วันศุกร์, พฤษภาคม 24, 2024
หน้าแรกNEWS"วิษณุ"ยันยุบสภาตอนนี้ไม่ได้ เหตุแบ่งเขตไม่เสร็จ ปัดไม่ใช่ต้องการยื้อเวลาวอนปชช.เข้าใจ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“วิษณุ”ยันยุบสภาตอนนี้ไม่ได้ เหตุแบ่งเขตไม่เสร็จ ปัดไม่ใช่ต้องการยื้อเวลาวอนปชช.เข้าใจ

“วิษณุ” ชี้ยังยุบสภาตอนนี้ไม่ได้ ยืนยันไม่ไช่ต้องการยื้อเวลาขอประชาชนเข้าใจ แต่ต้องรอกกต.แบ่งเขตเลือกตั้งแล้วเสร็จ หวั่นเกิดปัญหาซิกแซกชิงความได้เปรียบพื้นที่ เชื่อช้าสุดไม่เกินก.พ.นี้

เมื่อวันที่ 30 ม.ค. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการหารือกับนายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เกี่ยวกับการเตรียมการจัดการเลือกตั้ง ภายหลังกฎหมายลูกทั้ง 2 ฉบับประกาศใช้ เมื่อถามว่าจะมีโอกาสยุบสภาก่อนช่วง 45 วันหลังกฎหมายลูกมีผลบังคับใช้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่าช่วงระยะเวลา 45 วัน แปลว่าคิดถึงความสะดวกจัดการเลือกตั้งได้สบายๆภายในระยะเวลา 45 วัน แต่บางครั้งการยุบสภาเป็นปรากฎการณ์ทางการเมืองที่ยึดความสะดวกและเอาสบายอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ถือเป็นการดีที่ได้มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งสองฉบับไปแล้ว แต่สิ่งที่เป็นปัญหาจากนี้ไปคือกกต. ต้องลงมือแบ่งเขตเลือกตั้ง จากเดิม 350 เขต มาเป็น 400 เขต ที่สำคัญบางจังหวัดจำนวนประชากรเพิ่ม บางจังหวัดลดลง ดังนั้นจะกระทบจำนวนส.ส.

ทั้งนี้การแบ่งเขต ถ้ากกต.แบ่งเองวันเดียวเสร็จก็ได้ แต่ต้องให้กกต.จังหวัดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและพรรคการเมืองในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จึงอาจเป็นเดือนก.พ.ทั้งเดือน อาจเร็วกว่านั้นก็ได้ถ้าแต่ละจังหวัดรายงานกลับมาเร็ว และหลังจากนั้นยุบสภาเมื่อไหร่ แต่จะให้เร็วเหมือนใครคิดว่าเมื่อพ.ร.ป.เลือกตั้ง ประกาศ แล้ว ยุบๆได้แล้ว เห็นรัฐบาลเงียบๆ ยุบได้แล้วให้รีบยุบ ซึ่งถ้ายุบตอนนี้จัดการเลือกตั้งไม่ได้ เพราะยังไม่รู้ใครลงเขตไหนยังไง

เมื่อถามว่า แสดงว่าหลังวันที่ 28 ก.พ. มีโอกาสยุบสภาได้เลยใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่าเมื่อไหร่ก็ได้ 29 ก.พ.ก็ได้ ย้ำว่า 45 วันคือเอาแบบสบายๆ แต่ได้เรียนไปว่าบางครั้งการเมืองไม่สามารถเอาสบายๆ ได้ ยุบสภาเป็นวิกฤติการณ์การเมือง ไม่สามารถยุบสภาก่อนการรู้เขตเลือกตั้งได้ เพราะถ้ายุบสภาแล้วต้องประกาศวันเลือกตั้งทันที ซึ่งกกต. เป็นผู้กำหนดไม่ใช่รัฐบาลกำหนด ซึ่งต้องผ่าน 3 ด่าน คือ ด่านแรกต้องออกพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ด่านที่ 2 กกต. ต้องประกาศวันเลือกตั้ง และด่านที่ 3 ประกาศวันสมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้นเท่ากับต้องรู้เขตเลือกตั้งแล้วเรียบร้อย ถ้าหากซิกแซกแบ่งเขตก็จะเกิดปัญหาได้ เช่น บ้านซอยเดียวกันคนละเขต หรือเรียกว่าเป็นการแบ่งเขตตามใจชอบชิงความได้เปรียบเสียเปรียบ รู้ว่าคนหมู่บ้านนี้ไม่ชอบก็แบ่งเขตเอาหมู่บ้านนี้มา แบ่งเขตตามใจชอบแบบสะเปะสะปะ

อย่างไรก็ตามตนจะนำเรื่องนี้กราบเรียนนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบในวันพรุ่งนี้(31 ม.ค.) แต่จะพูดแค่ครม.ไม่ได้ ต้องส่งสัญญาฯทั้งประเทศ เพราะยังมีพรรคการเมืองที่ไม่ได้นั่งอยู่ในตึกสันติไมตรีด้วยทุกคนต้องรู้แบบเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้มีแผนสำรองหากยุบสภาแล้วไทม์ไลน์เลือกตั้งจะไปตรงกับวันหยุดที่รัฐบาลประกาศหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่กระทบอะไร ก่อนประกาศวันหยุดก็ถามกกต. ก่อนแล้ว ทั้งนี้ย้ำว่าการแบ่งเขตไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะเปลี่ยนจาก 350 เขต เป็น 400 เขต เปลี่ยนไปถึง 50 เขต บางจังหวัดส.สลดลง บางจังหวัดส.ส.เพิ่มขึ้นดังนั้นถือว่ากระทบมากจึงต้องใจเย็นๆ

เมื่อถามว่าแต่ยังมีบางส่วนที่ไม่เข้าใจและมองว่ารัฐบาลยื้อเวลา นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้ยื้อเลย ดังนั้นขอให้กรุณาทำความเข้าใจกับประชาชนให้ด้วยว่าไม่ได้ยื้ออะไรทั้งนั้น ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน ซึ่งกกต.และองค์กรอิสระกำหนด

เมื่อถามว่า หลังจากนี้จะนัดคุยกับกกต.อีกเมื่อไหร่ นายวิษณุ กล่าวว่าคาดว่าในสัปดาห์นี้ กตต.จะส่งร่างประกาศเล็กๆน้อยๆมาให้อีก 4 ฉบับ ข้อที่ 1 ว่าด้วยระเบียบวิธีการแบ่งเขต ข้อที่ 2 ว่าด้วยระเบียบวิธีทำไพรมารี่ ข้อที่ 3 ว่าด้วยระเบียบ การจัดตั้งสาขาพรรค และข้อที่ 4 ประกาศว่าด้วยจำนวนส.ส. พึงมีในแต่ละจังหวัดและในสัปดาห์หน้าจะส่งฉบับใหญ่มาอีก 1 ฉบับ โดยตนได้ขอร้องไปยัง กกต.ว่า ที่ผ่านมากกต.ได้ออกประกาศระเบียบทยอยออกประกาศทีละฉบับ อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายไปหมด จึงขอให้ช่วยยุบรวมมาหมวดๆ ซึ่งกกต.ยอมรับว่า ที่ได้ทยอยออกมานั้น เพราะเป็นกฎหมายคนละมาตราและยังอิงกฎหมายเก่า ขณะนี้ใช้กฎหมายใหม่แล้ว จะประมวลมาเป็นฉบับเดียว เช่น วิธีหาเสียงทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้ ไปงานแต่งได้หรือไม่ แจกพวงหรีดได้หรือไม่ ซึ่งกกต.ก็รับปากไว้ว่าจะรวบรวมมาเป็นฉบับเดียว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img