วันอาทิตย์, พฤษภาคม 12, 2024
หน้าแรกHighlightในหลวงพระราชทานชื่อสตรอว์เบอร์รี “พันธุ์พระราชทาน ๘๙”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ในหลวงพระราชทานชื่อสตรอว์เบอร์รี “พันธุ์พระราชทาน ๘๙”

มูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รี ที่มีจุดเด่นคือ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารแอนโทไซยานินสูง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อสตรอว์เบอร์รีพันธุ์ที่ปรับปรุงใหม่ ว่า “พันธุ์พระราชทาน ๘๙” ตามพระชนมายุ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

โครงการวิจัยสตรอเบอรี่เป็นอีกโครงการหนึ่ง เพื่อศึกษาการปลูกพืชทดแทนฝิ่น ระยะเริ่มแรกดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับทุนวิจัยจากฝ่ายงานวิจัยกระทรวงเกษตร ประเทศสหรัฐอเมริกา (Agricultural Research Service ของ USDA) ระหว่างการวิจัยได้นำสตรอเบอรี่พันธุ์ต่างๆ เข้ามามากมายเพื่อทดลองปลูกตามสถานีทดลองเกษตรที่มีระดับความสูงต่างกัน รวมทั้งศึกษาเราอาการของโรค-แมลง การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และตลอดจนทางด้านการตลาดเพื่อให้ครบวงจร 

ขอบคุณภาพ : Royaloffice.th

ตั้งแต่ปีพ.ศ.2512-2541 ได้มีการน าเข้าสตรอว์เบอร์รีพันธุ์ต่างๆ จากต่างประเทศมาทดลองปลูก โดยในปี พ.ศ. 2515 พบว่าพันธุ์ Cambridge Favorite, Tioga และ Sequoia (โดยรู้จักกันในนามพันธุ์พระราชทานเบอร์ 13, 16 และ 20 ตามลำดับ) ได้ถูกพิจารณาว่าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ต่อมาพบว่า พันธุ์ Tioga สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตรและพื้นที่ราบของทั้งสองจังหวัด

เกษตรกรขณะนั้นเกือบทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปโดยไม่มีพันธุ์อื่นมาแทนที่ พ.ศ. 2528 ได้มีการนำพันธุ์ Akio Pajaro และ Douglas จากอเมริกาทดลองปลูกในสถานีโครงการหลวงที่ดอยอินทนนท์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จากนั้นในปี พ.ศ. 2529 ได้นำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aiberry จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูกเพิ่มเติมผลปรากฎว่าสองพันธุ์แรกสามารถปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง ภายหลังจึงเริ่มมีผู้นำพันธุ์อื่น ๆ เข้ามาปลูกทดสอบมากมาย

ขอบคุณภาพ : Royaloffice.th

โครงการหลวงได้ศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่องและได้มีการขอตั้งชื่อพันธุ์สตรอว์เบอร์รีเป็นพันธุ์พระราชทานในโอกาสต่างๆ ดังนี้

-พันธุ์พระราชทาน 50 ตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปีในปี พ.ศ. 2539

-พันธุ์พระราชทาน 70 เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา ใน ปี พ.ศ. 2540

-พันธุ์พระราชทาน 72 เนื่องในโอกาสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 72 พรรษา ใน ปี พ.ศ. 2542

ขอบคุณภาพ : Royaloffice.th

– พันธุ์พระราชทาน 60 ตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีในปี พ.ศ. 2549

-พันธุ์พระราชทาน 80 เนื่องในโอกาส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา ในปี พ.ศ. 2550 (เป็นพันธุ์การค้าของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อยู่ในขณะนี้)

-พันธุ์พระราชทาน 88 ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 88 พรรษาปี ในปีพ.ศ. 2558

ขอบคุณภาพ : Royaloffice.th

ล่าสุด มูลนิธิโครงการหลวงได้ปรับปรุงพันธุ์ใหม่มีศักยภาพในการผลิตสารแอนโทไซยานินสูง หรือ รหัส #28 ต้นที่ 7 เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ 329 และพันธุ์พระราชทาน 80 และ ได้ทำการผสมพันธุ์ ในโครงการวิจัย “การปรับปรุงพันธุ์สตรอว์เบอร์รีเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการผลิตสารแอนโทไซยานิน” โดยเป็นโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมูลนิธิโครงการหลวงและมหาวิทยาลัยนเรศวร ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 ปี พ.ศ.2557-2561 โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ภายใต้ ทุนพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ได้ทำการคัดเลือกต้นสตรอว์เบอร์รีที่มีศักยภาพในการผลิตแอนโทไชยานินสูง ได้ 34 คู่ผสม 

และได้ส่งมอบต้นไหลสตรอว์เบอร์รี 34 คู่ผสมดังกล่าว ให้แก่มูลนิธิโครงการหลวง ในปี พ.ศ.2561 โดยดำเนินการปลูกทดสอบและขยายพันธุ์ ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ ในปีพ.ศ. 2562 ได้ทำการคัดเลือกต้นที่มีแอนโทไซยานินสูงที่สุด จำนวน 2 คู่ ผสม เพื่อปลูกทดสอบ-คัดเลือก ต้นที่ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ เหมาะสำหรับพื้นที่สูง ในปีพ.ศ. 2563 สามารถได้คัดเลือก 1 คู่ผสม ได้แก่ #28 ต้นที่7 (พันธุ์ 329 X พันธุ์พระราชทาน 80) ที่มีความเหมาะสมต่อการส่งเสริมแก่ เกษตรกร มากที่สุด 

จุดเด่น คือ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารแอนโทไซยานินสูง ปริมาณสารแอนโทไซยานินทั้งหมดเฉลี่ยเท่ากับ 40.83 mg/100g FW ตามลำดับ สูงกว่าพันธุ์การค้าทั่วไป 1-2 เท่า และมีปริมาณ Pelargonidin-3-glucoside เฉลี่ยเท่ากับ 484.26 mg/kg FW สูงกว่าพันธุ์การค้าทั่วไป 2-3 เท่า 

ขอบคุณภาพ : Royaloffice.th

ปัจจุบันโครงการหลวง ดำเนินงานในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แม่ฮ่อง สอน และ ตาก มีสถานีวิจัยหลัก 4 สถานี และสถานีส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่น เรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จำนวน 35 ศูนย์ โดยศูนย์พัฒนาโครงการหลวงล่าสุด คือ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ จังหวัดตาก

ผลผลิตจากโครงการหลวงในปัจจุบัน ประกอบด้วย ผัก ผลไม้ สมุนไพร ถั่วและธัญพืช เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว ผลิตผลปศุสัตว์ ผลิตผลประมง ผลิตผลป่าไม้ ดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์จากแฝก ไม้กระถาง และผลิตภัณฑ์แปรรูป รวมทั้งกาแฟ ในชื่อการค้า “โครงการหลวง” ซึ่งงานทั้งหมดจะเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยเฉพาะชาวไทยด้อยโอกาส ชุมชุนในพื้นที่ห่างไกล และพื้นที่สูง และส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในพื้นที่ดีขึ้นอย่างมากโดยไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด อีกด้วย.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img