม่ได้ แต่อาการมักจะไม่รุนแรง

4) ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อายุมากกว่า 60 ปี หรือมีโรคประจำตัว จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี หรือเข็มกระตุ้น

5) ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน การท่องเที่ยว การใช้ชีวิต ควรระมัดระวังใส่หน้ากากอนามัยและรับวัคซีนเข็มกระตุ้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img