วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2024
หน้าแรกHighlight“โอมิครอน BA.2”ครองพื้นที่ในไทย แพร่เร็ว ดื้อวัคซีนเพิ่มขึ้น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“โอมิครอน BA.2”ครองพื้นที่ในไทย แพร่เร็ว ดื้อวัคซีนเพิ่มขึ้น

กรมวิทย์ฯเผย โอมิครอน BA.2 เริ่มยึดพื้นที่ในไทย แพร่เร็ว ในครัวเรือน 39% ดื้อวัคซีนเพิ่มขึ้น ห่วง ยาโมโนโคนอลแอนติบอดี้ใช้ไม่ได้


เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ในการเฝ้าระวังสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด -19 ของไทย ล่าสุดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการเก็บตัวอย่าง 1,900 ตัวอย่างทั่วประเทศพบว่า ไม่มีสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกรมมาเลย ส่วนสายพันธุ์เดลต้าพบเพียง 7 ตัวอย่าง ที่เหลือเป็นสายพันธุ์โอมิครอน คิดเป็น 99.6% ในส่วนของผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ หากมีการตรวจพบผลเป็นบวกก็จะเป็นเชื้อโอมิครอน

เมื่อจำแนกสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน พบว่าเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากที่สุด 51.8% ที่เหลือเป็น BA.1 ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่า BA.2 แพร่เร็วแค่ไหน แต่เรื่องความรุนแรงนั้นไม่มีความแตกต่างจาก BA.1 เบื้องต้นจากข้อมูลพบว่า BA.2 จะแพร่เร็วกว่า BA.1 ถึง 1.4 เท่า ถอดหน้ากากเมื่อไหร่ ก็มาเมื่อนั้น ซึ่งหากมี 1 คนในครอบครัวติดเชื้อ BA.2 แค่ 1 คน จะสามารถแพร่ต่อให้คนในครอบครัว 39% มากกว่า BA.1 ที่แพร่ให้คนในครอบครัว 29% ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่ BA.2 จะมาแทนที่ BA.1 และในการตรวจในคนติดเชื้อกลุ่มต่างๆ ทั้งคนที่เดินทางมาจากต่างประเทศ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ คลัสเตอร์ต่างๆ คนติดเชื้อซ้ำ และคนฉีดวัคซีนครบ เป็นต้น พบว่าในคนที่ติดเชื้อซ้ำนั้นเป็นสายพันธุ์ BA.2 ถึง 28.57%

ส่วนเรื่องการหลบวัคซีนนั้น พบว่า BA.2 มีการดื้อวัคซีนขึ้นเล็กน้อย แต่ยังไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ แต่สิ่งที่เราพบซึ่งเป็นเรื่องสำคัญคือ ยาโมโนโคนอลแอนติบอดี้ ซึ่งเป็นยารักษาโควิดที่มีราคาแพงมากนั้น ล่าสุดพบว่าสามารถรักษาโควิดสายพันธุ์อื่นได้ รวมถึงสายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.1 ได้ แต่ไม่สามารถรักษาโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 ได้ ส่วนยาตัวอื่นๆ ที่ใช้รักษาโรคโควิดในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีปัญหาอะไร.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img