วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2024
หน้าแรกNEWS"ศักดิ์สยาม"สั่งลุยโครงข่ายคมนาคมขนส่งภาคอีสาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ศักดิ์สยาม”สั่งลุยโครงข่ายคมนาคมขนส่งภาคอีสาน

“ศักดิ์สยาม”นำทีมลงศรีษะเกษลุยโครงข่ายคมนาคมขนส่งหวังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านทาง บก น้ำ อากาศ ราง ภาคอีสาน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (20 พ.ค.65) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วย นายวิรัช พิมพะนิตย์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นางสุขสมรวย วันทนียกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท นายปริญญา แสงสุวรรณ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่ 

โดยมี นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคภูมิใจไทย ผู้นำท้องถิ่น ผู้แทนภาคเอกชน ประชาชนชาวอำเภอเมืองและอำเภอวังหินร่วมให้การต้อนรับ ณ หอประชุมเทศบาลเมืองศรีสะเกษ (เกาะกลางน้ำ) อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านโครงข่ายคมนาคมการส่งเสริมการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจของประเทศ โดยเร่งรัดการเปิดให้บริการโครงข่ายคมนาคม เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร รองรับเชื่อมโยงการเดินทางกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศเวียดนาม 

รวมถึงสนับสนุนการค้า การท่องเที่ยว สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยทางกระทรวงฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินตามภารกิจดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งที่สำคัญทุกโหมดการเดินทางในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ดังนี้

มิติทางบก ประกอบด้วยถนนทางหลวงระยะทาง 1,032.13 กิโลเมตร และถนนทางหลวงชนบทจังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 1,198.68 กิโลเมตร โดยมีโครงการที่สำคัญ ดังนี้

1. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวง ปัจจุบัน ทล. มีโครงการทางหลวงที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ได้แก่ 

– โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 226 สาย อำเภอห้วยทับทัน – ศรีสะเกษ ระยะทาง 13.795 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 659.129 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 30.84 % 

– โครงการก่อสร้าง เพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 221 สายศรีสะเกษ – อำเภอพยุห์ ระยะทาง 6.00 กิโลเมตรวงเงินก่อสร้าง 154.33 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 0.29 % 

– โครงการก่อสร้างเพิ่มช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 2085 สายอำเภอกันทรลักษ์ – กันทรารมย์ ตอนบ้านน้ำอ้อม – บ้านสี่แยก ระยะทาง 4.450 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 138.58 ล้านบาท ผลการดำเนินงาน 0.34 %

2. การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบท ประกอบด้วย งานก่อสร้างทางและสะพาน งานบำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย รวม 40 โครงการ งบประมาณรวม 415.275 ล้านบาท ได้แก่

-โครงการก่อสร้างถนนและยกระดับชั้นทาง ถนนเชิงลาดสะพานข้ามห้วยขะยูง บ้านกุดผักหนาม – บ้านเขวาธนัง อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 2.235 กิโลเมตร งบประมาณ 18.50 ล้านบาท 

-โครงการก่อสร้างถนน และยกระดับชั้นทาง ถนนสาย ศก.4020 แยกทางหลวงหมายเลข 2200 – บ้านกำแพงอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 3.40 กิโลเมตร งบประมาณ 49.50 ล้านบาท 

– โครงการพัฒนาสะพานขนาดกลาง สะพานข้ามคลองตาเสก ในสายทาง ศก.5060 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 30 เมตร งบประมาณ 4.95 ล้านบาท 

– โครงการก่อสร้างโครงข่ายสะพานข้ามห้วยทับทัน อำเภอเมืองจันทร์   จังหวัดศรีสะเกษ ระยะทาง 140 เมตรงบประมาณ 48.78 ล้านบาท

3. การศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค MR-MAP ซึ่งกระทรวงฯ ได้ศึกษาแผนแม่บทโครงข่าย MR-MAP ได้ศึกษาแล้วเสร็จ และคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) ได้เห็นชอบร่างโครงข่ายแผนแม่บทแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างร่างแผนการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Pre-FS) ทุกเส้นทาง จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนกลยุทธ์การพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยเส้นทางที่จะเชื่อมกับจังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่

–  เส้นทาง MR5 มีจุดเริ่มต้นที่จังหวัดนครสวรรค์ สิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางรวมประมาณ 722 กิโลเมตร

มิติทางราง มีขบวนรถไฟที่วิ่งผ่านสถานีจังหวัดศรีสะเกษ เที่ยวขึ้น – เที่ยวล่อง มีวันละ 20 ขบวน โดยกระทรวงฯ มีแผนพัฒนารถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ดังนี้

 1. แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน (พ.ศ. 2560 – 2564) จำนวน 7 เส้นทางระยะาง 993 กิโลเมตร ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางชุมทางฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย และชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 5 เส้นทาง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2566 

2. แผนพัฒนารถไฟทางคู่ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2569) จำนวน 7 เส้นทาง ระยะาง 1,483 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติโครงการและจัดทำรายงาน EIA

มิติทางน้ำ มีการพัฒนาทางน้ำในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและยโสธร ซึ่งปัจจุบันกระทรวงฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ดังนี้ 

1. โครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือในแม่น้ำโขงบริเวณเทศบาลตำบลบ้านด่านโขงเจียม วงเงินลงทุน 36.8000 ล้านบาท มีความคืบหน้าโครงการแล้ว 58%

2. โครงการจ้างก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศที่แม่น้ำชี กม. ที่ 55+000 – 60+ 000  วงเงิน7.0357 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง 

3. โครงการซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง แม่น้ำลำโดมใหญ่ บริเวณท่าน้ำวัดแสงเกษม วงเงินลงทุน 107,000 บาท มีความคืบหน้าโครงการแล้ว 98.70% 

4. โครงการซ่อมแซมเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง แม่น้ำลำเซบาย อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 340,000 บาท มีความคืบหน้าโครงการแล้ว 98.70% 

นอกจากนี้ กระทรวงฯ อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการจ้างก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในประเทศที่แม่น้ำชี กม. ที่ 195 – 200 อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ถึง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 41.80 ล้านบาท โดยช่วงกม. ที่ 155+000 – 165+000 อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ถึงอำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร วงเงินลงทุน 45.56 ล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเตรียมการชี้แจงคณะกรรมาธิ การงบประมาณ ปี 2566 ในช่วง กม. ที่ 120+000 และ กม. ที่ 135+000 – 145+000 อำเภอมหาชนะชัยจังหวัดยโสธร

มิติทางอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี  เพียง 60 กิโลเมตร ประชาชนสามารถเดินทางไปใช้บริการได้อย่างสะดวก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างศูนย์ขนส่งผู้โดยสารและปรับปรุงลานจอดรถยนต์ เพื่อเป็นศูนย์การขนส่ง (Transportation Hub) งบประมาณ 86.80 ล้านบาทคาดว่าจะเปิดใช้ได้ในปี 2566

ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษแล้วเสร็จสมบูรณ์ จะสามารถเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งทุกโหมดการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด สามารถรองรับปริมาณการเดินทางและคมนาคมขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว        และมีความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโอกาสนี้ นายศักดิ์สยาม ยังได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยม พร้อมรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของประชาชน ในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ อีกด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img