วันเสาร์, พฤษภาคม 25, 2024
หน้าแรกNEWSรัฐบาลโชว์ผลงานชิ้นโบแดง ไกล่เกลี่ยหนี้สำเร็จ 48,523 ราย-ทุนทรัพย์ 10,162 ล้าน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

รัฐบาลโชว์ผลงานชิ้นโบแดง ไกล่เกลี่ยหนี้สำเร็จ 48,523 ราย-ทุนทรัพย์ 10,162 ล้าน

โฆษกรัฐบาลโชว์ผลงานชิ้นโบแดง ไกล่เกลี่ยหนี้สำเร็จ 48,523 รายทุนทรัพย์ 10,162 ล้านบาท ลุยต่อ 17 ครั้งเดือนส.ค.65 พร้อมเปิดชื่อ 14 ธนาคาร ร่วมรีไฟแนนซ์-โอนหนี้ข้ามธนาคาร

เมื่อวันที่ 25 ก.ค.65 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่า ที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมโดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ภายใต้บูรณาการความร่วมมือระหว่างกรมบังคับคดีและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้ดำเนินการ“มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สิน หนี้ครัวเรือน” ผ่านมาแล้ว 60 ครั้ง ข้อมูลล่าสุดเมื่อวานนี้ ณ วันที่ 23 ก.ค.65 จัดขึ้นที่ จ.ศรีสะเกษ อุบลราชธานีและจ.ปราจีนบุรี โดยภาพรวมมีลูกหนี้ขอไกล่เกลี่ยแล้วจำนวนทั้งสิ้น 51,145ราย ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 48,523 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.87 รวมทุนทรัพย์กว่า 10,162 ล้านบาท สามารถลดค่าใช้จ่ายของการฟ้องร้องคดีของประชาชนไปกว่า 4,358 ล้านบาท

“การจัดมหกรรมยุติธรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนฯทั่วประเทศ เหลืออีก 17 ครั้ง เสร็จสิ้นภายในเดือนสิงหาคม เชิญชวนประชาชนที่มีคดีพิพาทก่อนฟ้องและหลังศาลมีคำพิพากษา ร่วมงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชน (4 ภาค) ประจำปีงบประมาณ 2565 ภายใต้บูรณาการความร่วมมือระหว่างกรมบังคับคดีและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์การแก้ไขหนี้สิน หนี้ กยศ. หนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ รวมถึงร่วมกันหาทางออก ฝ่าวิกฤติ สร้างโอกาส ก้าวไปด้วยกัน ณ สถานที่จัดงาน สำหรับผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนยุติธรรม 1111 กด 77 / กรมบังคับคดี 02-881-4999 หรือสายด่วนกรมบังคับคดี1111 กด 79 หรือ ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 02-881-4840 และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 0 2141 2768-73” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าว

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนการแก้หนี้ครัวเรือนของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาได้นำร่องในกลุ่มลูกหนี้ กยศ. ข้าราชการครูและตำรวจที่กู้ยืมจากสหกรณ์ ซึ่งมีความคืบหน้าและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับในส่วนของลูกหนี้อื่นๆ ที่กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ ทางธนาคารแห่งประเทศไทยและกรมบังคับคดีได้ขับเคลื่อนเรื่องการเจรจาแก้หนี้และประนอมหนี้ อีกทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทยยังได้เป็นตัวกลางออกมาตรการ“รวมหนี้”สนับสนุนการรีไฟแนนซ์ (refinance) ตั้งแต่กันยายน 2564 แต่พบว่าลูกหนี้ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จึงได้ออกมาตรการสนับสนุนการรีไฟแนนซ์และการรวมหนี้เพิ่มเติม เพื่อช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี หรือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งการรีไฟแนนซ์ คือ การปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ลูกหนี้ คือ 1.อัตราดอกเบี้ยลดลง ลูกหนี้จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น 2.เหลือหนี้ก้อนเดียวและอัตราดอกเบี้ยอัตราเดียว ทำให้การชำระหนี้ง่ายขึ้น 3.ลดโอกาสการเสียประวัติลูกหนี้ หากเจรจารวมหนี้สำเร็จก่อนเกิดปัญหาหนี้เสีย

ทั้งนี้ การรวมหนี้แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลัก คือ 1.การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินเดียวกัน 2. การรวมหนี้ระหว่างสถาบันการเงิน โดยโอนหนี้บัตรจากธนาคารแห่งหนึ่งไปรวมกับหนี้บ้านของธนาคารอีกแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นการโอนหนี้บ้านไปรวมกับหนี้บัตรก็ได้ 3.การโอนหนี้บ้านและหนี้สินเชื่อรายย่อยประเภทอื่นไปรวมกันที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ลูกหนี้ไม่เคยมีหนี้ด้วยมาก่อน ขณะนี้มี 14 ธนาคารที่สามารถยื่นขอรวมหนี้ภายในธนาคารหรือต่างธนาคารได้แล้ว คือ กรุงเทพ กรุงไทย กรุงศรีอยุธยา กสิกร เกียรตินาคิน ซีไอเอ็มบีไทย ทหารไทยธนชาต ทิสโก้ ไทยพาณิชย์ ยูโอบี แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ไอซีบีซี ออมสิน และอิสลามแห่งประเทศไทย ส่วนที่อยู่ในขั้นดำเนินการ คือ ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย

อย่างไรก็ตาม มีข้อควรรู้สำหรับลูกหนี้ คือ 1.ลูกหนี้สามารถรวมหนี้ได้ไม่เกินมูลค่าของหลักประกัน ทั้งนี้ หากยอดหนี้ของสินเชื่อรายย่อยสูงกว่ามูลค่าหลักประกัน สามารถขอรวมหนี้บางส่วนได้ 2.ลูกหนี้ต้องให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็น เช่น ชื่อเจ้าหนี้ ยอดหนี้คงค้าง แก่ธนาคารที่ทำการรวมหนี้ 3.ลูกหนี้อาจถูกพิจารณาปรับลดวงเงินส่วนที่นำไปรวมหนี้ เพื่อให้อยู่ในระดับที่ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการได้ รัฐบาลขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมมือแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถจัดการให้ลุล่วงเพียงฝ่ายเดียวได้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ยื่นมือเข้าช่วยเหลือประชาชนที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง ถือเป็นแรงหนุนสำคัญที่จะทำให้หนี้ภาคประชาชนคลี่คลาย ในส่วนของรัฐบาลได้เร่งแก้ไขในหลายมิติ ทั้งช่วยเหลือลูกหนี้ กยศ.ลูกหนี้สหกรณ์ครู รวมถึงการเสนอร่างกฎหมายต่างๆที่จะอำนวยความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้ อาทิ การเช่าซื้อรถยนต์ การแก้กฎหมายประกันสังคม เพื่อให้ผู้ประกันตนนำเงินสะสมบางส่วนมาใช้ในยามประสบปัญหาสภาพคล่อง ซึ่งเรื่องนี้คงต้องขอให้ทางสภาผู้แทนราษฎรเร่งพิจารณาโดยด่วน เพื่อประโยชน์ของประชาชนจำนวนมาก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img