วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 23, 2024
หน้าแรกHighlightธปท.ห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทฉุดศก.ไทย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ธปท.ห่วงสถานการณ์ค่าเงินบาทฉุดศก.ไทย

”แบงก์ชาติ” จับตาค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วขึ้น หวั่นกระทบเศรษฐกิจไทย เตรียมชี้แจงสถานการณ์เงินบาท 20 พ.ย.นี้

เมื่อวันที่ 18 พ.ย.นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง. มีความกังวลต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเร็วจากนักลงทุนต่างชาติที่กลับมาลงทุนในสินทรัพย์ของกลุ่มประเทศเกิดใหม่หลังผลเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 ซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเงินบาทแข็งค่าเร็วอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง จึงเห็นควรให้ติดตามตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด รวมทั้งพิจารณาความจำเป็นของการดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม

ทั้งนี้ กนง.ได้หารือกันเรื่องเงินบาทแข็งค่าเร็วกันอย่างมาก ซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจให้ดำเนินนโยบายเพิ่มเติม เพราะมีเงินทุนไหลเข้าจากนักลงทุนต่างชาติทั้งหุ้นและตราสารหนี้ โดยเงินบาทแข็งค่าจากประชุม กนง.ครั้งก่อนหรือวันที่ 23 ก.ย. 4.3% แต่เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับภูมิภาค ซึ่งหากดูข้อมูลจากต้นปีจนถึงปัจจุบันพบว่า เงินบาทยังอ่อนค่า 0.6% โดยนอกเหนือจากการดูแลแล้ว คงจะมีการทบทวนความจำเป็นถึงมาตรการเพิ่มขึ้น ธปท.จะมาอธิบายสถานการณ์ค่าเงินบาทและมาตรการที่จะมีต่อไป ทั้งเรื่องระยะสั้น และระยะยาวในวันที่ 20 พ.ย.นี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย

“การดูแลค่าเงินบาทต้องหลากหลาย เหมาะสม ดูทั้งระยะสั้น ระยะยาว ยืนยันเครื่องมือมีอยู่ แต่ต้องดูว่าจะใช้อย่างไรให้เหมาะสม และตรงจุดได้อย่างไร ช่วงต่อไปจะเปิดเผยออกมามากขึ้น ทั้งต้นเหตุและเครื่องมือมีอะไร ทำอะไร ขณะเดียวกันยังกังวลต่อตลาดแรงงาน เพราะจะกระทบต่อรายได้ครัวเรือนโดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพอิสระ โดยในเดือน ต.ค.มีผู้ว่างงาน 8 แสนคน ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวแบบเปราะบางและมีความเสี่ยง ความไม่แน่นอนทั้งในและต่างประเทศ”

นอกจากนี้ที่ประชุม กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและให้เน้นมาตรการช่วยเหลือที่ตรงจุดมากขึ้น และเพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัด ใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดย กนง.ยังเห็นว่าการประสานนโยบายระหว่างหน่วยงานภาครัฐมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไป นโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการทางการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการ รวมทั้งผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เกิดผลในวงกว้าง



- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img