วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกNEWSส.วินาศภัยไทยร่อนหนังสือถึงคปภ.เปิดทางยกเลิกประกันโควิด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ส.วินาศภัยไทยร่อนหนังสือถึงคปภ.เปิดทางยกเลิกประกันโควิด

สมาคมประกันวินาศภัยไทยร่อนหนังสือถึงบอร์ดคปภ.ยกเลิกคำสั่งนายทะเบียน 2 ฉบับ ทั้งบอกเลิกกรมธรรม์โควิด-การรักษาพยาบาลให้มีผลย้อนหลัง ชี้ขัดหลักการออกกฎหมายของประเทศ

รายงานข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัยไทยแจ้งว่า สมาคมฯ ได้ยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนทั้ง 2 ฉบับต่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (บอร์ด คปภ.) พิจารณายกเลิกคำสั่งนายทะเบียน 2 ฉบับ ได้แก่ 1. คำสั่งนายทะเบียนที่ 38/2564 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบริษัท ในกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19

2. คำสั่งนายทะเบียนที่ 17/2564 ลงวันที่ 12 เมษายน 2564 เรื่อง การรักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือเอกสารแนบท้าย เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย

สำหรับการอุทธรณ์คำสั่งนายทะเบียนดังกล่าว มีประเด็นสำคัญมาจากการออกคำสั่งให้มีผลบังคับย้อนหลังไปถึงกรมธรรม์ประกันภัยที่นายทะเบียนได้ให้ความเห็นชอบ และจำหน่ายให้กับประชาชนไปแล้ว ผิดหลักการที่เคยได้ปฏิบัติกันมา และขัดต่อหลักการออกกฎหมายของประเทศ ยังถือว่าเป็นการทำลายหลักการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันวินาศภัย เพราะความเสี่ยงเปลี่ยนไป แต่อัตราเบี้ยประกันภัยไม่ได้เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้การออกคำสั่งดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในระดับวิกฤต และส่งผลทำให้บริษัทประกันวินาศภัย 2 บริษัทต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ เพราะไม่สามารถใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อหยุดยั้งความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้ กระทบผู้ถือกรมธรรม์ประเภทอื่นของ 2 บริษัท กว่า 4 ล้านรายต้องได้รับความเดือดร้อน

อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อคู่สัญญาอื่น ๆ ของบริษัท เช่น โรงพยาบาล อู่ซ่อมรถ สถาบันการเงิน พนักงานของบริษัท รวมถึงเป็นภาระต่อกองทุนประกันวินาศภัยเป็นอย่างมากที่ต้องมาใช้หนี้ให้กับผู้มีสิทธิตามสัญญาประกันภัยอีกด้วย

ทั้งนี้ สมาคมฯ ขอยืนยันในหลักการเรื่องความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย โดยผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ติดเชื้อ COVID-19 จะได้รับความคุ้มครองแบบผู้ป่วยในต่อเมื่อเป็นผู้ป่วยที่มีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ได้รับการวินิจฉัยและคำแนะนำจากแพทย์ตามข้อบ่งชี้ซึ่งเป็นมาตรฐานทางการแพทย์ ให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่มีอาการแต่เข้ากักตัวในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img