วันอังคาร, พฤษภาคม 21, 2024
หน้าแรกHighlight“ภัยแล้ง”ยังเป็น“ภาพหลอน-ภาพจำ” โพลจี้รัฐบริหารจัดการหน่วยงานดิน-น้ำ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ภัยแล้ง”ยังเป็น“ภาพหลอน-ภาพจำ” โพลจี้รัฐบริหารจัดการหน่วยงานดิน-น้ำ

“ซูเปอร์โพล” ชี้ชัด “ภัยแล้ง” ยังเป็นภาพหลอน-ภาพจำของคนไทย กระทบภาคเกษตร-อุตสาหกรรม จี้รัฐแก้ปัญหาและขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการน้ำขนาดใหญ่ ขอ “บิ๊กป้อม” ขับเคลื่อนหน่วยงานดินและน้ำ

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.65 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจเรื่อง “ปัญหาภัยแล้งที่หายไป” กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,050 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 15-18 มิ.ย.65 ที่ผ่านมา

เมื่อถามถึงผลกระทบของภัยแล้งต่อประชาชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.5 ระบุมีผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ ที่เป็นปัจจัยหลักต่อการดำรงชีวิต รองลงมาหรือร้อยละ 90.5 ระบุมีผลต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะน้ำและดินเป็นวงจรเชื่อมโยงต่อกัน ร้อยละ 89.7 ระบุมีผลทำให้เกิดปัญหาต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 89.1 ระบุมีผลต่อการเกิดฝุ่นละออง การกัดกร่อนของดิน พื้นดินทรุดตัว ร้อยละ 88.7 ระบุ มีผลทางสังคม ค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเกษตรกรมีหนี้สิน ร้อยละ 87.3 ระบุมีผลกระทบต่อระบบการเกษตร ทั้งอุตสาหกรรม ราคาสินค้าสูงขึ้น กระทบส่งออกทั้งทางตรงและเศรษฐกิจของประเทศมวลรวมโดยอ้อม ในขณะที่ร้อยละ 86.5 ระบุมีผลกระทบต่อน้ำจืด มีรสเค็ม น้ำทะเลหนุน

ที่น่าพิจารณาคือ ความพอใจและความคาดหวังของประชาชน ต่อการบริหารจัดการภัยแล้ง พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 88.6 พอใจที่รัฐบาล เห็นความสำคัญ มีนโยบายและขับเคลื่อนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบอย่างจริงจังมากขึ้น ร้อยละ 78.1 พอใจกับการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งของรัฐบาล ทั้งน้ำบนดินและน้ำใต้ดิน ที่ได้ผลทั้งการจัดเก็บกักและกระจายน้ำ บรรเทาปัญหาภัยแล้ง โดยไม่มีการประกาศพื้นที่ภัยแล้งในปี 64-65 จากความร่วมมือของทุกฝ่าย

อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 88.2 ต้องการให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมทั้งเกษตรกร พัฒนาตนเองและร่วมดูแลแก้ปัญหา ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่าไปด้วยกัน ร้อยละ 81.5 คาดหวังว่า เกษตรกรและพ่อค้าคนกลาง จะไม่ฉวยโอกาส อ้างภัยแล้งและขึ้นราคาสินค้าพืชผลการเกษตร และร้อยละ 75.8 คาดหวังให้รัฐบาล เร่งขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการน้ำขนาดใหญ่ให้เสร็จเร็วขึ้น และกระจายครอบคลุม ทั้งพื้นที่ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในทุกพื้นที่

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า “ภัยแล้ง” ยังคงเป็นภาพหลอนและภาพจำของคนไทย ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและกระทบชีวิตของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ที่เป็นฐานการผลิตและส่งออกหลักที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการแก้ปัญหาและขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการน้ำขนาดใหญ่ จึงเป็นความหวังที่สำคัญของประชาชนทั้งประเทศ เนื่องจากน้ำและดิน มีความสำคัญ เชื่อมระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน และเป็นหน้าที่ความร่วมมือของประชาชนทุกคน ที่ต้องร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลปัจจุบัน ลงมาให้ความสำคัญขับเคลื่อนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เริ่มส่งผลสำเร็จบ้างแล้ว โดยไม่มีการประกาศพื้นที่ภัยแล้งมา 2 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการ พื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม เพื่อลดผลกระทบและความเสียหายของประชาชนที่เกิดขึ้น ยังเป็นโจทย์และเรื่องท้าทายที่รัฐบาลและประชาชนทุกภาคส่วน ต้องร่วมกันทำให้สำเร็จต่อไป โดยเฉพาะการขับเคลื่อนหน่วยงานดินและน้ำ ภายใต้การกำกับของรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่กำลังเป็นที่สนใจในสังคม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img