วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlightแนะ“จ่ายเบี้ยยังชีพคนชรา”แบบถ้วนหน้า “ทีดีอาร์ไอ”ชี้ป้องกัน“คนจนจริง”ตกหล่น
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

แนะ“จ่ายเบี้ยยังชีพคนชรา”แบบถ้วนหน้า “ทีดีอาร์ไอ”ชี้ป้องกัน“คนจนจริง”ตกหล่น

“ทีดีอาร์ไอ” แนะจ่ายเบี้ยยังชีพคนชราแบบถ้วนหน้า ป้องกันคนจนจริงตกหล่น ชูแนวคิดแบบลูกผสมเข้ามาแก้ปัญหา พร้อมฝากพรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลชุดใหม่หาเสียงหากให้เงิน 3,000 ต่อเดือนจริงทำให้ใช้งบสูง

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ “ทีดีอาร์ไอ” เปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนเกณฑ์สิทธิรับเบี้ยยังชีพคนชรา จากเดิมเป็นแบบถ้วนหน้า เป็นต้องมีการพิสูจน์ความจนว่า เรื่องนี้เป็นแนวคิดที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้โยนหินถามทางมาแล้ว ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือจะทำให้คนแก่ที่กำลังจะอายุ 60 ปีขึ้นไปและไม่ได้มีฐานะยากจนจะไม่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพตามแนวทางเดิม แต่คนที่เคยได้รับเบี้ยคนชราอยู่แล้วก็จะได้รับต่อไปตามที่บทเฉพาะกาลกำหนดเอาไว้  ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้เหมือนกับย้อนกลับไปก่อนปี 2552 ที่มีการให้เงินอุดหนุนเจาะจงเฉพาะกลุ่ม

โดยผลกระทบของหลักเกณฑ์ใหม่ก็ชัดเจนว่า มีผู้ที่จะมีสิทธิได้เงินน้อยลง ซึ่งความคาดหวังของรัฐบาลที่ออกกฎแบบนี้เพราะต้องการที่จะประหยัดงบประมาณ ตามที่มีการประเมินเป็นตัวเลขในอนาคตว่าจะต้องมีการใช้เงินมากกว่าปัจจุบันที่ประมาณ 80,000 ล้านบาทเพื่อจ่ายเบี้ยคนชรา

ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ต้องใช้งบประมาณที่เพิ่มมากขึ้น มาจากผู้สูงวัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และงบประมาณเที่อาจพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพที่จากเดิมกำหนดไว้ตามขั้นบันไดตามช่วงอายุรายละ 600-1,000 บาทต่อเดือน ตามที่มีพรรคการเมืองหาเสียงไว้ว่าจะเพิ่มจำนวนงบประมาณเบี้ยคนชราต่อหัวด้วย เช่น พรรคก้าวไกลจะปรับเบี้ยคนชราเป็น 3,000 ต่อเดือน และยังมีพรรคการเมืองบางพรรคที่กำลังอยู่ระหว่างการรวมเสียงฟอร์มรัฐบาลกันอยู่ ก็ใช้ตัวเลข 3,000 บาทต่อเดือนเหมือนกัน ซึ่งถ้าทุกคนได้เบี้ยคนชรา 3,000 บาทต่อเดือน จะต้องใช้งบประมาณ 4-5 แสนล้านบาทต่อปี หรือเพิ่มขึ้น 5-6 เท่าจากงบประมาณที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งก็ถือเป็นภาระของงบประมาณที่มากจริง

ทั้งนี้ในส่วนตัวของตนมองว่า ควรเป็นแบบถ้วนหน้าป้องกันคนจนจริงตกหล่น แต่ถ้าจะขยายความต่อว่าผมไม่กังวลเรื่องงบประมาณหรือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขึ้นเป็น 3,000 บาทต่อเดือนจริง ซึ่ง 3,000 บาท ก็เป็นตัวเลขซึ่งสำหรับคนยากจนจริงๆ ก็อธิบายได้ว่าไม่ได้สูงไปสำหรับการที่ต้องให้กับคนที่ยากลำบากจริงๆ แต่ก็จะเป็นปัญหาว่างบประมาณ 4-5 แสนล้านบาทจะไปหาจากไหน

แนวทางที่ตนชอบเป็น “แนวคิดแบบลูกผสม” ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐบาลชุดนี้ก็มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาเรื่องนี้และมีข้อเสนอแนะมาแล้ว ขณะที่ธนาคารโลกก็ออกรายงานมาในแนวทางคล้าย ๆ กันเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว โดยแนวคิดแบบลูกผสม คือ ในเรื่องของถ้วนหน้าให้คงเอาไว้ แต่คงเอาไว้ในระดับที่ไม่สูงนัก เช่น อาจจะเป็นระดับที่ได้ในปัจจุบัน 600-1,000 บาท ผู้สูงอายุจะได้ถ้วนหน้าทุกคนแบบไม่มีการคัดกรอง

ถ้าเกิดว่ากรณีที่พรรคการเมือง ซึ่งมาเป็นรัฐบาลชุดใหม่ อยากจะเพิ่มงบประมาณอีกเป็นพันกว่าบาทหรือกระทั่งถึง 3,000 บาท ตามที่หาเสียงไว้ ในส่วนที่เพิ่มขึ้นตรงนี้ ก็ให้เข้าสู่การคัดกรองได้ เพื่อให้เฉพาะคนจนมาก ๆ ได้รับเงินในส่วนเพิ่มนี้ไป โดยข้อดีคือจะไม่มีใครที่ตกหล่น เพราะไม่ว่าจะใช้เกณฑ์อะไรก็ตามอย่างน้อยจะได้เบี้ยยังชีพของเก่า 600-1,000 บาท จะไม่เป็นศูนย์ ในระหว่างนี้กระบวนการคัดกรองก็พยายามปรับปรุงทำให้ดีขึ้นเพื่อให้คนที่จนได้จริงๆ ได้เข้าถึงเงินในส่วนเพิ่มเติม

ซึ่งก็เอาใจช่วยกระบวนการคัดกรองถึงแม้ว่าประสบการณ์ทั่วไปจะระบุว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้สมบูรณ์แบบ แต่ว่าก็สามารถปรับปรุงได้ ปัญหาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็ปรับปรุงได้ถ้าจะปรับปรุง เพราะฉะนั้นข้อเสนอของผมคือว่าให้เป็นลูกผสม งบประมาณที่ต้องใช้อาจจะมากกว่าปัจจุบัน แต่ว่าจะใช้ไม่มากเท่ากับกรณีที่เป็นถ้วนหน้าในอัตราจ่ายต่อหัวที่สูง งบประมาณที่ต้องจ่าย ไม่ถึง 4-5 แสนล้านบาทต่อปี อาจจะอยู่ที่ราวๆ 2 แสนล้านบาท ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องไปหาเงินมาจะต้องไปเพิ่มภาษีอะไรก็ว่าไป

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img