วันเสาร์, พฤษภาคม 11, 2024
หน้าแรกHighlightเผยไทยป่วยปอดอักเสบรุนแรงเพิ่มขึ้น พบวัยรุ่นไทยสูบ“บุหรี่ไฟฟ้า”เพิ่ม 10%   
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เผยไทยป่วยปอดอักเสบรุนแรงเพิ่มขึ้น พบวัยรุ่นไทยสูบ“บุหรี่ไฟฟ้า”เพิ่ม 10%   

สัญญาณอันตราย รามาฯ เตือนบุหรี่ไฟฟ้าทำไทยป่วย EVALI ยืนยันหลายราย อึ้ง นี่แค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง สุดห่วงโจ๋ไทยสูบเพิ่ม 10% น้อยสุดแค่ระดับประถม หมอย้ำ สูบบุหรี่ไฟฟ้าป่วยเร็ว-หนัก กว่าบุหรี่ทั่วไป แค่ 3 เดือนร่วง บางรายติดเครื่องช่วยหายใจตลอดชีวิต

เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ที่ รพ.รามาธิบดี ศ.นพ.วินัย วนานุกูล หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวเรื่อง “ไทยพบป่วยปอดอักเสบรุนแรง (EVALI) อีก!! จากบุหรี่ไฟฟ้า หวั่นคนไม่รู้อันตราย” ว่า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะวัยรุ่นมีความเข้าใจผิดร้ายแรงว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย คิดว่าควัน ไอละอองจากบุหรี่ไฟฟ้า เป็นเพียงละอองน้ำ ที่มีสารปรุงแต่งกลิ่นหอม อ้างว่าสูบชนิดที่ไม่มีนิโคติน แต่จริงๆ แล้วควันไอละอองจากบุหรี่ไฟฟ้ามีฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 มีสารเคมีที่เป็นอันตรายจากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่ใช้สูบ เช่น ฟอร์มาร์ลดีไฮด์ ไดอะซิทิล และอโครลิน รวมทั้งโลหะหนักที่เป็นพิษ เช่น นิกเกิล ดีบุก และตะกั่ว

ขณะที่ สารแต่งกลิ่นรสที่ถูกความร้อนจนเกิดเป็นไอระเหย ทำให้มีภาวะปอดอักเสบเฉียบพลัน และโรคอื่นได้ ที่สำคัญคือคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีการพัฒนาต่อไปเป็นสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 3 อย่างไรก็ตาม เมื่อปี พ.ศ.2562 แพทยสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา เรียกร้องประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ถือเป็นวิกฤตทางด้านสาธารณสุข มีผู้ป่วยรายงานปอดอักเสบที่มีโอกาสสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ไฟฟ้า (E-cigarette or Vaping product use Associated Lung Injury (EVALI) สูงถึง 450 ราย อาการรุนแรงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวนมาก และเสียชีวิต 7 รายในระยะเวลาเพียงแค่ 2 เดือน ซึ่งตอนนี้ ยอดผู้ป่วยจนถึงวันที่ 18 ก.พ.64  เข้านอนรพ.แล้ว 2,807 ราย ผู้เสียชีวิต 68 ราย

“ในส่วนของประเทศไทยต้องเฝ้าระวังให้มาก เพราะตอนนี้เริ่มเจอเคสจากการวินิจฉัยยืนยันชัดเจนแล้วหลายราย แต่เนื่องจากเป็นกลุ่มอาการใหม่ที่เพิ่งเจอในไทย ขณะที่การสูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เท่าที่เห็นรายงานในวันนี้เชื่อว่าเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น” ศ.นพ.วินัย กล่าว

ด้าน พญ.นภารัตน์ อมรพุฒิสถาพร หัวหน้าสาขาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตระบบหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ควันบุหรี่ไฟฟ้ามือสอง ขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่าจะทำให้ผู้ที่ได้รับเกิดโรค EVALI ได้ แต่ที่แน่ๆคือการได้รับสารนิโคติน และ pm 2.5 เข้าสู่ร่างกายแน่นอน อย่างไรก็ตามจากการทดลองในหนู ด้วยการรมควันบุหรี่ไฟฟ้าต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน ทำให้เกิด ปอดอักเสบ ถุงลมโป่งพอง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

 ดังนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะมีแนวโน้มที่จะเจอผู้ป่วยสูงขึ้น โดยเฉพาะเด็กประถมซึ่งขณะนี้พบว่ามีการใช้แบบพอต หรือแบบใช้แล้วทิ้งแล้วไปอ้างกับผู้ปกครองว่าไม่ใช่บุหรี่ไฟฟ้าเนื่องจากไม่ได้มีการชาร์จไฟ จริงๆไม่ถูกต้อง และจากรายงานขององค์การอนามัยโลก ที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ต่างๆทั่วโลก และรายงานในส่วนของประเทศไทย ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มสูงขึ้นจาก 6-7% เป็นมากกว่า 10%

ขณะที่ นพ.ธนัญชัย เพชรนาค อาจารย์สาขาโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤตระบบหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงกรณีผู้ป่วยอิวารี่ในไทย ว่า ผู้ป่วยอายุระหว่าง 20-30 ปี เดิมมีโรคประจำตัวเป็นกล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งรักษาและควบคุมอาการได้ดี สามารถทำงาน ทำกิจวัตรประจำวันได้ปกติ ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการ เหนื่อย ไอ และมีไข้ โดยเริ่มมีอาการไอ และรู้สึกเหนื่อยง่ายมาประมาณ 1 เดือน อาการเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำงานได้ลดลง ต้องนั่งพักบ่อยขึ้น จึงมาตรวจที่ รพ. โดยอาการแรกรับที่ฉุกเฉิน พบออกซิเจนในเลือดต่ำมาก ต้องได้รับการรักษาเบื้องต้นด้วยออกซิเจนชนิดไฮโฟล์ว เอกซเรย์ปอดพบว่าผู้ป่วยมีภาวะปอดอักเสบรุนแรง พบประวัติเคยสูบบุหรี่ธรรมดาเมื่อ 5 ปีก่อน แต่เลิกแล้วหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าทุกวัน ต่อเนื่อง 6 เดือน  และเติมสารทุกชนิด  จนกระทั่งเกิดป่วน แต่ได้รับการวินิจฉัยเร็วใน 1 วัน ทำ ทำให้ได้รับการรักษาเร็ว ในโรงพยาบาล 4 วันหลังจากนั้นก็กลับมาให้ยาต่อเนื่องอีก 1 เดือน จึงมีอาการดีขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติ

นพ.ธนัญชัย กล่าวว่า สำหรับ ผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะมีการกระตุ้นให้เกิดโรคเร็วกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดา โดยส่วนมากจะพบในการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 3 เดือนขึ้นไป ยิ่งเกิดอาการเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะบุหรี่ไฟฟ้าเป็นการ นำเอาสิ่งแปลกปลอมซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบโดยตรง เข้าไปในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว  ทั้งนี้การรักษาหากรักษาเร็วก็สามารถรักษาหายการทำงานของปอดยังไม่เกิดพังผืดก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้ แต่ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า ทำการรักษาล่าช้าจนปอดเกิดพังผืดแล้วไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ บางคนถึงขั้นเสียชีวิต และบางคนต้องเป็นผู้ป่วยติดเครื่อง ช่วยหายใจตลอดไม่สามารถถอดได้ เพราะไม่สามารถหายใจได้เอง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img