วันพุธ, พฤษภาคม 22, 2024
หน้าแรกHighlightเอกชนหวั่น“พิธา”วืดนายกฯ มวลชนชุมนุมกระทบความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เอกชนหวั่น“พิธา”วืดนายกฯ มวลชนชุมนุมกระทบความเชื่อมั่นเศรษฐกิจ

เอกชนกังวล‘พิธา’ วืดนายกฯ ม็อบฮือลงถนนเกิดเหตุการณ์รุนแรง หวั่นการลงทุนสะดุด-ฉุดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 วันที่ 13 ก.ค.ว่า ถ้าการโหวตไม่ผ่านจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่น และอาจทำให้เกิดการรวมตัวกันลงถนนทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น โดยเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยต้องสะท้อนเสียงของประชาชนจำนวนมาก และควรจะเป็นไปตามสิ่งที่ประชาชนต้องการ

นอกจากนี้เห็นว่าการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าจะมีผลต่องบประมาณปี 2567 กระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการใช้จ่ายจากภาครัฐถือเป็นเครื่องยนต์หลักของประเทศนอกเหนือรายได้จากการท่องเที่ยว ขณะที่การใช้จ่ายของเอกชนขณะนี้ค่อนข้างตึงตัว หากจะลงทุนเพิ่มเติมต้องรอความชัดเจนจากรัฐบาล แต่ถ้ายังเป็นสถานการณ์ที่เลื่อนลอยก็จะไม่กล้าตัดสินใจลงทุนหรือลงทุนเพิ่ม ส่วนของประชาชนยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือน

ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ครั้งล่าสุด แสดงความเป็นห่วงเรื่องการใช้เงินงบประมาณของรัฐ โดยต้องการให้นำเงินดังกล่าวมากระตุ้นเศรษฐกิจ นำมาใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริง ทั้งนี้หากรัฐบาลใหม่ยังไม่มา เศรษฐกิจจะไม่มีการขับเคลื่อน ข้าราชการประจำเองคงไปขับเคลื่อนไม่ได้ การส่งออกจะยิ่งแย่

น.ส.ณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีต้องดูผลแต่ละครั้งว่าเป็นอย่างไร เพราะมีตัวแปรหลายองค์ประกอบ แต่จุดน่าสนใจคือผลกระทบของการเมืองต่อเศรษฐกิจไทย หากเกิดการประท้วงเกิดขึ้นต้องดูว่าความรุนแรงในระดับใด ซึ่งต้องดูไปทีละขั้นในแต่ละวันที่มีการโหวตเลือกนายกฯตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค.และวันที่ 19 ก.ค. และวันที่ 20 ก.ค. โดยเห็นว่าการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าออกไปผลกระทบต่อความเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img