วันอาทิตย์, พฤษภาคม 12, 2024
หน้าแรกHighlight''หมอยง''แนะติดวันหยุดยาวฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 2 เลื่อนออกไปได้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”หมอยง”แนะติดวันหยุดยาวฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 2 เลื่อนออกไปได้

”นพ.ยง ภู่วรวรรณ’’อธิบายว่าในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์สามารรถเลื่อนฉีดวัคซีนเข็มที่ 2  ออกไปได้  เหตุฉลากยากระทรวงกำหนดไว้ชัดเจนที่ 10-12 สัปดาห์

เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง ‘’วัคซีนโควิด ระยะห่างในการฉีดเข็มที่ 2 เมื่อมีวันหยุดยาว’’ว่า  เมื่อก้าวเข้าสู่เดือนเมษายน เราจะมีวันหยุดยาวช่วงสงกรานต์หยุด 6 วันบ้าง บางคนลาทั้งสัปดาห์หรือ 9 วันไปเลย การนัดให้วัคซีนเข็มที่ 2 หลายคนจะตรงช่วงวันหยุด จะเลื่อนการฉีดอย่างไรดี

cr /กระทรวงสาธารณสุข

วัคซีนจีน Sinovac ในการศึกษาระยะสองกำหนดระยะห่างที่ 2 และ 4 สัปดาห์ในการให้วัคซีนเข็มที่สอง ผลปรากฏว่าการให้เข็มที่สองที่ 4 สัปดาห์ ภูมิต้านทานสูงกว่าที่ 2 สัปดาห์มาก เรามีข้อมูลแค่ 2-4 สัปดาห์ การกำหนดตารางฉีดเข็มที่สองในไทยจึงเป็น 3-4 สัปดาห์

กระทรวงสาธารณสุข

เช่นเดียวกับวัคซีน AstraZeneca การศึกษาให้ฉีดที่ 4-6 สัปดาห์ แต่การศึกษาจริงวัคซีนขาดเลยมีการฉีดเข็มที่สองเลยไปถึง 12 สัปดาห์และพบว่าการให้วัคซีนเข็มที่สองที่ 4-6 สัปดาห์ ภูมิต้านทานสู้การให้ที่ 6-12 สัปดาห์ไม่ได้และยิ่งช้า 10-12 สัปดาห์ยิ่งดี ประเทศไทยจึงกำหนดในฉลากยาเป็น 4-12 สัปดาห์ ตามที่ปรากฏในกระดาษฉลากยา กระทรวงกำหนดให้การฉีดเข็มที่สองไว้ที่ 10-12 สัปดาห์

ดังนั้น เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ฉีดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้รับบริการ ไม่พร้อม ไม่สบาย หรือตรงกับวันหยุดยาว หรือความไม่พร้อมของผู้รับ, ผู้ให้, วัคซีนขาด การนัดเข็มที่สองขอให้เลื่อนออกไป ไม่ใช่เลื่อนเข้ามา เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าห่างออกผลจะดีกว่าเลื่อนเข้ามา การทิ้งไว้นานกลัวเป็นโรคเสียก่อนแต่การระบาดของโรคในบ้านเราไม่ได้มากจึงเลื่อนออกได้

การเลื่อนออกไป บางครั้งจะเกินกำหนดที่เขียนไว้ในฉลากยาทำให้เหมือนการปฏิบัตินอกเหนือกฎเกณฑ์ที่กำหนด ถึงคนไข้ลืมมาตามนัดอย่างวัคซีนไวรัสตับบีก็ไม่เป็นไรเพราะเราผู้กันอยู่แล้วว่าสามารถเลื่อนได้ แต่เมื่อเป็นวัคซีนใหม่ก็ต้องอธิบายให้เข้าใจและยอมรับในการเลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงกำหนดการให้วัคซีนของผู้รับด้วย

นอกจากนั้นศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ  ยังอธิบายเรื่อง’’โควิด-19 วัคซีน อาการหรือโรคที่พบร่วมด้วย’’ว่า ในการให้วัคซีนหมู่มากเป็นแสนเป็นล้านโดสต้องเจอกับอาการที่พบร่วมด้วยอย่างแน่นอนและต่อไปจะเป็นข่าวทุกวัน ทั่วโลกขณะนี้มีการให้วัคซีนไปแล้ว 500 ล้านโดส เราจะได้ยินว่าหลังให้วัคซีนแล้วมีการเสียชีวิตบ้าง มีโรคต่างๆที่เป็นอยู่แล้วหรือโรคที่ยังไม่ได้วินิจฉัยมาก่อน มาวินิจฉัยหลังการให้วัคซีน ในทุกประเทศจะเจอการตายหลังการให้วัคซีน และเมื่อมีการพิสูจน์ก็ยอมรับความจริงว่าเกิดจากโรคพื้นฐานหรือที่เป็นอยู่ก่อน

สำหรับประเทศไทยในประชากรหนึ่งล้านคนใน 1 อาทิตย์ก็จะต้องมีคนเสียชีวิตอยู่แล้ว การให้วัคซีนในกลุ่มแรกของประชากรไทยที่ตั้งไว้รองลงมาจากบุคลากรทางการแพทย์คือกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวเพื่อป้องกัน เพราะรู้ว่าถ้าเป็นโควิด-19 จะมีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ จึงกำหนดให้เป็นประชากรกลุ่มแรกๆที่ควรได้รับวัคซีนเพราะวัคซีนมีปริมาณจำกัด การให้ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวเป็นกลุ่มที่เปราะบางและมีอัตราการเสียชีวิตในภาวะปกติได้อยู่แล้ว

ดังนั้นการเสียชีวิตหลังการให้วัคซีนก็พบได้เช่นกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการพิสูจน์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ข่าวดังกล่าวสำหรับประเทศไทยได้มีการแพร่กระจายเร็วมากโดยเฉพาะทางด้านลบ ผู้รับจะต้องพิจารณาด้วยเหตุและผล ประเทศไทยควรมีการเสนอตัวเลขอัตราการเสียชีวิตจากโรคต่างๆในภาวะปกติและเมื่อเกิดขึ้นหลังการให้วัคซีน ตัวเลขก็ไม่ควรจะมากกว่าในภาวะปกติ

กระทรวงสาธารณสุข

การให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคและเราคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ได้กับความเสี่ยงของวัคซีน วัคซีนได้ผ่านการศึกษามา 3 ระยะ ตามกฎเกณฑ์ต่างๆและยอมให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินโรคระบาด ถ้าเราจะรับวัคซีนเราไม่ใช่ประชากรหมื่นแรก แสนแรก หรือล้านแรก ที่ได้รับวัคซีน เพราะวัคซีนแต่ละชนิดใช้กันเป็นสิบเป็นร้อยล้านแล้ว

การให้วัคซีนในครั้งนี้ไม่ได้เป็นการบังคับเป็นไปด้วยความสมัครใจ อาการข้างเคียงของวัคซีนที่พบได้ส่วนใหญ่จะมีอาการน้อย เช่นปวดเมื่อยเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ มีไข้เจ็บบริเวณที่ฉีด มีบวมแดง พบได้บ้างและก็จะหายไปในที่สุด ประโยชน์ของวัคซีนในครั้งนี้เพื่อป้องกัน เมื่อเราติดเชื้ออาการของโรคจะได้ไม่รุนแรงหรือเสียชีวิต ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ เราก็เชื่อว่าจะลดการระบาดของโรคได้อย่างแน่นอน

วิกฤตการณ์ครั้งนี้จะสงบลงได้ในอนาคตด้วยวัคซีน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img