วันจันทร์, พฤษภาคม 27, 2024
หน้าแรกNEWSศาลรธน.รับวินิจฉัยกฎหมายป.ป.ช. ปมเอาผิดวินัยจนท.รัฐขัดรัธรรมนูญหรือไม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ศาลรธน.รับวินิจฉัยกฎหมายป.ป.ช. ปมเอาผิดวินัยจนท.รัฐขัดรัธรรมนูญหรือไม่

ศาลรธน.รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยวินิจฉัย กฎหมายป.ป.ช. ปมเอาผิดวินัย จนท.รัฐ ขัดรธน.หรือไม่ สั่งผู้เกี่ยวข้องชี้แจงภายใน 15 วัน

เมื่อวันที่ 15 ก.พ.66 ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดี จากกรณีศาลปกครองกลางส่งคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดี (นายทศพร สุวานิช) ในคดีหมายเลขดำที่  บ. 290/2564 เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ. 2561 มาตรา 98 มาตรา 99 และมาตรา 101 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง มาตรา 4 มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคห้า หรือไม่

โดยผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำโต้แย้งของผู้ฟ้องคดีแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งแต่ไม่ปรากฏว่าได้แสดงเหตุผลประกอบคำโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตรา 98 วรรคสอง วรรคสี่ และวรรคห้า ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง ประกอบกับกรณีบทบัญญัติ มาตรา 98 วรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยในคำวินิจฉัยที่ 21/2556 แล้วว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 92 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 30 ซึ่งมาตราดังกล่าวมีหลักการเดียวกันกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 98 วรรคสอง และรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 30 เป็นบทบัญญัติที่มีหลักการเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 27 จึงเป็นกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้สำหรับในส่วนรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 และมาตรา 4 เป็นบทบัญญัติในหมวด 1 บททั่วไป มิได้มีข้อความที่เป็นการคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพไว้เป็นการเฉพาะ ศาลรัฐธรรมนูญไม่จำต้องวินิจฉัยในส่วนนี้

ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ สั่งรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 วรรคหนึ่ง เฉพาะประเด็นว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 98 วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาตรา 99 และมาตรา 101 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และมาตรา 27 วรรคหนึ่งและวรรคห้า หรือไม่ พร้อมทั้งให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งสำนักงาน ศาลปกครองเพื่อแจ้งศาลปกครองกลางทราบต่อไป และเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ให้เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เลขาธิกรวุฒิสภา และ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา  จัดทำความเห็นตามประเด็นที่ศาลกำหนด และจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 98 วรรคหนึ่งและวรรคสาม มาตรา 99 และมาตรา 101  เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการดําเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img