วันอังคาร, พฤษภาคม 21, 2024
หน้าแรกHighlightคาดกินเจปีนี้ใช้จ่ายเพียง 4.6 หมื่นล้าน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คาดกินเจปีนี้ใช้จ่ายเพียง 4.6 หมื่นล้าน

หอการค้า คาดกินเจปีนี้ซบเซา มีคนกินเจเพียงแค่ 39%  ใช้จ่ายแค่ 4.6 หมื่นล้าน  ผลสำรวจดัชนีเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนจากระดับ 51.0 เป็น 50.2

เมื่อวันที่  8 ต.ค. ผศ.ดร.ธนวรรธน์  พลวิชัย  อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  พร้อมด้วยนางอุมากมล  สุนทรสุรัติ  ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และนายวาทิตร  รักษ์ธรรม   ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงผลสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงเทศกาลกินเจระหว่างวันที่ 17-25 ต.ค.นี้ว่า บรรยากาศเทศกาลกินเจปีนี้จะไม่คึกคักนัก เนื่องจากมีคนกินเจเพียงแค่ 39% ซึ่งน้อยกว่าคนไม่กินเจที่มีมากถึง 61% ทำให้เม็ดเงินใช้จ่ายตลอดเทศกาลปีนี้อยู่ที่ 46,967 ล้านบาท ขยายตัวเพียง 0.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านที่ 46,549 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นอัตราเติบโตต่ำสุดรอบ 13 ปี โดยประชาชนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 11,400 บาท

“สาเหตุที่ทำให้เทศกาลกินเจปีนี้เงียบเหงา เนื่องจากคนส่วนใหญ่ประสบปัญหาหนี้สิน หลังภาวะเศรษฐกิจซบเซาจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของไทยตลอด 9 เดือนที่ผ่านมาตกต่ำ อีกทั้งยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่มีการชุมชน จนไม่มีกะจิตกะใจอยากท่องเที่ยว กินเจหรือจับจ่ายใช้สอยนัก รวมทั้งบางคนยังกลัวว่าจะตกงานตามภาวะเศรษฐกิจอีกด้วย ประกอบกับอาหารเจมีราคาสูงขึ้นทำให้คนไม่อยากกินนัก”

สำหรับแนวโน้มราคาอาหารเจ และวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจในปีนี้ เทียบกับปีที่แล้ว คาดว่าราคาจะแพงขึ้น 58% ส่วนราคาเท่าเดิม 41% และราคาลดลงเพียง 1% ซึ่งแป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น พ่อค้าแม่ค้าปรับขึ้นราคา รองลงมาเป็นผลกระทบจากโควิด ค่าแรงที่สูง ภัยแล้งและน้ำท่วม ส่วนคนที่สนใจเดินทางไปทำบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ปีนี้จะมีเหลือเพียง 4.4% เท่านั้น เดินทางไปเฉลี่ย 1-3 วัน ส่วนคนที่ไม่เดินทางจะมีถึง 95.6%

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนก.ย. 2563 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่รัฐบาลได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ (reopen) ในระยะที่ 1 ถึง 6 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา

 เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองไทยหลังจากมีการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งในเดือนกันยายน และการลาออกของรมว.คลัง นอกจากนี้ผู้บริโภคยังมีความกังวลสูงเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าและการว่างงานในอนาคตที่เกิดจากผลกระทบเชิงลบจาก COVID-19

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 42.9 48.2 และ 59.4 ตามลำดับ โดยปรับตัวลดลงทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนสิงหาคม 2563 ที่อยู่ในระดับ 43.6 49.1 และ 60.4 ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ดัชนียังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าผู้บริโภคยังไม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ โอกาสในการหางานทำ และรายได้ในอนาคตอย่างมาก เพราะมีความกังวลในวิกฤต COVID-19 ในประเทศไทยและทั่วโลก ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยและการจ้างงานถดถอยลง ซึ่งจะทำให้รายได้ในอนาคตของผู้บริโภคลดลงในที่สุด

 การปรับตัวลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการในเดือนนี้ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยปรับตัวลดลงจากระดับ 51.0 เป็น 50.2 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงย่ำแย่จากวิกฤต COVID-19 ทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบในเชิงลบอย่างมากต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอย่างต่อเนื่อง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img