วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 23, 2024
หน้าแรกHighlight“สมชาย”ค้านปรับเกณฑ์อภัยโทษ คาใจ“ยุติธรรม”1 ปีลดโทษ 3 ครั้ง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สมชาย”ค้านปรับเกณฑ์อภัยโทษ คาใจ“ยุติธรรม”1 ปีลดโทษ 3 ครั้ง

“ปธ.กมธ.สิทธิฯ” วุฒิฯ ค้านปรับเกณฑ์ลดโทษ กรณี 8 ปี ยันพระราชกฤษฎีกาไม่ผิดอยู่ที่คนเสนอ ถามรมว.ยุติธรรม 1 ปี ลดโทษ 3 ครั้งทุกกรณีหรือไม่ บี้ “นายกฯ” สอบ “จนท.ราชทัณฑ์” ใช้ดุลพินิจปล่อยนักโทษฉ้อฉลหรือไม่

วันที่ 13 เม.ย.65 นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่ครม.ปรับปรุงแนวทางการจัดชั้น เลื่อนชั้นนักโทษ เพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจนต่อการอภัยโทษ ว่า มาตรการที่กำหนดให้นักโทษที่จะได้รับอภัยโทษ ไม่ว่าลดโทษหรือ ปล่อยตัว ต้องรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือ จำคุกมาแล้ว 8 ปี หรือแล้วแต่ระยะเวลาใดถึงก่อน ตน สงสัยว่า เกณฑ์ 8 ปีนั้นนำมาจากไหน หากเป็นนักโทษที่ต้องติดคุก 50 ปี ถึง ตลอดชีวิต แต่ได้รับสิทธิลดโทษตามระยะปลอดภัย 8 ปีเหมาะสมหรือไม่

ดังนั้นตนเห็นว่าควรยึดเกณฑ์การรับโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 เป็นเกณฑ์เดียว หรือกำหนดเวลารับโทษจำคุกมาแล้ว 15 ปี ซึ่งกรณีดังกล่าวนั้นได้เสนอให้ ส.ส.รับไปพิจารณาแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพื่อให้ใช้เป็นเกณฑ์ดำเนินการในอนาคต เนื่องจากส.ว.ไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายให้สภาฯ พิจารณาได้

นายสมชาย กล่าวด้วยว่าสำหรับการให้อภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานั้น ตนยืนยันว่าพระราชกฤษฎีกานั้นไม่ผิด และไม่ต้องแก้ไข แต่ประเด็นที่ควรตรวจสอบคือการใช้ดุลยพินิจ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาลดโทษให้กับนักโทษ ที่มีความพิรุธ คือ พิจารณาลดโทษนักโทษ 3 ครั้งในปีเดียว ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม หรือ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรมสามารถสั่งการให้ทุกเรือนจำส่งรายงานการพิจารณาการลดโทษนักโทษที่ได้รับการลดโทษติดต่อกัน 3 ครั้งใน1 ปีให้ตรวจสอบได้ ซึ่งตนเชื่อว่ามีหลักสิบถึงหลักร้อยคนเท่านั้น

“สิ่งที่ต้องตรวจสอบว่าการใช้ดุลยพินิจดังกล่าวใช้กับนักโทษทั่วไป ที่มีกว่า 2-3แสนคนหรือไม่ หรือใช้กับบางคนบางกรณีเท่านั้น เพราะเท่าที่ทราบพบว่ามีนักโทษบางคดี ที่ศาลพิพากษาจำคุก 100 ปี ในคดีฉ้อโกง ติดคุกจริงเพียง 3 ปีเศษ และล่าสุดได้รับการปล่อยตัวแล้ว ดังนั้นกรณีที่เกิดขึ้นต้องทำให้เป็นตัวอย่างเพื่อป้องกันในอีกหลายกรณีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ให้เกิดการใช้ดุลยพินิจที่ฉ้อฉล หากเรื่องนี้ไม่แก้ไขความผิดพลาด สังคมต้องตั้งคำถามต่อไป และหากไม่แก้สังคมไม่ยอมแน่” นายสมชาย กล่าว

เมื่อถามว่ากรณีที่สังคมคาใจ แต่ผู้บริหารไม่แก้ไขจะเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า เชื่อว่าจะมีคนดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หากพบว่าทุจริต ซึ่งตนไม่ได้กล่าวหา แต่สงสัยว่ากติกาที่ใช้นั้น ใช้กับนักโทษทุกคนหรือไม่ โดยเรื่องนี้สามารถตรวจสอบได้ว่าในปี 2564 มีนักโทษกี่คนที่กรมราชทัณฑ์ลดโทษให้ 3 ครั้ง เหลือกี่ปี ขณะที่ศาลพิพากษาจำคุกกี่ปี และเปิดเผยต่อสาธารณะ ถ้าทำถูกคือถูก แต่อย่าอ้างว่า พระราชกฤษฎีกาอัยโทษผิด เพราะไม่เกี่ยว แต่ที่ผิดคือ คนเสนอเรื่องและใช้ดุลยพินิจ

“ผมมองว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปราการทุจริตแห่งชาิต ป.ป.ช.ควรตั้งอนุไต่สวน เพราะเป็นผู้แทนของรัฐและของประชาชนที่ตรวจสอบคดีจำนำข้าว ที่สร้างความเสียหายให้ประเทศกว่า 5แสนล้านบาท อีกทั้งป.ป.ช. ได้สร้างมาตรฐานทางจริยธรรมในคดีของน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อดีตส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐมาแล้ว ดังนั้นบทบาทของป.ป.ช.สามารถทำได้ ทั้งเรียกเอกสาร ดำเนินคดี ถ้าไม่ทำอาจมีคนยื่นไต่สวน”สมชาย กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img