วันอังคาร, พฤษภาคม 14, 2024
หน้าแรกNEWS"อธ.ภ.4"ตรวจโครงการกำกับดูแลผู้ต้องหาจำเลย ศาลมหาสารคาม ลดคุมขังไม่จำเป็น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“อธ.ภ.4″ตรวจโครงการกำกับดูแลผู้ต้องหาจำเลย ศาลมหาสารคาม ลดคุมขังไม่จำเป็น

อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ติดตามความคืบหน้ากำกับดูแลผู้ต้องหาและจำเลยที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวพร้อมจะขยายโครงการให้ครบในพื้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากทำได้จะไม่มีคำว่า “คุกไม่ได้มีไว้ขังคนจนอีกแล้ว


วันที่ 9 ส.ค.65 ที่ศาลจังหวัดมหาสารคาม นายวิเชียร แสงเจริญถาวร อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 ติดตามการดำเนินการโครงการความร่วมมือระหว่างศาลจังหวัดมหาสารคาม กับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสำนักงานคุมประพฤติ ในการกำกับดูแลผู้ต้องหาและจำเลยที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เผยแพร่ความรู้เรื่องการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ และการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายให้เข้าถึงการได้รับการเยียวยาความเสียหายทุกมิติอย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม


นายอัครพันธ์ สัปปพันธ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในการจัดการอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครคุมประพฤติ และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ผ่านมาได้มีการจัดอบรมไปแล้วจำนวน 2 รุ่น โดยเป็นการขยายเครือข่ายของบุคคลซึ่งสมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราว ตาม พ.ร.บ.มาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยตัวชั่วคราวในศาล พ.ศ.2560

จังหวัดมหาสารคามถือเป็นจังหวัดนำร่องในการขยายเครือข่ายจากกระทรวงยุติธรรม มายัง กระทรวง พม. ทำให้ในปัจจุบันศาลจังหวัดมหาสารคามมีเครือข่ายของกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย นอกเหนือจากกลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ยังมีกลุ่มอาสาสมัครคุมประพฤติ และกลุ่มอาสาสมัคร พม. ปัจจุบันมีผู้แสดงความประสงค์เป็นผู้กำกับดูแลจากสำนักงานคุมประพฤติ จำนวน 56 คน และจาก สำนักงาน พม. จำนวน 13 คน


นายวิเชียร แสงเจริญถาวร อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 กล่าวว่า โครงการของศาลจังหวัดมหาสารคาม เกี่ยวกับการตั้งผู้กำกับดูแลของศาล เป็นไปตาม พ.ร.บ.มาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยตัวชั่วคราวในศาล พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นประโยชน์เป็นการลดการคุมขังที่ไม่จำเป็น ที่ผ่านมามีหลายคดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาล เนื่องจากมีการเรียกหลักประกันเป็นเงินสด เป็นโฉนดที่ดิน เป็นภาระกับผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา บางคดีเช่น คดีฉ้อโกง หรือคดีเช็ค เมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ออกมาแล้ว ก็สามารถไปทำงานหาเงินมาชดใช้ให้กับผู้เสียหายได้ ในการดำเนินการความร่วมมือแบบบูรณาการจะเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองสิทธิ ผู้เสียหาย จำเลย และผู้ต้องหา ซึ่งเป็นไปหลักการตามรัฐธรรมนูญ ซี่งจังหวัดมหาสาคามเป็นจังหวัดนำร่องและจะนำไปขยายผลในภาคอีสานโดยอาจจะเริ่ม จากจังหวัดร้อยเอ็ดและ กาฬสินธ์

ภาคประชาชนถือว่ามีส่วนสำคัญ ในการช่วยการดูแล การลดการคุมขังที่ไม่จำเป็นเป็นหลักการสำคัญ เป็นหลักการที่นโยบายของท่านประธานศาลฏีกา และเป็นยุทธศาสตร์ของสำนักงานศาลยุติธรรมที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลชุมชนของตนเอง ในหมู่บ้านในตำบล เกิดความไว้วางใจ ทำให้สังคมมีความปลอดภัย และมีคุณภาพที่ดีขึ้น เพราะ “คุกไม่ได้มีไว้ขังคนจน”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img