วันอังคาร, พฤษภาคม 14, 2024
หน้าแรกNEWSศาลปกครองยกฟ้อง กกต. ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.-สุโขทัย-สกลนคร ชอบด้วยกฎหมาย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ศาลปกครองยกฟ้อง กกต. ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.-สุโขทัย-สกลนคร ชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองยกฟ้อง กกต. ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง กทม.-สุโขทัย-สกลนคร ชอบด้วยกฎหมาย ชี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ รธน.

เมื่อวันที่ 7 เม.ย.  ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายกฟ้องในที่คดีที่ นายนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ว่าที่ผู้สมัครส.ส.กทม. คดีที่นายพัฒนา สัพโส ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.จ.สกลนคร  คดีที่นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ ผู้มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ในจ.สุโขทัย และคดีที่นายพัฒ  ตั้งเบญจผล ผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์จากจ.สุโขทัยยื่นฟ้องคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)กรณีขอให้เพิกถอนประกาศกกต.เรื่องแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งกรุงเทพมหานคร ,จ.สกลนคร และจ.สุโขทัย ลงวันที่ 16 มี.ค.2566  ตามลำดับ 

โดยศาลปกครองเห็นว่า เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง ต่อจำนวน ส.ส.1 คน เป็นตัวตั้ง  ทั้งในเขตพื้นที่ของ กรุงเทพมหานคร  จ.สกลนคร  และ จ.สุโขทัย ตาม ประกาศกกต.เรื่องแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งลงวันที่ 16 มี.ค.2566   จำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง ในแต่พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร  จ.สกลนคร และจ.สุโขทัย  มีจำนวนไม่มาก หรือ มีจำนวนไม่น้อย กว่าร้อยละ 10 ของค่าเฉลี่ยจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง 162,766 คน ต่อจำนวน ส.ส.1 คน  จนเกินไป การที่ กกต.ออกประกาศ กกต.เรื่องแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งลงวันที่ 16 มี.ค.2566  ในส่วนของกรุงเทพมหานคร 33 เขตเลือกตั้ง  จ.สกลนคร 7เขตเลือกตั้ง  และ จ.สุโขทัย 4เขตเลือกตั้ง จึงเป็นการประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 (5) ที่กำหนดว่า จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พึงมี โดยต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดให้มีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตใกล้เคียงกัน  จึงพิพากษายกฟ้อง

ด้านนายอรรถวิชช์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา ว่า กรณีการแบ่งเขตเลือกตั้งของกกต. ศาลพิพากษายกฟ้องก็เป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ ซึ่งครั้งนี้เห็นได้ชัดว่า กกต.สามารถใช้กำหนดระเบียบ คือการแบ่งเขตต้องแบ่งให้มีความใกล้เคียงกันแต่ตัวเลขเปอร์เซ็นต์จะแบ่งให้ได้ใกล้เคียงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่กกต.ใช้เกณฑ์ 10 เปอร์เซ็นต์ ในการมาบอกความใกล้เคียงแต่ละเขตนั้น ค่าเฉลี่ยส.ส. 1 คนต่อราษฎร ถ้าต่างกันเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเราก็สู้มาโดยตลอดว่าเกณฑ์นี้มันเป็นการละลายเขตเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าศาลพิพากษาให้เห็นชัดอีกว่าเรื่องนี้เป็นอำนาจของกกต. เรื่องการกำหนดค่าเฉลี่ย 10 เปอร์เซ็นต์ กกต.สามารถทำได้ นั่นก็เท่ากับว่าในอนาคตข้างหน้าการลงพื้นที่ของส.ส.ทุกคน ก็จะมีโอกาสถูกแบ่งพื้นที่ใหม่ได้ ดังนั้นเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหม่ของพรรคการเมือง แต่ก็แล้วแต่ว่ากกต.จะแบ่งแบบไหน

เมื่อถามว่าคำพิพากษาดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการเลือกตั้งหรือไม่ นายอรรถวิชช์ กล่าวว่า เชื่อว่าประชาชนก็คงจะสับสนว่าทำไมการเลือกตั้งเขต หรือแขวง ไปปนกับเขตใหม่ ซึ่งเหตุผลที่ตนได้นำเสนอกับศาลและกกต.ตนบอกว่าเขตเลือกตั้งทั้ง 33 เขตในกทม. มีแค่ 4 เขตเท่านั้นที่เหมือนเดิม และได้เปรียบเทียบกับการเลือกตั้งปี 2554 – 2557 ที่เป็นระบบการเลือกตั้งที่เป็นระบบการเลือกตั้งเดียวกัน แต่คำพิพากษาวันนี้ ได้ไปเปรียบเทียบกับปี 2562 ซึ่งเป็นคนละระบบเลือกตั้ง ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าว กกต.ตั้งใจมาตั้งแต่ต้น และเป็นการย้ำชัดจากคำพิพากษาว่า กกต.สามารถกำหนดเกณฑ์ 10 เปอร์เซ็นต์นี้ได้ และในอนาคต กกต.เพียงไม่กี่ท่าน สามารถกำหนดเขตอย่างไรก็ได้ตามที่กกต.เห็นควร นอกจากนั้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบการแบ่งเขตมี 4 แบบ ซึ่งแบบที่กกต.เลือกแบบที่ 1 ทั้งที่มีประชาชาชนเห็นด้วยกับรูปแบบนี้เพียงคนเดียว ขณะที่รูปแบบที่ 3 ที่ควรจะเป็นและคุ้นเคย มีประชาชนเห็นด้วยถึง 403 คน แต่สุดท้ายก็ออกตามที่กกต.เลือก แต่ถึงอย่างไรเราพร้อมสู้ทุกรูปแบบเพราะผู้สมัครของพรรคเราในเขตกทม.ก็ใหม่หมด 

“วันนี้ที่ผมมาร้องจนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษาผมไม่คิดว่าพรรคชาติพัฒนากล้า จะได้เปรียบ หรือเสียเปรียบอะไรในเรื่องนี้ แต่มันทำให้ระบบส.ส.ความเป็นผู้แทนเปลี่ยนแปลงไป” นายอรรถวิชช์ กล่าว.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img