วันศุกร์, พฤษภาคม 3, 2024
หน้าแรกHighlight“แบงก์ชาติ”ไขข้อเท็จจริงไม่ลดดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อติดลบเหตุมีต้นทุน-ความเสี่ยง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“แบงก์ชาติ”ไขข้อเท็จจริงไม่ลดดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อติดลบเหตุมีต้นทุน-ความเสี่ยง

“แบงก์ชาติ” ยันไม่มีประชุม กนง.นัดพิเศษพิจารณาลดดอกเบี้ย เผยสาเหตุที่ยังไม่ลดดอกเบี้ย เพราะมีต้นทุน-ความเสี่ยง พร้อมหารือ “แบงก์พาณิชย์” ดูแลส่วนต่างดอกเบี้ยให้เป็นธรรม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกระแสข่าวที่มีการเรียกร้องให้ธปท.ปรับลดดอกเบี้ย หลังจากเงินเฟ้อติดลบว่า การลดดอกเบี้ยมีต้นทุนและความเสี่ยง ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง ธนาคารกลางทุกประเทศต้องดูหลายปัจจัยรอบด้าน ไม่ได้ดูแค่ระยะสั้น เพื่อดูแลให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน และจะไม่มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นัดพิเศษ ก่อนที่จะมีการประชุมนัดแรกของปีนี้ในวันที่ 7 ก.พ. 67

สำหรับเงินเฟ้อที่ติดลบมาเป็นระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน เป็นผลมาจากมาตรการดูแลค่าครองชีพของรัฐบาลด้วยการคุมราคาพลังงาน ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้น แต่ราคาสินค้าไม่ได้ปรับลดลงในวงกว้าง ดังนั้น เงินเฟ้อที่ติดลบไม่ได้สะท้อนกำลังซื้อที่แผ่วลง ขณะที่เงินเฟ้อคาดการณ์ยังอยู่ในกรอบ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเงินเฟ้อติดลบแล้วธปท. ไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

“เงินเฟ้อจะติดลบไปถึงอย่างน้อยเดือนก.พ. หลังจากนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเงินเฟ้อทั้งปีอยู่ในกรอบ 1-2% ตามกรอบเป้าหมายของธปท.”นายปิติ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธปท.เปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะรัฐบาล และกระทรวงการคลังได้หารือกันมาตลอด และนำมาทบทวนเสมอว่าได้ดำเนินนโยบายถูกต้องแล้วหรือเปล่า ซึ่งยืนยันว่าขณะนี้ธปท.ดำเนินนโยบายไม่ผิดทางแน่นอน และพร้อมปรับจุดยืนนโยบายให้เหมาะสม หากแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเปลี่ยนไปจากที่ประเมินไว้

น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง เห็นว่าดอกเบี้ยไทยสูงเกินไป และกำไรธนาคารพาณิชย์สูง ท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชนนั้น ธปท. เตรียมเรียกธนาคารพาณิชย์เข้ามาหารือ ซึ่งที่ผ่านมาได้คุยตลอดเวลาและต้องคุยมากยิ่งขึ้น เพื่อดูแลลูกหนี้ให้มากกว่านี้ ต้องทำให้ธนาคารทำมากกว่านี้ เช่น คนกลุ่มเปราะบาง หรือคนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเงินกู้ เป็นคนละกลุ่มกับเงินฝาก และแม้แต่ต้นทุนดอกเบี้ย ค่าใช้จ่ายต่างๆ

ทั้งนี้ เรื่องกำไรธนาคารพาณิชย์ คิดว่าหลายส่วนได้ชี้แจงแล้ว ซึ่งเรื่องส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยนั้นมองว่าเป็นกลไกตลาด ที่ผ่านมาการส่งผ่านดอกเบี้ยเงินฝากน้อย โดยเฉพาะดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ แม้เงินฝากประจำช่วงหนึ่งสูง ขณะที่การส่งผ่านดอกเบี้ยเงินฝากมีสัดส่วน 63% ส่วนปัจจุบันหลายธนาคารเริ่มขยับเงินฝากมากขึ้น และธนาคารยังเป็นการบริหารสินทรัพย์ หนี้สิน ซึ่ง ธปท. ต้องเข้าไปดูไม่ให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยทบเงินต้น จะทำให้รายรับดอกเบี้ยของธนาคารลดลงเช่นกัน

สำหรับส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิช่วง 9 เดือนอยู่ที่ 2.95% สูงขึ้นก่อนโควิด แต่ไม่ได้สะท้อนค่าใช้จ่ายอีกหลายตัวในการประกอบธุรกิจ การลงทุน และค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องเข้าไปดูว่าการไม่มีประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจหรือไม่ ซึ่งสามารถปรับลดส่วนต่างตรงนี้ได้ ให้มีแนวทางยั่งยืนกว่านี้ โดยต้องดูการแข่งขันโดยรวมระยะยาว ขณะที่เรื่องการตัดดอกเบี้ยบ้านทบเงินต้น เพราะดอกเบี้ยขึ้นสูงนั้น สินเชื่อบ้านจะตัดดอกเบี้ยสูงในช่วงแรก และจะลดลงเมื่อเงินต้นลด ดอกเบี้ยก็จะลดลง แต่ที่ผ่านมา รายได้ลูกหนี้ปรับไม่ทัน ถ้าไม่สามารถจ่ายค่างวดได้

“การปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ผ่านมา พยายามดูแลผลกระทบไม่ให้เร็วและไม่ให้แรง และยังคงมีมาตรการดูแลลูกหนี้เฉพาะจุด ซึ่งยอมรับกังวลการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่พยายามทำให้การส่งผ่านดอกเบี้ยไปธนาคาร ระมัดระวังส่งผ่านไปดอกเบี้ยเงินกู้ โดยเฉพาะเอ็มอาร์อาร์ เป็นดอกเบี้ยคิดกับรายย่อยและเอสเอ็มอี ในครั้งนี้การส่งผ่านเอ็มอาร์อาร์ 49% แต่ในอดีต 58% เช่น ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2% เอ็มอาร์อาร์จะขึ้น 1% ในบางประเทศปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 1% เอ็มอาร์อาร์จะขึ้น 1%”

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img