วันอาทิตย์, พฤษภาคม 12, 2024
หน้าแรกHighlightเปิดคำพิพากษาคดี''เทพเทือก''และพวก 39 คนขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดคำพิพากษาคดี”เทพเทือก”และพวก 39 คนขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์

เปิดคำพิพากษาศาลคดีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวกรวม 39 คน จำเลย ในความผิดฐานกบฏก่อการร้าย ล้มล้าง การปกครอง ขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ศาลอาญาได้นัดฟังคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.๒๔๗/๒๕๖๑ พ่วง อ.๘๓๒/๒๕๖๑, อ.๑๑๘๕/๒๕๖๑, อ.๒๖๐๓/๒๕๖๑,อ.3376/2561, อ.๔๙๑/๒๕๖๒, อ.๗๑๙/๒๕๖๒, อ.๑๓๑๕/๒๕๖๒, อ.๑๗๖๐/๒๕๖๒, อ.๒๓๗๘/๒๕๖๒ ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ ๔ โจทก์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ ๑ กับพวกรวม ๓๙ คน จำเลย ในความผิดฐานกบฏก่อการร้าย ล้มล้าง การปกครอง ขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๖

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งหมดแล้วเห็นว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 12 ที่ 14 ที่ 15 ที่ 16 ที่ 17 ที่ 19 ที่ 20 ที่ 24 ที่ 25 ที่ 26ที่ 29 ที่ 30 ที่ 33 ที่ 34 ที่ 35 ที่ 37 และที่ 38 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116, 117 วรรคหนึ่ง, 215 วรรคสอง, 216, 358, 365 (2) (3), 362, 364 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86 และจ าเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 ที่ 16 ที่ 24 ที่ 33 และที่ 38 มีความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 76, 152 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 15 ที่ 16 ที่ 17 ที่ 24 ที่ 29 ที่ 33 ที่ 34 และที่ 38 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษแต่ละกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ ฐานร่วมกันยุยงให้เกิดการร่วมกันหยุดงานเพื่อบังคับรัฐบาล ฐานร่วมกันบุกรุกสำนักงานในความครอบครองของผู้ อื่ น ฐ าน ร่ วม กั น บุ ก รุก อ สังห า ริมท รัพ ย์ ข องผู้ อื่ น
สำห รับ จำเล ยที่ 1 2 แ ล ะที่ 1 4 ผิดฐานร่วมกันเป็นผู้สนับสนุนผู้ร่วมกระทำความผิด ฐานร่วมกันยุยงฯ และฐานร่วมกันบุกรุก(เฉพาะจำเลยที่ 12) การกระทำเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ฐานร่วมกันยุยงให้เกิดการร่วมกันหยุดงานเพื่อบังคับรัฐบาลจำคุก จำเลยที่ 1 (๒ กระทง), ที่ 3 (6 กระทง), ที่ 4 (5 กระทง), ที่ 5 (6 กระทง), ที่ 6 (1 กระทง),ที่ 7 (4 กระทง), ที่ 8 (2 กระทง), ที่ 9 (1 กระทง), ที่ 10 (1 กระทง), ที่ 15 (3 กระทง),ที่ 16 (3 กระทง), ที่ 17 (2 กระทง), ที่ 19 (1 กระทง), ที่ 20 (1 กระทง), ที่ 24 (2 กระทง),ที่ 25 (1 กระทง), ที่ 26 (2 กระทง), ที่ 29 (2 กระทง), ที่ 30 (1 กระทง), ที่ 35 (1 กระทง)
ส่วนจำเลยที่ 12 ให้ลงโทษฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ (1 กระทง), ที่ 14 (1 กระทง) จ าคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน และส าหรับจำเลยที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 12 ที่ 14 ที่ 19 ที่ 20 ที่ 25 และที่ 35 ให้ปรับกระทงละ20,000 บาท และปรับจ าเลยที่ 17 จำนวน 40,000 บาท ฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ จำเลยที่ ๑ (๓ กระทง), ที่ 3 (3 กระทง), ที่ 4 (2 กระทง),ที่ 5 (1 กระทง), ที่ 7 (1 กระทง), ที่ 8 (4 กระทง), ที่ 16 (1 กระทง), ที่ 24 (2 กระทง),ที่ 30 (1 กระทง), ที่ 33 (2 กระทง) และที่ 38 (1 กระทง) จ าคุกกระทงละ 1 ปี 6 เดือน
สำหรับจำเลยที่ 38 ปรับ 20,000 บาท ฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้ใดผู้หนึ่งมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ให้จำคุกจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 34 คนละ 1 ปีฐานร่วมกันบุกรุกสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นในเวลากลางคืน และฐานทำให้เสียทรัพย์เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษบทที่มีอัตราโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยที่ 34 มีกำหนด 1 ปี ฐานร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น จำคุกจำเลยที่ 34 และที่ 37 คนละ 6 เดือน และปรับจ าเลยที่ 37 จำนวน 10,000 บาท ความผิดฐานร่วมกันกระท าการใดโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อมิให้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิได้ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 (2กระทง), ที่ 5 (1 กระทง), ที่ 8 (2 กระทง),ที่ 16 (1 กระทง), ที่ 24 (2 กระทง), ที่ 33 (2 กระทง), ที่ 38 (1 กระทง) ให้จำคุกกระทงละ 1 ปีและปรับจำเลยที่ 38 จำนวน 20,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 ที่ 16 ที่ 24 ที่ 33 และที่ 38 มีกำหนด 5 ปี

ทางพิจารณาจำเลยดังกล่าวนำสืบเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้างเห็นสมควรลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ลดโทษให้กระทงละ 1 ใน 3 ฐานร่วมกันยุยงให้เกิดการร่วมกันหยุดงานเพื่อบังคับรัฐบาล จ าคุกจ าเลยที่ 1 (๒ กระทง) 2 ปี, ที่ 3 (6 กระทง) 6 ปี, ที่ 4 (5 กระทง) 5 ปี, ที่ 5 (6 กระทง) 6 ปี, ที่ 6 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 7 (4 กระทง) 4 ปี, ที่ 8 (2 กระทง) 2 ปี, ที่ 9 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 10 (1 กระทง) 1 ปี,ที่ 15 (3 กระทง) 3 ปี, ที่ 16 (3 กระทง) 3 ปี, ที่ 17 (2 กระทง) 2 ปี, ที่ 19 (1 กระทง) 1 ปี,ที่ 20 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 24 (2 กระทง) 2 ปี, ที่ 25 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 26 (2 กระทง) 2 ปี,ที่ 29 (2 กระทง) 2 ปี, ที่ 30 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 35 (1 กระทง) 1 ปี

ส่วนจำเลยที่ 12 ให้ลงโทษฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 14 (1 กระทง) 1 ปี และสำหรับจำเลยที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 12 ที่ 14 ที่ 19 ที่ 20 ที่ 25 และที่ 35 ให้ปรับกระทงละ 13,333 บาท และปรับจำเลยที่ 17 จำนวน
26,666 บาทฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ จำเลยที่ ๑ (๓ กระทง) 3 ปี , ที่ 3 (3 กระทง) 3 ปี ,ที่ 4 (2 กระทง) 2 ปี, ที่ 5 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 7 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 8 (4 กระทง) 4 ปี, ที่ 16 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 24 (2 กระทง) 2 ปี, ที่ 30 (1 กระทง) 1 ปี, ที่ 33 (2 กระทง) 2 ปี และที่ 38 (1 กระทง) 1 ปี และปรับจำเลยที่ 38 จ านวน 13,333 บาทฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้ใดผู้หนึ่งมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ให้จำคุกจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 34 คนละ 8 เดือนฐานร่วมกันบุกรุกสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นในเวลากลางคืน ให้จำคุก จำเลยที่ 34 มีกำหนด 8 เดือน ฐานร่วมกันบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น จำคุกจำเลยที่ 34 และที่ 37 คนละ 4 เดือน และปรับจ าเลยที่ 37 จ านวน 6,666 บาท ฐานร่วมกันกระทำการใดโดยไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้สิทธิได้ให้ลงโทษจำเลยที่ 3 (2 กระทง) 16 เดือน, ที่ 5 (1 กระทง) 8 เดือน,ที่ 8 (2 กระทง) 16 เดือน, ที่ 16 (1 กระทง) 8 เดือน, ที่ 24 (2 กระทง) 16 เดือน,ที่ 33 (2 กระทง) 16 เดือน, ที่ 38 (1 กระทง) 8 เดือน และปรับจำเลยที่ 38 จำนวน13,333 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 ที่ 16 ที่ 24 ที่ 33 และที่ 38 มีกำหนด 5 ปี

เมื่อรวมทุกกระทงแล้วจำเลยที่ 1 คงจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 3 คงจำคุก 9 ปี 24 เดือนจำเลยที่ 4 คงจำคุก 7 ปี จำเลยที่ 5 คงจำคุก 7 ปี 16 เดือน จำเลยที่ 6 คงจ าคุก 1 ปี และปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 7 จ าคุก 5 ปี จำเลยที่ 8 คงจ าคุก 6 ปี 16 เดือน จำเลยที่ 9 คงจ าคุก 1 ปี และปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 10 คงจำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 12 คงจำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 14 คงจำคุก 1 ปี ปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 15 คงจำคุก 3 ปี จำเลยที่ 16 คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 17 คงจำคุก 2 ปี และปรับ 26,666 บาท จำเลยที่ 19 คงจ าคุก 1 ปี และปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 20 คงจำคุก 1 ปี และปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 24 คงจำคุก 4 ปี 16 เดือน จำเลยที่ 25 คงจำคุก 1 ปี และปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 26 คงจำคุก 2 ปี จำเลยที่ 29 คงจำคุก 2 ปีจำเลยที่ 30 คงจำคุก 2 ปี จำเลยที่ 33 คงจำคุก 2 ปี 16 เดือน จำเลยที่ 34 คงจำคุก 20 เดือน จำเลยที่ 35 คงจำคุก 1 ปี และปรับ 13,333 บาท จำเลยที่ 37 คงจำคุก 4 เดือน และปรับ 6,666 บาท จำาเลยที่ 38 คงจำคุก 1 ปี8 เดือน และปรับ 26,666 บาท

สำหรับจำเลยที่ 6 ที่ 9 ที่ 10 ที่ 12 ที่ 14 ที่ 17 ที่ 19 ที่ 20 ที่ 25 ที่ 35 ที่ 37 และที่ 38 นั้น บางคนเป็นเพียงผู้เข้าร่วมชุมนุมเท่านั้น ส่วนบางคนแม้จะเป็นแกนนำในการชุมนุมด้วยก็ตาม แต่ความผิดที่จำเลยแต่ละคนกระทำก็น้อยกว่าจำเลยอื่น ไม่ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อุกอาจหรือรุนแรงจากการชุมนุมของจำเลยนี้ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยดังกล่าวเคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้โอกาสจำเลยดังกล่าวกลับตัวเป็นพลเมืองดีด้วยการรอการลงโทษมีกำหนดคนละ 2 ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 56 ไม่ชำาระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 ที่ 16 ที่ 24 ที่ 33 และที่ 38 มีกำหนด 5 ปีให้นับโทษจำเลยที่ 15 ที่ 25 ที่ 30 ต่อจากโทษจำเลยดังกล่าวตามคำขอท้ายฟ้อง

ส่วนจำเลยอื่นศาลรอการลงโทษ จึงไม่อาจนับโทษต่อได้ยกฟ้องโจทก์ร่วมทั้งสองยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 13 ที่ 18 ที่ 21 ที่ 22 ที่ 23 ที่ 27 ที่ 28 ที่ 31 ที่ 32 ที่ 36 และที่ 39 ยกคำขอและข้อหาอื่นจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๗ ที่ ๘ ที่ ๑๕ ที่ ๑๖ ที่ ๒๔ ที่ ๒๖ ที่ ๒๙ ที่ ๓๐ ที่ ๓๓ และที่ ๓๔ ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์ศาลพิจารณาแล้วเห็นควรส่งคำร้อง ขอปล่อยตัวชั่วคราวในส่วนจำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๗ ที่ ๘ ที่ ๑๖ และที่ ๒๔ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา จากนั้นจึงได้ออกหมายขังและส่งตัวจำเลยดังกล่าวไปขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพแล้ว

ส่วนจำเลยที่ ๑๕ ที่ ๒๖ ที่ ๒๙ ที่ ๓๐ ที่ ๓๓ และที่ ๓๔ ศาลมีค าสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่ วคราวระหว่างอุทธรณ์ โดยตีหลักประกันคนละ ๖๐๐,๐๐๐ บ าท และ จำเลยที่ศาลรอการลงโทษเมื่อชำระค่าปรับแล้ว จึงปล่อยตัวไปเช่นเดียวกับจำเลยที่ศาลยกฟ้อง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img