วันเสาร์, พฤษภาคม 25, 2024
หน้าแรกHighlight“ปชป.-ชทพ.-ภท.”ชงแก้รธน.สมัยประชุมหน้า พ.ค.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ปชป.-ชทพ.-ภท.”ชงแก้รธน.สมัยประชุมหน้า พ.ค.นี้

“นิกร” เผยคุย 3 พรรค “ปชป.-ชทพ.-ภท.” จะชงญัตติแก้ไขรธน. มาตรา 256 สมัยประชุมหน้า เดือนพ.ค.นี้ พร้อมหนุนให้แก้มาตรา 9 ร่างพ.ร.บ.ประชามติ

เมื่อวันที่ 19 มี.ค.64 นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงจุดยืนของพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า จะเดินหน้าแก้ไขต่อ เบื้องต้นตนได้คุยกับนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.), นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และนายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ในฐานะเป็นกมธ.แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความเห็นร่วมกันว่าในการเปิดสมัยประชุมสภาฯ เดือนพ.ค.นี้ จะพิจารณาเสนอญัตติขอแก้รัฐธรรมนูญ ในประเด็นที่สามารถเดินหน้าร่วมกันได้ คือมาตรา 256 ที่รัฐสภา ได้ผ่านการพิจารณาและเห็นพ้องกันในวาระสอง คือปรับเงื่อนไขการใช้เสียงรับหลักการวาระแรก และเสียงเห็นชอบวาระสาม โดยเสียง 3 ใน 5 โดยตัดเกณฑ์เสียง ส.ว. 1 ใน 3 และเสียงพรรคฝ่ายค้านร้อยละ 20 ออก

“การลงมติในวาระสาม ทำให้เห็นแล้วว่า เสียงของ ส.ว.ที่เห็นชอบ 2 เสียง ไม่มีทางจะให้รัฐธรรมนูญจะแก้ไขได้ เพราะถือเกณฑ์ 84 เสียง เท่ากับว่าให้สิทธิ์ 84 เสียงหักกับอีก 500 เสียง ซึ่งไม่ถูกหลัก นอกจากนั้นยังมีประเด็นที่เห็นว่าควรเสนอแก้ไข เช่น สิทธิของประชาชน การกระจายอำนาจ การเลือกตั้ง ที่ต้องแก้ไขวิธีนับคะแนนและระบบไพรมารี่โหวต แต่ต้องไม่แตะหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์”นายนิกร กล่าว

เมื่อถามถึงการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ประเด็นใหญ่ คือ ยุบส.ว., ปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ และเลิกยุทธศาสตร์ชาติ นายนิกร กล่าวว่า ประชาชนสามารถเคลื่อนไหวได้ แต่ประเด็นที่นำเสนอมาจากแกนนำประชาชนนั้น ไม่ทราบว่าประชาชนจะเอาด้วยแค่ไหน ส่วนตัวมองว่าหากชู 3 ประเด็นดังกล่าวคงจะยาก เพราะเท่ากับล้มศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งต้องนำไปทำประชามติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 256(8)

นายนิกร กล่าวยอมรับว่า ตนเป็น 1 ใน 267 เสียง ที่ลงมติสนับสนุนให้ มาตรา 9 ของร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการประชามติ แก้ไขปรับปรุงตามข้อเสนอของกรรมาธิการ (กมธ.) เสียงข้างน้อย ซึ่งเนื้อหาได้เปิดช่องให้รัฐสภา ประชาชน มีสิทธิเสนอเรื่องให้ทำประชามติ เพราะเห็นว่าควรเปิดกว้างการเสนอให้ทำประชามติที่ไม่ควรมีแค่จากฝั่งรัฐบาลเท่านั้น และเมื่อพิจารณาเรื่องที่สอดคล้องกัน คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากกฎหมายประชามติผ่าน รัฐสภาจะมีสิทธิ์เสนอให้ทำประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ตกไป จุดนี้เชื่อว่าจะเป็นทางออกตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญได้ อย่างไรก็ตามการเปิดช่องให้การทำประชามติไม่ถูกจำกัดเฉพาะดุลยพินิจของฝ่ายบริหารนั้น ตนกังวลว่าร่างพ.ร.บ.ประชามติอาจถูกคว่ำในวาระสามได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img