วันพุธ, พฤษภาคม 15, 2024
หน้าแรกHighlightมั่นคงทางไซเบอร์'ไทย-มะกัน' ดร.นิวแฉ'ความต่างที่น่าอับอาย'
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

มั่นคงทางไซเบอร์’ไทย-มะกัน’ ดร.นิวแฉ’ความต่างที่น่าอับอาย’

“ดร.นิว” ยกเคส FBI บุกจับคนส่งข้อความขู่ทำร้าย “ปธ.สภามะกัน” แล้วเหลียวมาดู “ความมั่นคงทางไซเบอร์ของไทย” ถือว่าน่าอับอาย เพราะมีขบวนการปลุกม็อบ สร้างความแตกแยก แต่ไทยกลับมีภาพ “จับๆ ปล่อยๆ” จนเป็นเรื่องตลก เหมือนว่าไทยไม่เข้าใจบริบทของ “กฎหมายความมั่นคง” อ่อนข้อให้ผู้บ่อนทำลาย

เมื่อวันที่ 13 ม.ค.64 ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan ในหัวเรื่อง #ความมั่นคงทางไซเบอร์ของสหรัฐอเมริกาที่ประเทศไทยไม่เคยมี มีเนื้อหาน่าสนใจดังนี้…”แค่ผู้ชายคนหนึ่ง (นาย Cleveland Grover Meredith) ส่งข้อความไปหาเพื่อนในทำนองขู่ว่าจะทำร้ายประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา (นาง Nancy Pelosi) แล้วเขาก็ถูกจับกุมตัวโดยตำรวจ FBI จากสำนักงานสอบสวนกลางในระยะเวลาอันรวดเร็ว

เหตุการณ์ในครั้งนี้บ่งบอกถึงอะไร?

1.สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) อย่างมาก และมีระบบปฏิบัติการสอดแนมทางไซเบอร์ (Cybersurveillance Operation) ที่ทันสมัย สามารถสอดแนมและตรวจสอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกไซเบอร์ แม้แต่การส่งข้อความหากัน เพื่อเฝ้าระวังภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ในด้านความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ถูกเปิดเผยขึ้นครั้งแรกโดยนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ภายใต้ชื่อโครงการ PRISM ของ สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือ National Security Agency (NSA) แม้จะถูกมองว่ามีแนวโน้มเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่โครงการดังกล่าวยังคงดำเนินการเรื่อยมาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

นาย Cleveland Grover Meredith

2.สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงอย่างสูงสุด หลังจากมีการส่งข้อความที่เข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคง บุคคลดังกล่าวก็ถูกจับกุมตัวทันทีภายในระยะเวลาราว 1 วัน อีกทั้งยังสามารถตรวจค้นและยึดวัตถุพยานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างเต็มที่

3.สหรัฐอเมริกามีกระบวนการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงที่รวดเร็ว มีการบูรณาการและการประสานงานระหว่างเทคโนโลยี อัยการ ศาล รวมถึงตำรวจ ที่ดำเนินไปด้วยกันอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

ถ้าประเทศไทยมีความมั่นคงทางไซเบอร์อย่างสหรัฐอเมริกา ขบวนการปลุกม็อบสร้างความแตกแยก รวมถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังคงถูกจับกุมและล้างบางด้วยการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงอย่างที่ควรจะเป็นไปตั้งนานแล้ว อีกทั้งคนไทยทั้งประเทศคงไม่ต้องมาเห็นภาพจับๆ ปล่อยๆ จนดูเป็นเรื่องตลกดังเช่นทุกวันนี้ เสมือนว่าทั้งระบบของประเทศไทยไม่เข้าใจบริบทของ “กฎหมายความมั่นคง” แถมยังอ่อนข้อให้ผู้บ่อนทำลายความมั่นคงจน “กฎหมายความมั่นคง” แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย

แต่ที่น่าอับอายที่สุด คือ ประเทศไทยมี ส.ส.กบฏ ที่วันๆ คอยแต่สนับสนุนขบวนการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติและสร้างความแตกแยก นอกจากนั้นก็ทำตัวเป็นสุนัขรับใช้ของนายทุนเจ้าของพรรคการเมืองซึ่งเป็นผู้อยู่เบื้องหลังม็อบคนสำคัญ โดยที่ไม่ได้รับใช้ประชาชนเหมือนที่พูดจาไว้สวยหรู ประชาชนที่พวกเขาแอบอ้างจึงมีเพียงแค่ม็อบ ซึ่งก็คือมวลชนผู้ตกเป็นเหยื่อและเครื่องมือทางการเมืองของเจ้านายพวกเขา ไม่ใช่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ หรือความั่นคงของชาติอันเป็นตัวแทนความมั่นคงของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศแต่อย่างใด

#ประชาธิปไตยTheseries by ดร.ศุภณัฐ

อ้างอิง…
https://ojs.imodev.org/index.php/RIDDN/article/view/302/491
https://www.thesun.ie/…/cleveland-grover-meredith…/

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img