วันเสาร์, พฤษภาคม 18, 2024
หน้าแรกHighlight"นิกร" เผยจับมือภท.ทำพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.เสร็จแล้วมี 10 มาตรา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“นิกร” เผยจับมือภท.ทำพ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.เสร็จแล้วมี 10 มาตรา

“นิกร” เผยร่วมมือภูมิใจไทยจัดทำร่างแก้พ.ร.ป.เลือกตั้งส.ส.เสร็จ 10 มาตรา ยันจำเป็นจ้องแก้พ.ร.ป.พรรคการเมือง เชื่อต้องใช้เวลาพอสมควร

วันที่ 15 ต.ค.64 นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ว่า ขณะนี้พรรคชาติไทยพัฒนา และ พรรคภูมิใจไทย ได้ยกร่างเสร็จแล้ว มีเนื้อหาที่แก้ไข ไม่เกิน 10 มาตรา โดยรายละเอียดให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเท่านั้น ส่วนกรณีที่กกต. รายงานกับนายวิษณุว่ามีการแก้ไข 30 มาตรา นั้น เชื่อว่าจะแก้ไขในประเด็นอื่นๆ ที่มีปัญหากับการบริหารงานฐานะองค์กรอิสระที่ดูแลการเลือกตั้ง หากเสนอแล้วมีเหตุผลพรรคการเมืองยินดีสนับสนุน

“การเสนอแก้ไขกฎหมายลูกเชื่อว่าจะใช้เวลาพอสมควร เพราะร่างกฎหมายลูก มีสถานะเป็นกฎหมายการเงิน เมื่อพรรคการเมืองเสนอให้ประธานรัฐสภาแล้ว ประธานรัฐสภาต้องส่งให้นายกรัฐมนตรีอนุมัติก่อน และเมื่อนายกรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว จึงจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาวาระแรก และต้องจัดการรับฟังความเห็นด้วย” นายนิกร กล่าว

นายนิกร กล่าวว่า กรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมาย ระบุว่า ยังไม่มีความเร่งด่วนที่จะแก้ไขพ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมืองให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับที่แก้ไขใหม่ ตนคิดว่าพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มีความจำเป็นต้องแก้ไข เพราะมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยระบบเลือกตั้ง โดยเฉพาะมาตรา 51(2) ที่กำหนดเนื้อหาต่อการส่งส.ส.บัญชีรายชื่อที่กำหนดให้มี 150 คน ทั้งที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่รัฐสภาเห็นชอบ กำหนดให้มี 100 คน

นายนิกร กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นในพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ยังมีเนื้อหาที่สร้างปัญหาในการปฏิบัติ คือ กรณีที่กำหนดให้มีผู้แทนพรรคการเมืองประจำเขตเลือกตั้ง เพื่อมีส่วนร่วมต่อการพิจารณาส่งผู้สมัคร ส.ส. เนื่องจากมีการปรับจำนวน ส.ส.แบบเขตเลือกตั้ง เป็น 400 เขต ทำให้ต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด เพราะของเดิมกำหนดให้มี 350 เขต ดังนั้นต้องมีการขีดเส้นแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ แต่กว่าจะทำได้ ต้องรอให้มีพระราชกฤษฎีกาประกาศให้มีการเลือกตั้งก่อน

ดังนั้นจะทำให้พรรคการเมืองมีปัญหาต่อการเตรียมพร้อม ดังนั้นจึงควรแก้ไข โดยกำหนดให้มีผู้แทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดแทนประจำเขตเลือกตั้ง เพื่อให้มีส่วนร่วมกับการเลือกตั้งขั้นต้น (ไพรมารี่โหวต) ซึ่งเนื้อหาเหมือนกับคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 13/2561 เรื่องการดำเนินการตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (เพิ่มเติม) วันที่ 14 ก.ย.2561 หรือเนื้อหาตามร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ฉบับของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img