วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 23, 2024
หน้าแรกHighlight“ศรีสุวรรณ”หนุน “กกต.”สั่ง“อสม.” หยุดใช้ตำแหน่งหาเสียง“อบต.”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ศรีสุวรรณ”หนุน “กกต.”สั่ง“อสม.” หยุดใช้ตำแหน่งหาเสียง“อบต.”

“ศรีสุวรรณ” หนุนกกต.สั่ง อสม.ที่เป็นผู้สมัครอบต.หยุดปฎิบัติหน้าที่ จนกว่าจะผ่านพ้นการเลือกตั้งวันที่ 28 ต.ค.หวั่นสร้างความได้เปรียบทำเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อวันที่ 31 ต.ค.64 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 เพื่อขอความร่วมมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกหรือนายก อบต. หรือเป็นผู้ช่วยหาเสียง งดปฏิบัติหน้าที่ จนกว่าจะผ่านพ้นการเลือกตั้งวันที่ 28 พ.ย.นี้ไปแล้ว เพราะมีความใกล้ชิดกับผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมได้นั้น

การมีหนังสือขอความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีของการจัดการเลือกตั้ง ที่เชื่อว่า กกต.เห็นความไม่เที่ยงธรรมเกิดขึ้นจากคนที่ปฏิบัติหน้าที่ อสม. อาจใช้ตำแหน่งหน้าที่ของตนในการไปเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้สมัครได้ เนื่องจาก อสม.นั้นบทบาทหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน 2554 และมีค่าตอบแทนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สิทธิได้รับเงินค่าป่วยการในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน 2560 และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 จากเงินงบประมาณแผ่นดิน โดยกำหนดให้เบิกจ่ายเป็นรายเดือนทุกเดือน แม้ กกต.จะเคยวินิจฉัยแล้วว่า อสม. มิได้เป็น “เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ก็ตาม

ดังนั้น ภารกิจของ “อสม.” จึงใช้เงินแผ่นดิน และตำแหน่งหน้าที่ที่ราชการมอบหมาย ไปทำงานสร้างปฏิสัมพันธ์กับประชาชนได้อย่างต่อเนื่อง ในการสร้างความนิยมเป็นการส่วนตัว ซึ่งหากมี “อสม.” บางรายไปสมัครเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือเป็นผู้ช่วยหาเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งดังกล่าว ก็ย่อมจะได้เปรียบกว่าผู้สมัครรายอื่น ๆ ที่มิได้เป็น อสม. หรือมิได้ว่าจ้างให้ อสม.มาเป็นผู้ช่วยหาเสียง เช่นนี้ ย่อมทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ย่อมทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันในการเลือกตั้งในท้องถิ่นนั้นๆได้

ส่วนที่มีนักการเมืองบางรายออกมาโวยวายตำหนิ กกต.ในการออกหนังสือดังกล่าว มิได้เป็นเรื่องแปลกของนักการเมืองบางพรรคที่ได้ประโยชน์จาก อสม.โดยไม่ต้องลงทุนใช้เงินของตนหรือของพรรค แต่ใช้เงินแผ่นดินที่ให้ตอบแทน อสม. มาสร้างภาพให้กับตนเองหรือพรรคของตน และที่สำคัญ อสม.ที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกหรือนายก อบต. หรือเป็นผู้ช่วยหาเสียง มีจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับจำนวน อสม.ทั่วประเทศ ที่ยังมีภารกิจในการช่วยควบคุมโรคระบาดโควิด-19 อยู่ในขณะนี้ จึงเป็นที่สงสัยเช่นกันว่า ถ้าไม่มี อสม.จำนวนเล็กน้อยมาปฏิบัติหน้าที่ตามหนังสือ กกต.เพียง 1 เดือน จะทำให้ระบบสาธารณสุขของไทยเราล่มจมเลยหรืออย่างไร หรือถ้าล่มสลายจริงคงต้องจี้ให้นายกรัฐมนตรีปลดรัฐมนตรีที่ดูแลกระทรวงดังกล่าวเสีย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img