วันอังคาร, พฤษภาคม 14, 2024
หน้าแรกHighlight''เอกชน''แนะรัฐใช้มาตรการระยะสั้น-ยาวประคอง''เศรษฐกิจ''
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”เอกชน”แนะรัฐใช้มาตรการระยะสั้น-ยาวประคอง”เศรษฐกิจ”

ส.อ.ท.แนะรัฐคลอดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นควบคู่ระยะยาว หวังพยุงธุรกิจไม่ให้สะดุด เหตุช่วงการฟื้นตัวไม่พร้อมกัน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า  การขับเคลื่อนเศรษฐ กิจในปีนี้จำเป็นต้องมีนโยบายทั้งระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากการฟื้นตัว ภาคธุรกิจ ไม่พร้อมเพรียงกัน (K-shaped recovery)  โดยมาตรการพยุงเศรษฐกิจและกำลังซื้อของครัวเรือน รวมถึงการผ่อนคลายนโยบายการเงินยังคงมีความจำเป็น  

สำหรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวควรแก้ไขโดยเร่งขึ้นทะเบียน และมีการจัดสรรวัคซีนให้ เพราะ ขณะนี้ประเทศไทยเริ่มมีปริมาณวัคซีนที่เพียงพอมากขึ้น โดยในระหว่างนี้ต้องช่วยกันรณรงค์ให้คนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนรีบมาฉีดวัคซีน เพราะอัตรา ผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ส่วนใหญ่มาจากคนที่ไม่ได้รับวัคซีน  อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนยังมองเศรษฐกิจปี 65 เป็นบวก แม้การระบาดของโอมิครอนยังอยู่ และยังมองเติบโตช่วง 3-4% ดีกว่าปี 2564 ขยายตัวระดับ 1-1.5%

แรองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจปี 65 ต้องรอติดตามผลหลังจากที่ประชาชนเดินทางท่องเที่ยว และกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพื่อประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดโอมิครอนอีกครั้ง แต่เชื่อว่าการแพร่ระบาดในรอบนี้ จะไม่รุนแรงเหมือนทุกรอบที่ผ่านมา เนื่องจากตอนนี้มีประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ใกล้ครบ 100% แล้ว แต่สิ่งที่เป็นกังวล คือ ต้องรอผลประกาศอย่างเป็นทางการว่า การฉีดวัคซีน 2 เข็ม จะเพียงพอหรือไม่


อย่างไรก็ดี รัฐบาลต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 2 และ 3 ให้กับประชาชนโดยด่วน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้บรรยา กาศทางเศรษฐกิจที่ค่อยๆ กลับมาฟื้นตัวสะดุดลงอีกครั้ง เนื่องจากในปัจจุบันผู้ประกอบการหลายรายไปกู้เงินจากธนาคารเพื่อฟื้นฟูธุรกิจอีกครั้ง แต่หากผลออกมาว่า โอมิครอนมีความรุนแรงและมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต อาจเป็นเหตุผลให้รัฐบาลต้องยกระดับ หรือกลับมาใช้มาตรการที่เข้มข้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ก็ยิ่งเป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจเข้าไปอีก

ทั้งนี้แม้หลายฝ่ายจะเริ่มมีความกังวลแล้ว แต่ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ยังไม่มีการปรับจีดีพี และการเติบโตภาคการส่งออก โดยยังคงประมาณการตัวเลขจีดีพีปี 65 ไว้ที่ 3-4.5% ส่วนภาคการส่งออก เติบโตอยู่ที่ 3-5% ซึ่งปัจจัยลบการส่งออก คือการประกาศล็อกดาวน์ของประเทศคู่ค้า อาจส่งผลถึงเรื่องการขนส่งสินค้าได้ แต่เชื่อว่ากระทบในระยะสั้นเท่านั้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img