วันอังคาร, พฤษภาคม 28, 2024
หน้าแรกHighlightผู้คนผวา‘โอมิครอน’ระบาดหนักต้นปี65 โพลชี้ชัดทุกภาคส่วนต้องร่วมแก้ปัญหา
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ผู้คนผวา‘โอมิครอน’ระบาดหนักต้นปี65 โพลชี้ชัดทุกภาคส่วนต้องร่วมแก้ปัญหา

“ซูเปอร์โพล” เผยปชช.ส่วนใหญ่หวั่น “โอมิครอน” จะแพร่ระบาดหนักในช่วงต้นปี 65 สะท้อนชัดต้องภาครัฐต้องมีมาตรการจัดการความเสี่ยงนี้ ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา ยกการ์ดให้สูง รับผิดชอบตัวเอง

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.64 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจเรื่อง “ความเสี่ยง และสิ่งท้าทายคนไทย ช่วงต้นปีใหม่ 2565” กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,128 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 6-10 ธ.ค.64 ที่ผ่านมา พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.0 ระบุความเป็นไปได้ระดับมากถึงมากที่สุดที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ในช่วงต้นปีใหม่ รองลงมาคือร้อยละ 60.7 ระบุความเป็นไปได้ระดับมากถึงมากที่สุดที่เศรษฐกิจจะตกต่ำ ร้อยละ 59.8 ระบุความเป็นไปได้ระดับมากถึงมากที่สุดที่จะมีการถอนทุนคืนของนักการเมือง ร้อยละ 53.3 ระบุความเป็นไปได้ระดับมากถึงมากที่สุด ที่จะมีการชุมนุมประท้วงวุ่นวายทางการเมือง และร้อยละ 52.4 ระบุความเป็นไปได้ระดับมากถึงมากที่สุด ที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยในหมู่ประชาชนและนักท่องเที่ยว

ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.7 ระบุจะเกิดผลกระทบระดับมากถึงมากที่สุดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ในช่วงต้นปีใหม่ รองลงมาคือร้อยละ 63.8 ระบุจะเกิดผลกระทบระดับมากถึงมากที่สุดที่เศรษฐกิจจะตกต่ำ ร้อยละ 59.1 ระบุผลกระทบระดับมากถึงมากที่สุดที่จะมีการถอนทุนคืนของนักการเมือง ร้อยละ 52.9 ระบุผลกระทบระดับมากถึงมากที่สุด ที่จะมีการชุมนุมประท้วงวุ่นวายทางการเมือง และร้อยละ 52.0 ระบุผลกระทบระดับมากถึงมากที่สุด ที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยในหมู่ประชาชนและนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ผลประเมินความเสี่ยงและสิ่งท้าทายของประชาชนช่วงต้นปีใหม่ 2565 แล้วพบว่า ทุกตัวชี้วัด ได้แก่ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” (ค่าเฉลี่ยรวม = 16.85 จากคะแนนเต็ม 25) สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ (ค่าเฉลี่ยรวม = 15.17 จากคะแนนเต็ม 25) การถอนทุนคืนของนักการเมือง (ค่าเฉลี่ยรวม = 15.17) การชุมนุมวุ่นวายทางการเมือง (ค่าเฉลี่ยรวม = 14.03) และ ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยว (ค่าเฉลี่ยรวม = 13.99)

ความหมายคือ ทุกตัวชี้วัดตกอยู่ในสภาวะความเสี่ยงสูงที่ต้องมีการออกมาตรการจัดการปัญหา เพราะทุกตัวตกอยู่ในพื้นที่สีส้มและพื้นที่สีแดง คือ มีความเสี่ยงสูงที่ไม่สามารถยอมรับความเสี่ยงได้ ต้องออกมาตรการจัดการ ยิ่งไปกว่านั้น การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ตกอยู่ในพื้นที่ สีแดง หมายความว่า ต้องออกมาตรการจัดการความเสี่ยงนี้และต้องมีการถ่ายโอนความเสี่ยงจากขีดความสามารถของประชาชนในแต่ละชุมชนไปสู่การประกันความเสี่ยงอย่างเร่งด่วน

เมื่อถามถึงข้อเสนอแนะความตื่นตัวรับมือของประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.5 ระบุทุกคน ทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือป้องกันปัญหา ยกการ์ดสูง รับผิดชอบตัวเองและสังคมมากขึ้น ภาครัฐต้องเข้มงวด กวดขันจริงจังต่อเนื่อง และมีมาตรการรับมือที่ทำความเข้าใจร่วมกัน ร้อยละ 80.2 ระบุหน่วยงานรัฐและภาคประชาชน ต้องมีส่วนร่วม สอดส่อง ตรวจสอบการโกงกิน การถอนทุนคืน และการใช้อำนาจแฝงทางมิชอบของนักการเมือง พรรคการเมือง ร้อยละ 78.8 ระบุต้องดูแลตัวเอง ดูแลครอบครัวและช่วยกันเสียสละดูแลชุมชนของตนเองให้มีความปลอดภัย และร้อยละ 54.9 ระบุมาตรการรับมืออื่น ๆ เช่น อยู่ร่วมกันต้องเคารพกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น อยู่บนความพอเพียง ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ปรับและเปลี่ยนแปลงตัวเอง ปิดเมืองและขอให้รัฐมาตรการฟื้นฟู เยียวยา เป็นต้น

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img