วันอาทิตย์, พฤษภาคม 19, 2024
หน้าแรกNEWS“ปิยบุตร”ตั้ง3ข้อสังเกตคำวินิจฉัยศาลรธน.คดีล้มล้างการปกครอง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปิยบุตร”ตั้ง3ข้อสังเกตคำวินิจฉัยศาลรธน.คดีล้มล้างการปกครอง

“ปิยบุตร”ตั้ง 3 ข้อสังเกตคำวินิจฉัย ศาลรธน. คดีล้มล้างการปกครอง ยืนยันมีปัญหาไม่ชอบด้วยรธน.

เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.นายปิบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความระบุว่า ” 3 ข้อสังเกตจากผลสืบเนื่องของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดีล้มล้างการปกครองฯ

แม้ผมยืนยันว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 19/2564 มีปัญหาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่มีผลบังคับผูกพันตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 วรรคสี่ก็ตาม แต่ถ้าหากบรรดาองค์กรของรัฐต่างๆหรือฝ่ายที่สนับสนุนคำวินิจฉัยนี้ยังคงยืนยันผลบังคับผูกพันของคำวินิจฉัย เช่นนี้แล้วคำวินิจฉัยนี้จะส่งผลสืบเนื่องต่อไปอย่างไรบ้าง? ผมคาดว่าจะมีผลสืบเนื่องตามข้อสังเกต 3 ประการ

1.การใช้คำวินิจฉัยนี้เป็นฐานดำเนินคดีอาญา หรือยุบพรรคการเมืองต่างๆ จะมีการร้องรับกันไปเป็นลูกระนาด ซึ่งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญนั้นที่ว่าผูกพัน จะผูกพันเฉพาะผล เฉพาะคำบังคับ และเหตุผลหลักของคำวินิจฉัยเท่านั้น ไม่ได้หมายความเหตุผลประกอบเล็กๆ น้อยๆ ที่พรรณามาทั้งหมดผูกพันด้วย ไม่ใช่ทุกตัวอักษรผูกพันด้วย และการพิจารณาคดีอาญาก็คนละเรื่องกับคดีรัฐธรรมนูญ คดีอาญาต้องเริ่มต้นองค์ประกอบความผิด ต้องพิสูจน์กันอีก หากจะอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญพูดไว้แล้วว่ามีความผิดผูกพันทุกองค์กร ก็จะเป็นตรรกะที่ประหลาดที่สุด ถ้าเป็นเช่นนั้นประเทศนี้ก็ไม่ต้องมีศาลอะไรเลยก็ได้ มีศาลรัฐธรรมนูญเพียงศาลเดียวพอ

2.การใช้เสรีภาพในการรณรงค์ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ จะมีความคลุมเครือ การเรียกร้องยกเลิก 112 มีปัญหาว่าจะทำได้หรือไม่ ทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับจะทำได้หรือไม่ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม หากไปดูคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จะมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมการปราศรัยในการชุมนุม ไม่ใช่เฉพาะเจาะจงข้อเสนอทั้ง 10 ข้อ และไม่ได้พูดแม้แต่ประโยคเดียวว่าปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ทำไม่ได้ ดังนั้นรณรงค์ต่อไปได้ แต่ทำแล้วมีใครไปร้องก็อีกส่วนหนึ่ง แต่ทว่าหากขยายความไปจนว่าคำวินิจฉัยนี้รวมถึงห้ามเลิก ห้ามแก้ 112 หรือห้ามแก้รัฐธรรมนูญหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ นี่จะเป็นการตีความที่ขยายความเกินความเป็นจริง ตีความเหมือนศาลรัฐธรรมนูญเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่

3.การใช้เสรีภาพของสื่อสารมวลชนในการนำเสนอประเด็นปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ กรณีนี้สืบเนื่องจาก กสทช. เชิญตัวแทนสื่อพบเพื่อหารือทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือระมัดระวังนำเสนอเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ผมเห็นว่ามีปัญหาคือ ประการแรกที่จริงแล้วนี่คือ กสทช.ขอความร่วมมือแกมขู่ ไม่ได้ออกคำสั่งทางปกครองใดๆ ไม่ได้ออกระเบียบใดๆ ซึ่งใช้แบบนี้บ่อยตั้งแต่หลังรัฐประหารเป็นต้นมา ไม่ยอมมีคำสั่งชัดเจนออกมาเพราะกลัวฟ้องศาลปกครองได้ แต่ใช้วิธีนี้ให้สื่อไปคิดกันเองผลักภาระให้สื่อ ประการที่สอง กสทช. คนนี้ขยายคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกินความเป็นจริงมาก หลายเรื่องไม่ได้อยู่ในคำวินิจฉัย เสรีภาพสื่อมวลชนยังทำได้อยู่ และยิ่งสถานการณ์แบบนี้สื่อยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องแสดงบทบาท ทำให้ความเห็นต่างคลี่คลาย นั่นคือเปิดเสรีภาพให้มีการพูดคุยอย่างสันติ”

#ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ #ศาลรัฐธรรมนูญ #คดีล้มล้างการปกครอง #เสรีภาพในการแสดงออก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img