วันอังคาร, พฤษภาคม 21, 2024
หน้าแรกNEWS"ทนายเชาว์" แนะ "พิธา" มีรอดปมหุ้นไอทีวี จี้หอบเอกสารแจงเองอย่าโยนให้คนอื่น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ทนายเชาว์” แนะ “พิธา” มีรอดปมหุ้นไอทีวี จี้หอบเอกสารแจงเองอย่าโยนให้คนอื่น

“ทนายเชาว์” กางกฎหมายปม หุ้นไอทีวี “พิธา” ไร้คำว่าในฐานะผู้จัดการมรดกต่อท้าย ถือเป็นกรรมสิทธิ์แล้ว แต่ยังมีช่องรอด ให้บรรดาทายาทเป็นพยานได้  แนะ เจ้าตัว หอบหลักฐานแถลง แทนโยนให้ทีมกฎหมายช่วยแจง

วันที่ 12 พ.ค.2566 นายเชาว์ มีขวด อดีตรองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ Facebook Chao Meekhuad เรื่อง  หุ้นไอทีวีเป็นของใคร….? มีเนื้อหาระบุว่า ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า การถือครองหุ้นไอทีวีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับ 1 และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกลนั้น เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามการเป็น ส.ส.และการสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่ เนื่องจากเดิมหุ้นดังกล่าวเป็นของนายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ บิดาของนายพิธา ต่อมาภายหลังที่นายพงษ์ศักดิ์ เสียชีวิต เมื่อปี 2549 นายพิธาก็เข้ามารับหน้าที่ผู้จัดการมรดกของนายพงษ์ศักดิ์ตามคำสั่งศาล และมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงบัญชีผู้ถือหุ้นในชื่อเดิมของนายพงษ์ศักดิ์มาเป็นชื่อนายพิธา ไม่มีคำว่าในฐานะผู้จัดการมรดกเหมือนกรณีโดยทั่วไป จึงเกิดคำถามว่าหุ้นดังกล่าวยังเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของนายพงศ์ศักดิ์ หรือโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของนายพิธา ในฐานะทายาทแล้ว

อดีตรองโฆษกพรรครปะชาธิปัตย์ ระบุว่า เรื่องนี้มองได้สองมุม คือ 1 จากพฤติการณ์ จะเห็นได้ว่านายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ เสียชีวิตตั้งแต่ปี 2549 เป็นระยะเวลา 17 ปีกว่าแล้ว การจัดการมรดกโดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะผู้จัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้นโดยไม่ปรากฎว่ามีข้อขัดข้องเรื่องการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันระหว่างทายาทซึ่งมีอยู่ด้วยกันเพียงไม่กี่คน ประกอบกับการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงบัญชีผู้ถือหุ้นจากนายพงษ์ศักดิ์เจ้ามรดกมาเป็นชื่อนายพิธาเพียว ๆ โดยไม่มีคำต่อท้ายว่ากระทำในฐานะผู้จัดการมรดกเหมือนกรณีทั่วไป จึงมองได้ว่าหุ้นได้โอนจากกองมรดกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของนายพิธาเสร็จเด็ดขาดแล้ว


2 ตามข้อกฎหมาย หุ้น เป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งของผู้ถือหุ้นเมื่อผู้ถือหุ้นตาย หุ้นนั้นจึงตกทอดแก่ทายาททันทีตามกฎหมาย โดยผ่านกองมรดกของผู้ตาย โดยผู้จัดการมรดกสามารถเข้ามาถือหุ้นแทนผู้ตายเพื่อจัดการแบ่งปันให้ทายาท ซึ่งแม้จะมีข้อจำกัดในการทำหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามกฎหมายไว้หลายประการด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องตายตัวว่าต้องทำทุกกรณี ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเป็นสำคัญ ดังนั้น ปัญหาว่าหุ้นดังกล่าวโอนไปเป็นกรรมสิทธิ์ของนายพิธาแล้วหรือไม่ หรือยังเป็นหุ้นในกองมรดกที่นายพิธาถือแทนอยู่ ก็แค่อาศัยคำยืนยันจากบรรดาทายาทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกองมรดกของนายพงษ์ศักดิ์ หากยืนยันว่าหุ้นดังกล่าวยังไม่ได้มีการแบ่งปันกันระหว่างทายาท ทางรอดของนายพิธาก็เปิดกว้างเพราะทำได้ง่ายมาก

“ถ้านายพิธา ยืนยันได้ด้วยพยานหลักฐานโดยอ้างคำยืนยันจากบรรดาทายาทว่า ถือครองหุ้นดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดก ทุกอย่างก็จบ ไม่ต้องไปไล่เรียงอีกว่า บริษัทนี้ยังประกอบกิจการสื่ออยู่หรือไม่ แต่ถ้ายืนยันไม่ได้ เรื่องอาจลากยาวไปอีก เพราะต้องพิสูจน์ว่าบริษัทไม่ได้ประกอบกิจการสื่อแล้ว ทางที่ดีถ้านายพิธามีหลักฐานในมือ ก็แถลงต่อสาธารณะเคลียร์ไปซะเรื่องก็จบ ไม่ต้องรอให้ทีมกฎหมายเป็นฝ่ายชี้แจง อย่างไรก็ตามหากนำบรรทัดฐานคำพิพากษาศาลฎีกา ที่คืนสิทธิการสมัคร สส.นครนายก เขต 2 ให้กับนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ด้วยเหตุที่การถือหุ้นเอาไอเอส ในจำนวนน้อยไม่มีอำนาจในการบริหารจัดการมาใช้ นายพิธาก็มีโอกาสรอดอยู่มากเช่นกัน”นายเชาว์ ระบุทิ้งท้าย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img